สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
9 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ - นามสกุล
พระครูพิพัฒน์สิริคุณ ประกิ่ง

ฉายา
ปริสุทฺโธ

สถานภาพ
พระภิกษุ (ไทย)

อายุ
85 ปี

E-mail
-

Line ID
-

Facebook
-

ตำแหน่ง

เป็นเจ้าอาวาส
เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครพนม

จำนวนเข้าดู : 66

ปรับปรุงล่าสุด : 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 17:02:53

ข้อมูลเมื่อ : 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 14:49:53

 
 
 
 

ประวัติ

ประวัติพระครูพิพัฒน์สิริคุณ
          พระครูพิพัฒน์สิริคุณ (หลวงปู่คำไหล ปริสุทฺโธ) เกิดวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๘๑ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ก่อนเปลี่ยนสยามประเทศเป็นประเทศไทย ๑ ปี ณ บ้านอูนนา ตำบลนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม (ปัจจุบัน บ้านอูนนา ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม) โยมบิดาชื่อ นายกิ ประกิ่ง (ภูมิลำเนาบ้านนามะเขือ เมืองอัดสะพอน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) โยมมารดาชื่อ นางมุ้ม ประกิ่ง บ้านอูนนา มีพี่น้องทั้งหมด ๑๑ คน หลวงปู่คำไหล เป็นลูกชายคนสุดท้องของครอบครัว ในการใช้ชีวิตก็เหมือนเด็กทั่วไปในชนบท สมัยนั้น หลวงปู่เล่าว่า ท่านเป็นลูกคนจน ชีวิตครอบครัวทำไร่ทำนานาเช้ากินค่ำ แต่โยมบิดาของหลวงปู่ก็ช่วยเหลืองานส่วนรวมของหมู่บ้าน โยเฉพาะวัดวาศาสนา ตลอด ไม่ได้ขาด จนชาวบ้านเห็นใจและช่วยเหลือโดยการพากันทำกองบังสุกุลไปทอดให้ (ตามวิถีชีวิตอีสานในแถบนี้) โยไม่ได้บอกให้โยมพ่อท่านทราบก่อนว่าจะเอาไปทอดให้ จากนั้นก็แห่ไปที่บ้านท่านแล้วก็แยกกันกลับ โยมบิดามาดาของท่านเห็นน้ำใจของชาวบ้านก็ร้องไห้ออกมา ต่อจากนั้นญาติพี่น้องก็ให้ไปอยู่ที่ทุ่งนา หากจากหมู่บ้าน ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จึงได้สร้างบ้านขึ้นในที่นั่นพอได้อาศัยตามอัตภาพ เหมือนดังคำโบราณที่ว่า ทุกข์ยากเพิ่นให้เลี้ยง ปากเกลี้ยงให้ไล่หนี มีเพิ่นจังว่าพี่น้องลุงป้าเอิ้นว่าหลาน ต่อมาเด็กชายคำไหลได้มีโอกาสเข้าเรียนหนังสือ ซึ่งในสมัยนั้นเรียนหนังสือที่วัด ต้องเดินทางมาเรียนหนังสือที่วัดศรีชมภู ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มาเรียนหนังสือก็ไม่ได้ เล่นกับเพื่อนเหมือนคนอื่นเขา เมื่อเลิกเรียนก็ต้องกลับไปช่วยทำงานที่บ้าน จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
 การบวชกับการศึกษาธรรม และการเข้าสู่การปกครองวัด
          เมื่ออายุครบ ๑๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๙๒) โดยบิดาของท่านขอให้บวช เด็กชายคำไหลก็ยังไม่ลงจะบวช เพราะกลัวว่าจะไม่มีเพื่อน แต่โยมบิดาของท่านแจ้งความประสงค์อยู่ถึง ๓ วัน ว่าอยากจะให้ลูกบวช ก็ตกลงบวช จากนั้นโยมบิดากก็ได้มาฝากบวชกับพระอธิการไชคำ ธมฺมทินโน เจ้าอาวาสวัดศรีชมภู (ต่อมาท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดตระการพืชผล อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูธัญญาภิบาล) เมื่อได้บวชแล้ว สามเณรคำไหล ก็ได้อุปัฏฐากและได้ตั้งใจศึกษาข้อวัตรปฏิบัติจากพระอธิการไขคำ ธมฺมทินฺโน ต่อมาอีก ๑ ปี พอถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระอธิการไขคำ ธมฺมทินฺโน ได้ส่งให้สามเณรคำไหลไปเรียนนักธรรมและจำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนางัว ตำบลนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นสำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม มีพระอธิการหนู อาหทโย เป็นเจ้าสำนัก (ต่อมาท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลนางัว และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสิริมงคล พ.ศ. ๒๕๑๕ และเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗) และพระอธิการไขคำ ธมฺมทินฺโน ก็ได้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมที่วัดโพธิ์ชัย โดยสอนนักธรรมชั้นตรี พระอาจารย์หนู อาหทโย ท่านเมตตาสามเณรคำไหลมาก ไปไหนก็ให้ติดตามไปด้วย ในครั้งหนึ่งสามเณรคำไหลได้ติดตามพระอาจารย์หนู่ไปงานบุญบ้านกุดน้ำใส และเป็นเหตุให้สามเณรคำไหล ได้พบกับพระอาจารย์บัวขาว จนฺทสาโร ที่ธุดงค์มาและพักที่บ้านกุดน้ำใส สามเณรคำไหลจึงได้เข้าไปกราบและได้ปฏิบัติอุปัฏฐากพระอาจารย์บัวขาว พร้อมทั้งขอฝากตัวเป็นศิษย์ และได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติจากนั้นพระอาจารย์บัวขาวได้ชักชวนไปปฏิบัติธรรมอยู่ถ้ำเขาควายที่ประเทศลาว อยู่ ๑ เดือน กับอีก ๑๕ วัน พอรู้แนวทางการปฏิบัติแล้วพระอาจารย์บัวขาวก็มาส่งในปี พ.สง ๒๔๙๕  เพื่อให้ศึกษานักธรรม สามเณรคำไหลก็ได้อยู่ประจำที่วัดโพธิ์ชัยตลอดมา สอบได้นักธรรมชั้นโท เมื่ออายุ ๑๗ ปี
          เมื่ออายุครบบวช วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ณ อุโบสถวัดธาตุประสิทธิ์ ตำบลนาหว้า อำเภอนศรีสงคราม จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันวัดธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า) โดยมีพระครูประสิทธิ์ศึกษากร วัดธาตุประสิทธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการอ่าง ปญฺญาวชิโร (ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูประสิทธิ์ปัญญาคุณ) วัดธาตุประสิทธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้กลับมาเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดศรีชมภู เพราะไม่มีเจ้าอาวาส แต่ก็ยังเดินทางไปเรียนหนังสือที่วัดโพธิ์ชัย พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักศาสนศึกษาวัดโพธิ์ชัย และสอบด้นักธรรมชั้นเอก หลวงปู่เล่าว่า เมื่อมาอยู่วันได้ ประมาณ ๑ เดือน กับ ๑๕ วัน ก็มีการกล่าวหาว่าของในวัดหายและให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสชดใช้เป็นเงินจำนวน ๓,๖๐๐ บาท ต้องได้ไปหายืมเงินจากญาติพี่น้องมาชดใช้ ต่อมาอีกไม่นานก็มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง มานิมนต์ให้ลาสิกขา หากไม่ลาสิกขาก็ให้หนีจากวัด เพราะเขาหวังจะให้เป็นวัดร้าง และจะสร้างสถานีอนามัย เพราะอยู่ตรงกลางหมู่บ้าน ท่านก็บอกว่าถ้าจะให้ลาสิกขาจริง ๆ ก็ให้พาไปหาเจ้าคณะตำบล (พระอาจารย์หนู อาหทโย) และไปหาพระอุปัชฌาย์แล้วให้บอกเหตุผลที่ให้ลาสิกขาแต่ก็ไม่มีใครจะรับอาสาพาไปท่านบอกว่าถ้าไม่มีใครอาสาจะพาไปก็จะอยู่วัดนี้ไม่ลาสิขาและไม่หนีบางวันบิณฑบาตก็ได้ไม่พอฉันเพราะที่วัดมีพระเณรอยู่มากประมาณ ๒๐ รูป ชาวบ้านบางกลุ่มพอเห็นพระวัดบ้าน (วัดศรีชมภู) ไปบิณฑบาตก็ทั้งหลบบ้าง วิ่งหนีบ้าง เพราะไม่อยากตักบาตร เพราะรอตักบาตรพระวัดป่า (วัดตั้งใหม่) หลวงปู่ท่านจึงบอกกับเขาว่า หากไม่อยากใส่บาตรก็ไม่ต้องวิ่งหนีดอก ยืนอยู่นั่นแหละ ไม่ไปแย่งเอาดอก ยังมีคำกล่าวว่า พระวัดบ้านไม่มีศีลเท่าเณรวัดป่า เณรวัดบ้านไม่มีศีลเท่าแม่ชีวัดป่า แม่ชีวัดบ้านไม่มีศีลเท่าสังการีวัดป่า หลวงปู่ต้องอดทนเพราะท่านว่า เป็นดินแดนบ้านเกิดของท่าน ห่วงปู่ท่านนั่งพิจารณาและได้ระลึกถึง ว่าแม้เมื่อครั้งก่อน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อครั้งที่นางมาคันทิยา ที่ผูกความอาฆาตในพระพุทธองค์ แล้วได้ไปจ้างให้เขาด่าพระพุทธองค์ต่าง ๆ นานา จนพระอานนท์กราบทูลชวนหนี แต่พระพุทธองค์ก็ไม่หนี ดังนั้น เราเป็นบุตรของพระพุทธองค์ก็คงไม่หนีเหมือนกัน หลวงปู่จึงใช้ขันติธรรมอยู่ต่อไป ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีโยมจากอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสได้มานิมนต์ให้ไปดูที่เขาทำเหมืองแร่ ที่เขาดงดิบ หลวงปู่เล่าว่า มีสามเณรติดตาม ๑ รูป และโยม ๒ คน คือ นายเกตุ ประกิ่ง ผู้ให้บ้านอูนนา หมู่ที่ ๓ ในสมัยนั้น และนายแสน โกษาแสง ผู้ใหญ่บ้านนากระทืม หมู่ ๔ ตอนนี้ทั้ง ๒ ท่านถึงแก่กรรมแล้ว โดยโยมผู้มานิมนต์นั้นได้ถวายค่ารถโดยสารไว้ให้ จากนั้นหลวงปู่และคณะจึงนั่งรถไฟไฟกรุงเทพต่อไปยังจังหวัดนราธิวาส โดยเขาจะมารับที่สถานีรถไฟ สุไหงโกลก เมื่อถึงเขาก็มารับตามที่นัดหมาย จากนั้นเขาก็พาขึ้นไปที่เหมืองแร่ เขาให้เจ้าหน้าที่ทหารดำเนินการกางเต็นท์ให้อย่างรีบด่วนประมาณ ๓๐ นาที แล้วเขาก็พากันกลับปล่อยให้หลวงปู่พร้อมคณะไว้ ณ ที่นั้นท่ามกลางดง จากนั้นไม่นานก็มียุงตัวใหญ่ออกมาจากป่าเป็นจำนวนมาก โดยปกติหลวงปู่ท่านฉันหมากญาติโยมจึงจัดเตรียมหมากพลูให้ใส่ย่ามไปให้หลวงปู่จึงบอกให้โยมที่ติดตามเอาเทียนห้าคู่ และใบไม้ในแถวนั้นแทนดอกไม้พร้อมทั้งหมากพลูบุหรี่ จากนั้นนำไปที่โคนต้นทุเรียนใหญ่ พร้อมกับบอกเจ้าที่เพื่อขออาศัย จากนั้นกลับมาที่พักและได้อธิฐานจิต ปรากฏว่ายุงแทบไม่มีเลยในบริเวณนั้น จากนั้นทำวัตร-สวดมนต์ ภาวนากัมมัฏฐาน แล้วก็แผ่เมตตา พอตอนเช้าหลวงปู่รอโยมจะมาถวายภัตตาหารเช้าจนถึง ๑๐ นาฬิกา ยังไม่เห็น ประมาณ ๑๑ นาฬิกา จึงเห็นโยมถือข้าวกับอาหารใส่ถึงขึ้นมา หลวงปู่จึงถามว่าทำไมโยมถึงมาช้า เขาตอบหลวงปู่ว่า นึกว่าตายหมดแล้ว ผมได้นิมนต์อาจารย์มาที่นี่หลายรูปแล้ว ตายทั้งหมด ยังคงเหลือแต่คณะท่าน จากนั้นเจ้าของที่พร้อมทั้งพวกทหารในที่นั่นก็พากันขอฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ และขอนิมนต์ให้หลวงปู่อยู่ที่นั่นจะสร้างวัดถวายหลวงปู่ ก็อยู่ที่นั่น ๑ เดือนกับ ๑๕ วัน แล้วจึงขอกลับวัด
          เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีชมภู ขณะนั้นมีพรรษา ๑๐ หลวงปู่ได้มีความคิดว่า เราเป็นคนจนถึงไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนเพราะในสมัยนั้น จะต้องไปศึกษาที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีสำนักเรียนใหญ่ และต้องเข้ากรุงเทพมหานคร จึงจะได้เรียนหนังสือ จะทำอย่างไรจึงจะให้ลูกหลานได้มีการศึกษา แล้วท่านจึงได้เปิดศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ขึ้น ในสมัยนั้นโดยให้สามเณรในวัดได้ศึกษาเริ่มแรกมีสามเณร ๔๐ รูป ทั้งศึกษานักธรรมไปพร้อมกัน ส่วนนักธรรมก็ยังขึ้นกับสำนักศาสนศึกษาวัดโพธิ์ชัยอยู่ จนกระทั่ง พระมหาเพชร สุวิชาโน มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอนาหว้า (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดนครพนม และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชสิริวัฒน์) ท่านจึงให้สอบในนามสำนักศาสนศึกษาวัดศรีชมภู และหลวงปู่ยังคิดที่จะไปพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญขึ้น โดยนำพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านร่วมกันตัดถนนจากบ้านอูนนาไปบ้างซ่งเต่า ตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีลำน้ำอูนกั้นระหว่างทาง หลวงปู่ได้นำหินศิลาแลงมาทำเป็นสะพานข้ามฝั่ง แต่จะสัญจรได้เฉพาะในฤดูแล้งเท่านั้น ต่อมาเมื่อได้สะพานแล้วหลวงปู่จึงนำชาวบ้านทำเป็นนบกั้นน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรต่อไป และนายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยนายสุวิทย์ สุบงกช นายอำเภอนาหว้า ได้ออกมาดูทำนบกั้นน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร
          ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือเส้นทางจากบ้านอูนนาไปบ้านอูนยางคำ ก็มีแม่น้ำอูนกั้นเหมือนกัน หลวงปู่ก็นำชาวบ้านทำเป็นแพไม้ไผ่ โดยจะมีเชือกผูกจากฝั่งแม่น้ำทั้งสองไว้สำหรับจับดึงเพื่อให้แพข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้ ในฤดูฝนจึงมีความลำบากมาก หลวงปู่เล่าว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ หลวงปู่ และนายเกตุ ประกิ่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓ เป็นผู้ติดตามได้เข้าพบพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความอนุเคราะห์จากรัฐบาล โดยการประสานของนายแพทย์ประสงค์ บูรณพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนมม เขต ๑ ทั้งท่านยังมีความเคารพและศรัทธาหลวงปู่ด้วย หลวงปู่ไปรอพบตั้งแต่เช้ากว่าจะได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เวลา ๑๕ นาฬิกา ๓๐ นาที ต่อมาจึงได้รับงบประมาณจากรัฐบาลสร้างสะพานข้ามลำน้ำอูน
          หลวงปู่เล่าว่า มีญาติโยมจากบ้านห้วยทราย ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ป่วยโดยหาสาเหตุไม่ได้ ไปโรงพยาบาลแพทย์ก็ไม่พบโรคอะไร แพทย์จึงให้กลับมาบ้านจากนั้นเขาจึงมาพบหลวงปู่ขอให้หลวงปู่ได้เมตตาจิต หลวงปู่จึงได้สวดน้ำมนต์พระพุทธมนต์แล้วเจริญจิตภาวนา ได้มีนิมิตปรากฏว่าตรงที่ดินที่เขาปลูกบ้านนั้น แต่ก่อนเป็นวิหารเก่าและมีแผ่นศิลาอยู่ท่านจึงพูดให้โยมฟังว่า โยมผู้ที่ป่วยนั้นเมื่อหลวงปู่รดน้ำพระพุทธมนต์ให้ก็มีอาการดีขึ้น ประมาณ ๓ วัน จึงนิมนต์หลวงปู่ไปที่บ้าน จากนั้นหลวงปู่จึงได้ชี้จุดให้เขาทำการขุด ปรากฏว่า ได้พบรูปหล่อพระพิฆเนตรมีหนูเป็นพาหนะ และสิงห์ ๑ คู่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ และแผ่นศิลา จำนวน ๑ แผ่น ขณะนี้พระพิฆเนตรมีหนูเป็นพาหนะ และสิงห์ ๑ คู่ นั้น หลวงปู่ให้จัดแสดงไว้ที่อาคารพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณวัดศรีชมภู ส่วนแผ่นศิลานั้นยังคงอยู่ที่เดิม หลวงปู่ได้เก็บสะสมของใช้ต่าง ๆ นา ๆ ในยุคเก่าของโบราณจำพวกเงินตรา ทั้งชาวบ้านญาติโยมนำมาถวาย และได้มาจากการไปปฏิบัติศาสนกิจในที่ต่าง ๆ บ้าง มีทั้งที่ประเมินค่าได้และประเมินค่าไม่ได้ ทั้งนี้ได้จัดแสดงไว้ ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณวัดศรีชมภู
          ด้านการจัดการศึกษา จากการเปิดศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่มาหลายปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ จึงได้รับการอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ตั้งตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
          ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ท่านมีความเป็นห่วงวัดและการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร และผู้ด้อยโอกาส ในทางด้านการศึกษา จึงได้จัดตั้งมูลนิธิในช่วงแรก เพื่อรวบรวมทุนจัดตั้งเป็นมูลนิธิ เมื่อรวบรวมทุนได้ ๒๕๐,๐๐๐ บาท และยังได้รับเมตตาให้คำแนะนำจากพระเดชพระคุณพระราชธีราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนครพนม (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์เป็น พระเทพวรมุนี) ให้ตั้งชื่อว่ามูลนิธิหลวงปู่คำไหล ปริสุทฺโธ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จนทะเบียนมูลนิธิหลวงปู่คำไหล ปริสุทฺโธ มีวัตถุประสงค์ดังนั้น
          ๑. สนับสนุนส่งเสริมด้านการศึกษาและขวัญกำลังใจแก่ผู้ด้อยโอกาส
          ๒. สนับสนุนกิจการด้านวัฒนธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนา
          ๓. สนับสนุนด้านการศึกษาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
          ๔. เพื่อดำเนินการ หรือร่วมกับการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
          ๕. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด
การสาธารณูปการทั้งภายใน และภายนอกวัด
          ตั้งแต่เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีชมภู ได้ก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ ด้วยดีตลอดมาทั้งได้จัดซื้อที่ดินเพื่อขยายเขตวัด
          พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้ก่อตั้งกองทุนสงเคราะห์วัดศรีชมภู โดยเป็นประธานมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                    - เป็นค่าภัตตาหาร
                    - บำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม
                    - บูรณปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างวัดศรีชมภู ในกิจการทั่วไป
                    - บำเพ็ญทานการกุศล
                    - ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์อื่น
          พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้จัดตั้งมูลนิธิหลวงปู่คำไหล ปริสุทฺโธ
 
วัดที่หลวงปู่ได้ไปเป็นประธานสร้าง
          ๑. วัดบ้านศรีคงคำ ตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
          ๒. วัดบ้านซ่งเต่า ตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
          ๓. วัดบ้านม่วง ตำบลหนองลาด อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
          ๔. วัดโนนรัง ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
          ๕. วัดบ้านนากระทืม ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
          ๖. วัดป่าบ้านใต้ (ห้วยวังฆ้อง) อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
 สมณศักดิ์
          พ.ศ. ๒๕๓๒      ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท (จร.ชท.) ในราชทินนามที่ พระครูพิพัฒน์สิริคุณ
          พ.ศ. ๒๕๔๓      ได้รับประทานเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการ เป็นพระครูเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก (จร.ชอ.) ในราชทินนามเดิม

สังกัดที่วัด

สมณศักดิ์

พระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท (จร.ชท.)
ได้รับ พ.ศ. 2532
พระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก (จร.ชอ.)
ได้รับ พ.ศ. 2543

วุฒิการศึกษาทางธรรม

นักธรรม

นักธรรมเอก