สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ - นามสกุล
พระเทพวราจารย์ ราชิวงศ์

ฉายา
วรวิญฺญู

สถานภาพ
พระภิกษุ (ไทย)

อายุ
58 ปี

E-mail
-

Line ID
-

Facebook
-

คุณสมบัติ

เป็นครูสอนบาลี
เป็นพระปริยัตินิเทศก์
เป็นพระอุปัชฌาย์

ตำแหน่ง

เป็นเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี
เป็นรองเจ้าคณะจังหวัด

จำนวนเข้าดู : 532

ปรับปรุงล่าสุด : 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 21:52:39

ข้อมูลเมื่อ : 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 12:09:56

 
 
 
 

ประวัติ

พระเทพวราจารย์ นามเดิม ศรีพร ราชิวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ที่บ้านศรีบุญเรือง ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันคือ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร) ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2520 และได้ศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักวัดศรีบุญเรือง อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม ต่อมาได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ จนสอบได้ประโยค ป.ธ.7  จึงอุปสมบทเมื่ออายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2530ณ พัทธสีมาวัดศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

พระราชเมธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ ธรรมวรางกูร ป.ธ.8) รองเจ้าคณะภาค ๑๐ (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมกวี เจ้าคณะภาค ๑๐ เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม) เป็นพระอุปัชฌาย์

 พระครูอุดมธรรมรักษ์ (ยอด ยสชาโต บรรเทิงใจ) เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง เจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระราชมุกดาหารคณี เจ้าคณะจังหวัดมุกดาหาร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระครูศรีเจติยาภิรักษ์ (สำลี ปญฺญาวโร อ้วนโสดา ป.ธ.5) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้าคณะอำเภอธาตุพนม (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่   พระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

 ได้รับฉายา ว่า “วรวิญฺญู” แปลว่า “ผู้รู้สิ่งที่ดี ผู้รู้สิ่งที่ประเสริฐ ผู้รู้อย่างดี”

เมื่อสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค จากสำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ในปี พ.ศ. 2532 แล้วจึงศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านภาษาบาลี ณ มหาวิทยาลัยปูเณ่ สาธารณรัฐอินเดีย ในปี พ.ศ. 2535 ได้ย้ายมาสังกัดวัดมหาวนาราม พระอารามหลวง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์ และบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตอุบลราชธานี  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระศรีวรเวที ในปี พ.ศ. 2542 และดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2544  ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีฝ่ายมหานิกาย และย้ายมาสังกัดวัดมณีวนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระราชธีราจารย์ ในปี พ.ศ. 2552 และพระเทพวราจารย์ ในปี พ.ศ. 2559 

พระเทพวราจารย์ มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อเผยแผ่ธรรมะ โดยจัดรายการธรรมะทางวิทยุ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน มีผู้รับฟังเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัด เช่น อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร เป็นต้น อีกทั้งยังจัดรายการโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ NBT และเผยแพร่ทางสื่อยูทูป เช่น รายการแผนที่ชีวิต รายการแผนที่ธรรมะ ซึ่งมีรูปแบบเป็นคำสอนอันเข้าใจง่าย สอดแทรกด้วยผญา และนิทานคติสอนธรรม

พระเทพวราจารย์ มีผลงานเขียนเป็นหนังสือทั้งงานร้อยแก้ว ร้อยกรอง งานวิชาการทางพระพุทธศาสนา พระธรรมเทศนา บทความลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ประชารัฐ” ในคอลัมน์ “มุมสงบ...ใต้ร่มธรรม” รวมผลงานการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ที่เป็นหนังสือจำนวนไม่น้อยกว่า 46 เรื่อง
 
 พระเทพวราจารย์ ริเริ่มการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานภายในวัดมณีวนาราม อันเป็นวัดสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีโบราณสถานอันเป็นมรดกของท้องถิ่นอยู่หลายแห่ง เพื่อรักษาไว้เป็นมรดกแก่อนุชนรุ่นหลัง โดยประสานความร่วมมือกับสำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี พร้อมผู้สนับสนุนงบประมาณจากหน่วยราชการ และผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์โบราณ  อันเป็นที่จำพรรษาของอดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม และเสนาสนะสงฆ์ จำนวน 4 แห่ง คือ กุฏิพระอริยวงศาจารย์ (กุฏิแดง) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2371 บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2546 กุฏิธรรมระโต สร้างเมื่อ พ.ศ. 2456 บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2558 กุฏิใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2478 บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2559 และวิหารพระพุทธอนันตชินะ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2471 บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2562  นอกจากนี้ ท่านได้ริเริ่มให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่กุฏิโบราณสถานและกุฏิสงฆ์ของวัด ซึ่งบริหารงานโดยคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม ที่ประกอบด้วย ชาวชุมชนคุ้มวัดมณีวนาราม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี 

สังกัดที่วัด

สมณศักดิ์

พระศรีวรเวที
ได้รับ พ.ศ. 2542
พระราชธีราจารย์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
ได้รับ พ.ศ. 2552
พระเทพวราจารย์ สุวิธานธรรมโกวิท ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
ได้รับ พ.ศ. 2559

วุฒิการศึกษาทางธรรม

นักธรรม

นักธรรมตรี ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2520
นักธรรมโท ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2521
นักธรรมเอก ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2523
เปรียญธรรม
เปรียญธรรม 1-2 ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2524
เปรียญธรรม 3 ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2525
เปรียญธรรม 4 ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2526
เปรียญธรรม 5 ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2528
เปรียญธรรม 6 ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2529
เปรียญธรรม 7 ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2530
เปรียญธรรม 8 ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2531
เปรียญธรรม 9 ปีที่สอบได้ พ.ศ. 2532

วุฒิทางโลก

วุฒิที่ได้รับ ปริญญาโท
ปีที่จบ พ.ศ. 2536
มหาวิทยาลัยปูเณ่ สาธารณรัฐอินเดีย
วุฒิที่ได้รับ ปริญญาเอก
ปีที่จบ พ.ศ. 2539
มหาวิทยาลัยปูเณ่ สาธารณรัฐอินเดีย