สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
363 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5833 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดบักดอง

รหัสวัด
04330802001

ชื่อวัด
วัดบักดอง

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2411

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 10 เดือน ธันวาคม ปี 2551

ที่อยู่
บ้านบักดอง

เลขที่
267

หมู่ที่
3

ซอย
-

ถนน
-ขุนหาญ-สำโรงเกียรติ

แขวง / ตำบล
บักดอง

เขต / อำเภอ
ขุนหาญ

จังหวัด
ศรีสะเกษ

ไปรษณีย์
33150

เนื้อที่
13 ไร่ 3 งาน 43 ตารางวา

Facebook
คลิกดู

มือถือ
0890159521

โทรศัพท์
0890159521

Fax
-

อีเมล์
watbakdong@gmail.com

คุณสมบัติวัด

เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)
เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเข้าดู : 224

ปรับปรุงล่าสุด : 24 กันยายน พ.ศ. 2565 10:22:07

ข้อมูลเมื่อ : 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 16:50:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ตามหลักฐานที่พอทราบสันนิษฐานว่าวัดบักดองก่อตั้งขึ้นเมื่อ� พ.ศ.2411� และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อ� พุทธศักราช 2482หลังจากนั้นเมื่พระครูวีรปัญญาภรณ์ได้มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลเห็ยว่าอุโบสถ์หลังเก่าทรุดโทรมมากแล้ว� �เกรงว่าจะเกิดอันตรายเวลาประกอบสังฆกรรม� จึงทำการประชุมกับคณะกรรมการหมู่บ้านและวัด� แล้วทำการรื้อและสวดถอนวิสุงคามสีมา� �ทำการสร้างพระอุโบสถ์หกลังใหม่� และได้ขจอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่� ได้รับพระราชทานเขตวิสุงคามสีมาใหม่ใน� �วันที่� 10� ธันวาคม 2551


ประวัติเมืองกัณฑ์ (บ้านบักดอง)
��������������� บ้านบักดองเป็นหมู่บ้านหนึ่งตั้งอยู่ในบริเวณบ้านบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้าน มีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ต้นบักดอง ภาคอีสานบางถิ่นเรียกว่า ต้นไข่เน่า ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อว่า หมู่บ้านบักดอง หลักฐานที่ปรากฏในการเลือกตั้งเมือง คือ เสาหลักเมือง ซึ่งทำด้วยไม้มันปลา ที่ปลายเสาสลักเป็นรูปดอกบัวยาวประมาณ 1.50 เซนติเมตร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านบักดอง หมู่ที่ 3 และหลักฐานที่ปรากฏอีกอย่างหนึ่งคือ หลักหิน ซึ่งเป็นหลักกั้นอาณาเขตในการปกครอง ขุดได้ในบ้านหลักหิน มีความยาวประมาณ 1.50 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร ปัจจุบันเก็บไว้ที่วัดบ้านหลักหิน ลักษณะเป็นแท่งหินสี่เหลี่ยม ฐานบนแกะสลักเป็นรูปดอกบัว ประวัติการสร้างเมือง บริเวณพื้นที่ที่เป็น “เมืองกัณฑ์” เป็นที่ตั้งของบ้านลาวเดิม หรือบ้านหลักหิน ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่เข้าใจกันว่า ชนชาติกวย หรือ ส่วย เป็นบรรพชนเจ้าของพื้นที่มาดั้งเดิม และเป็นอยู่สืบสานมรดกทางวัฒนธรรม ผู้สร้างเมืองกัณฑ์ คือ “พระกัณฑ์ ” เชื้อสายพระยาขุขันธ์ ภักดีศรีนครลำดวน พ.ศ. 2395 ประวัติการสร้างเมืองสมัยรัตนโกสินทร์
���������� พ.ศ. 2410 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (วัง) กราบทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขอตั้งตำบลห้วยลำแสนไพอาบาล เป็นเมืองกันทรลักษ์ ให้พระแก้วมนตรี (พิมพ์) เป็น พระกันทรลักษ์ พระราชทานถาดหมาก คนโทเงิน สำรับประคำสัปทนปัสตู เสื้อเข็มขาบริ้วดอกอย่างละหนึ่ง เป็นเครื่องยศเหมือนกันทั้งสองเมือง ให้ทั้งสองเมืองขึ้นต่อขุขันธ์ เมืองใหม่ทั้งสองเมืองนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่ในเขตศรีสะเก ษปัจจุบัน แต่อยู่ถัดลงไปทางภูเขาพนมดงรัก จึงมีปัญหาการตั้งเมืองภายหลัง
���������� พ.ศ. 2411 ผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสที่เมืองไซ่ง่อน แจ้งต่อรัฐบาลสยามว่าตามที่พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครล ำดวน (วัง) มีหนังสือแจ้งไปยังเมืองกำปงสวายประเทศกัมพูชาในบำรุ ง (เมืองขึ้น) ฝรั่งเศส ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นนั้น� ครั้นความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระราชดำริสงสัยว่าเมื่อ พ.ศ. 2410 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (วัง) ขอตั้งตำบลห้วยลำแสนไพอาบาล เป็นเมืองกันทรลักษ์ และบ้านกันตวด ตำบลห้วยอุทุมพร เป็นเมืองอุทุมพรพิสัย นั้นไม่ได้ความชัดเจนว่า เขตแขวงเมืองทั้งสองจะขนาบคาบเกี่ยวกับเขตแดนกัมพูชา ประการใด จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หลวงเดชอัศดร ขุนอินทร์อนันท์ เป็นข้าหลวงออกไปพร้อมด้วยพระยาทรงพลเป็นกรรมการไต่สวนและตรวจทำแผนที่ส่งกรุงเทพ ฯ แล้วให้ย้ายเมืองกันทรลักษ์ มาตั้งที่บ้านลาวเดิม ( หมู่ 2 ปัจจุบัน ) บ้านบักดอง (ม.3) แล้วจึงย้ายไปตั้งที่บ้านน้ำอ้อมเป็นอำเภอน้ำอ้อม ภายหลังย้ายเมืองอุทุมพรพิสัย มาตั้งที่บ้านผือ (ปรือ) ตำบลเมือง อำเภอกันทรลักษ์ปัจจุบันนี้ ในศกเดียวกัน ทรงโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้พระบริรักษ์ (อ้น) กองนอก เป็นพระแก้วมนตรียกกระบัตรเมืองขุขันธ์ ครั้นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสวยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี การตั้งเมืองกันทรลักษ์ เมื่อมาตั้งอยู่บริเวณบ้านหลักหิน ได้สร้างศาลหลักเมืองที่บ้านบักดองและสร้างวัดพร้อมกัน เมื่อสร้างเสร็จชาวเมืองเรียกชื่อเมืองตามนามผู้ตั้ง ว่า “ เมืองกัณฑ์ ” เมืองกัณฑ์ นับตั้งแต่สร้างเสร็จ 45 ปี ก็สิ้นสุดลง มีเจ้าเมืองผู้ปกครอง 2 คน คือ พระกัณฑ์ผู้เป็นบิดา และพระกัณฑ์ผู้เป็นบุตร เมื่อถึงแก่อนิจกรรมฐานะของเมืองก็ยกฐานะเป็นอำเภอ และถอนนามเมืองไปตั้งเป็นอำเภอกันทรลักษ์ ปัจจุบัน ส่วนประชาชนชาวเมืองก็ตั้งชื่อบ้านใหม่ว่า “บ้านบักดอง” เหตุที่ตั้งชื่อว่า บ้านบักดอง เพราะเดิมบริเวณที่พระกัณฑ์ตั้งเมืองเป็นป่าเนินราบและมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีดอกชุกชุมอยู่บริเวณนั้นมาก ในภาษาพื้นเมืองในแถบนั้นเรียกว่า “ต้นบักดอง” ซึ่งภาคอีสานบางถิ่น เรียกว่า “ต้นไข่เน่า”
ที่มา : http://www.wattiabsilaram.net/thread-4-1-1.html������
ประวัติวัดบักดอง
��������������� ตามหลักฐานดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานได้ว่าวัดบักดองได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 2411และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2482 หลังจากนั้น เมื่อพระครูวีรปัญญาภรณ์ ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลบักดอง เห็นว่าอุโบสถมีความชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว ใช้ประกอบสังฆกรรมไม่ได้ เกรงจะเกิดอันตราย ได้รื้ออุโบสถหลังเก่าและได้มีการสวดถอนเขตวิสุงคามสีมา สร้างอุโบสถหลังใหม่ และได้ขอพระราชทานเขตวิสุงคามสีมาใหม่ และได้รับเขตวิสุงคามสีมาอีกครั้ง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2551 พื้นที่วัด ปัจจุบัน วัดบักดองตั้งอยู่ที่บ้านบักดอง หมู่ที่ 3 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ 13 ไร่ 3 งาน 43 ตารางวา มีพื้นที่ติดกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ทิศตะวันออกมีพื้นติดกับถนนหลวง ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกมีพื้นที่ติดกับที่ชาวบ้านบักดองหมู่ที่ 3 ทิศเหนือมีพื้นที่ติดกับที่ชาวบ้านบักดองหมู่ที่ 3
ศาสนสถานในวัด
������������������� 1. อุโบสถ
������������������� 2. ศาลาการเปรียญ
������������������� 3. ศาลาหอฉัน
������������������� 4. กุฏิสงฆ์ ๓ หลัง
������������������� 5. ฌาปนสถานและศาลาพักศพอย่างละ 1 หลัง
������������������� 6. ซู้มประตู 2 ด้าน (ทิศตะวันออกและทิศเหนือ)
������������������� 7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัด
���������������� หลวงพ่อเงิน ซึ่งเป็นพระรูปเก่าแก่ คาดว่ามีอายุ 100 ปี (ดูรายละเอียดในประวัติหลวงพ่อเงิน ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดบักดอง ตั้งแต่ก่อตั้งวัดมาตั้งแต่ พ.ศ.2411 ไม่ปรากฏปีที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส แต่ปรากฏชื่อพระสงฆ์ทั้งที่เป็นเจ้าอาวาสและที่มาจำพรรษาตามลำดับดังนี้ 1. หลวงพ่อนาค - ไม่ปรากฏปี 2. หลวงพ่อวัน - ไม่ปรากฏปี 3. หลวงพ่ออุด - ไม่ปรากฏปี 4. หลวงพ่อพัฒน์ อนาลโย ไม่ปรากฏปี 5. หลวงพ่อผาง - ก่อนที่จะไปสร้างวัดหลักหิน 6. หลวงพ่อมา - ไม่ปรากฏปี 7. หลวงพ่อปุด - จากวัดหลักหินประมาณ พ.ศ.2516 8. หลวงพ่อเยียน - ไม่ปรากฏปี 9. พระเมิง - ไม่ปรากฏปี 10. พระสมุทร - ไม่ปรากฏปี 11. พระสำเริง พานจันทร์ ไม่ปรากฏปี 12. พระทิม - จากวัดสำโรงเกียรติ 13. พระบาง (จากบ้านโคกท่อน) ไม่ปรากฏปี 14. พระครูวีรปัญญาภรณ์ (มี วีรปัญโญ) พ.ศ. 2519 – 2546 15. พระอธิการปัญญา ปัญญาวุฑโฒ พ.ศ. 2547- 2552 16. พระมหายุทธกิจ ปัญญาวุโธ พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน

ประวัติหลวงพ่อเงิน “
....พ.ศ. 2444 – 2445 ในยุคปฏิรูปการปกครอง (ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ท้าวบุญจัน น้องชายพระยาขุขันธ์ ร่วมมือกับท้าวทัน บุตรพระยาขุขันธ์ และหลวงรัตนกรมการเมืองที่หมดอำนาจ หนีไปตั้งตัวเป็นผู้มีบุญ อยู่ที่สันเขาบรรทัดเขตเมืองขุขันธ์ (บริเวณที่เป็นอาณาเขตเมืองกันทรารักษ์หรือบ้านบักดองในปัจจุบัน) ราษฎรเข้าเป็นพรรคพวกจำนวนมากประมาณ 6,000 คน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้โปรดให้ร้อยโทหวั่น ร้อยตรีเจริญ ร้อยตรีอินไปตรวจเมืองขุขันธ์และนำกำลังไปจับท้าวบุญจัน ร้อยโทหวั่น ได้ร่วมกับกรมการเมืองขุขันธ์นำกำลังไปจับท้าวบุญจัน ปะทะกันถึงขั้นตะลุมบอนกับกองระวังหน้าของท้าวบุญจัน เมื่อวันที่ 11 และ 13 มีนาคม พ.ศ. 2444 ยังผลให้ท้าวบุญจันทร์ตายในที่รบ ณ บริเวณพนมปีกกา (ซำปีกกา) กำลังของท้าวบุญจันเป็นเพียงชาวบ้านที่ไม่ได้รับการฝึกแบบทหาร อาวุธก็ไม่มี จึงพ่ายแพ้แตกหนีไปโดยง่าย กำลังของร้อยโทหวั่น ได้ตรวจตราตลอดท้องที่เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ ก็ไม่พบว่ามีผู้มีบุญอีก เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงวิตกในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้มรสารตราพะราชสีห์ใหญ่ที่ 45/12614 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2444 ให้มีพระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลบูรพาส่งข้าหลวงไปตรวจตราเมืองขุขันธ์ และช่วยราชการทางเมืองขุขันธ์ด้วย ในเหตุการณ์ที่ปราบกบฏท้าวบุญจันในครั้งนั้น กลุ่มชนที่กระจัดกระจายเกิดความไม่พอใจ นำโดยนายสิงโต สอดแก้วนำผู้คนไปเผาเมืองพระกันทรารักษ์ และบ้านยายยู (นางทองอยู่ เจริญศรีเมือง เป็นเมียพระกันทรารักษาบาล (อ่อน) ซึ่งเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติ เช่นเงินกำไล เครื่องประดับต่าง ๆ เป็นต้น เงินที่เสียหาย จาการเผาเมืองในครั้งนั้น ยายยูจึงนำมาหล่อเป็นหลวงพ่อเงิน และสมัยต่อมาได้ยุบเมืองกันทรารักษ์ ให้ขึ้นตรงต่อเมืองขุขันธ์ ต่อมาเรียกว่า ตำบลบักดอง หลวงพ่อเงินเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยเงินแท้ ที่ได้รับความเสียหายจากการเผาเมืองในครั้งนั้น น้ำหนัก 70 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง 1 ฟุต 5 นิ้ว สูง 2 เมตร 3 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงาม เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านบักดอง สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุประมากกว่า 100 ปี ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดบักดอง ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ขอขอบคุณ นายอรรควิช คุโรปการนันท์ ส.จ.ศรีสะเกษ เขตขุนหาญ เขต 1 ผู้รวบรวมข้อมูล

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : ประวัติวัดบักดอง (28.65 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : ประวัติหลวงพ่อเงิน (28.65 kb)

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระบรรณ์เล้ ธนมนฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 29-06-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-07-2565

พระวิชัย ชาคโร

ข้อมูลเมื่อ : 29-06-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 30-06-2565

พระมหายุทธกิจ ปญฺญาวุโธ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-07-2565

พระสมยศ ชยธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระถวิล ติกฺขสีโล

ข้อมูลเมื่อ : 14-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 14-07-2565

พระเริงชัย โชติธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 14-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 15-07-2565

พระชาตรี ธีรปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 15-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 15-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ปฏิทินกิจกรรมของวัดบักดอง ปี๒๕๖๕

ข้อมูลเมื่อ : 09-07-2565

เปิดดู 249 ครั้ง

กิจกรรมวันเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๖๕

ข้อมูลเมื่อ : 09-07-2565

เปิดดู 77 ครั้ง

เทศกาลงานบุญประเพณี

บุญประเพณีสารทไ...

วันที่จัดงาน : 24-07-2565

เปิดดู 32 ครั้ง

ปูชนียวัตถุสถาน

หลวงพ่อเงิน

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

เปิดดู 58 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น