สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8965 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9808 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7492 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
9 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code จังกระดาน

รหัสวัด
04330601007

ชื่อวัด
จังกระดาน

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2474

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 14 เดือน ตุลาคม ปี 2525

ที่อยู่
บ้านจังกระดาน

เลขที่
162

หมู่ที่
3

ซอย
-

ถนน
ตลาดไพรบึง-อำเภอศรีรัตนะ

แขวง / ตำบล
ไพรบึง

เขต / อำเภอ
ไพรบึง

จังหวัด
ศรีสะเกษ

ไปรษณีย์
33180

เนื้อที่
7 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา

มือถือ
0933214905

โทรศัพท์
0897212339

คุณสมบัติวัด

เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเข้าดู : 67

ปรับปรุงล่าสุด : 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 15:31:22

ข้อมูลเมื่อ : 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 13:07:52

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติโดยย่อของหมู่บ้านและวัดจังกระดาน
สร้างประวัติขึ้นมาเพิ่มเติม  โดย  พระสุริยัน  ฐิตสุโข  (เลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอไพรบึง)
คัดลอกขึ้นมาใหม่ตามฉบับเดิม และเพิ่มเติม
เมื่อวันที ๘ เดือน มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๓

 
บ้านจังกระดานหมู่ที่ ๓ เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอขุขันธ์ และได้แยกจากอำเภอขุขันธ์มาเป็นอำเภอไพรบึง เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่  คาดว่าเป็นหมู่บ้านตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หรือประมาณ ๒๐๐ กว่าปี  ตามตำนานเล่ากันว่าได้มีช้างเผือกของพระเจ้าแผ่นดินได้หลุดและหนีมาทางอีสานตะวันออก  แล้วสั่งให้แม่ทัพนายกองติดตามช้างเผือกเชือกดังกล่าวมาจนถึงเมืองขุขันธ์เจ้าพระยาเมืองขุขันธ์ได้สั่งแม่ทัพติดตามช้างมาจนถึงป่าเนินแห่งนี้ แล้วได้หยุดพักแรมเพื่อรอแม่ทัพกองฝ่ายเหนือมาสมทบ และได้สร้างศาลาพักกลางป่าใกล้ลำห้วย (ปัจจุบันเรียกว่าโนนศาลา) ต่อมาหลังจากเสร็จภาระกิจติดตามช้างเผือก คณะที่ติดตาม รวมได้เห็นพื้นที่ตรงนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และแหล่งน้ำจึงได้พาพวกมาตั้งหลักปักฐานทำกินจำนวน ๔ ครอบครัว และแยกย้ายกันอยู่ตามจุดต่างๆ ในละแวกนี้โดยครอบครัวแรกได้ไปอยู่โนนป่ารุนฝั่งตะวันออกติดหนองน้ำ มีชื่อว่าตาลุ่น (ปัจจุบันเรียกว่าภูมิรุนหนองปู่ตา) อีกครอบครัวหนึ่งได้แยกไปอยู่ติดหนองน้ำกลางป่าทึบทางทิศตะวันตกมีชื่อว่า ตาจ๊อก ซึ่งตำนานเล่าไว้ว่า ตาจ๊อกคนนี้แกเป็นคนเก่งกล้ามีเวทมนต์คาถาวิชาอาคมขลัง  ส่วนหนองน้ำนั้นเป็นหนองน้ำที่มีสิ่งสถิตมีอิทธิฤทธิ์คือ เจ้าปู่ตา สามารถแปลงกายเป็นจระเข้ขนาดใหญ่มาปรากฏตัวให้ลูกหลานตาจ๊อกเห็นเป็นที่วาดกลัวประจำ  จึงทำให้ตาจ๊อกต้องใช้เวทมนต์คาถามุดน้ำลงไปเพื่อหาตัวจระเข้ดังกล่าว แต่ไม่เห็นจระเข้ดังกล่าว เห็นแต่รูขนาดใหญ่อยู่ใต้หนองน้ำตาจ๊อกเลยสงสัยว่ารูดังกล่าวคงเป็นรูถ้ำที่จระเข้เข้าไปอาศัยอยู่ แกเลยเสกเอาก้อนหินขนาดใหญ่ปิดรูไว้ ตามตำนานเล่าอีกว่า รูใต้หนองน้ำนั้นเป็นเส้นทางของปู่ตาใช้เดินไปมาหาสู่ระหว่างเจ้าปู่ตาหนองน้ำกระมัลที่มีอิทธิฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกัน ซึ่งอยู่เขตตำบลไพร  อำเภอขุนหาญ ส่วนหนองน้ำที่ตาจ๊อกปิดรูนั้นเป็นที่รูจักกันในปัจจุบัน เรียกว่าหนองปิด และอีกครอบครัวหนึ่งเป็นครอบครัวของตาจัน ซึ่งตั้งอยู่จุดตรงกลางที่เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ พูดถึงครอบครัวตาจันเป็นครอบครัวที่ร่ำรวยมั่นคั่งขั้นมหาเศรษฐี แกมีภรรยาชื่อยายดา แก่เป็นคนตระหนี่ขี้เหนียว แต่ตาจันแก่เป็นคนกว้างขวางเนื่องจากเคยเป็นคนนำทัพติดตามช้างเผือก และได้ว่าจ้างผู้คนมาตัดไม้ผาและถากเพื่อปลูกเรือนขนาดใหญ่จนเป็นที่รู้จักต่อคนทั่วไป ว่าไปตัดไม้และผาถากไม้กระดานให้กับตาจัน ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกว่า (ปุ๊จังเฌอกระดาลฯ) แปลว่าผาถากไม้กระดานหรือจังกระดานต่อมาเมื่อมีบ้านเรือนและครอบครัวขยายหลายๆ ครอบครัว ทุกคนเลยคิดอยากจะมีวัดเพื่อทำบุญตามประเพณี และเข้าวัดปฏิบัติธรรม  ตาจันจึงเรียกผู้คนมาช่วยกันตัดไม้ผาถากนำมาสร้างวัดจนสำเร็จ แล้วได้ตั้งชื่อวัดตามชื่อผู้นำสร้างโดยนำชื่อครอบครัวตาจันและภรรยามาเป็นชื่อวัดในสมัยนั้นเรียกชื่อวัดว่า  วัดจันดาวิลัย  ต่อมาจึงเปลี่ยนตามคำพูดติดปากตามภาษาท้องถิ่นว่า (โต๊วปุ๊จังเฌอกระดาล) ให้ตาจัน ซึ่งนำมาแปลและตัดบางคำออกให้อยู่แค่คำว่า จังกระดาน จึงเป็นชื่อเรียกว่า วัดจังกระดาน มาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งก่อนๆโน้น วัดก็เคยร้างมาก่อน ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา และต่อมาก็มีพระสับเปลี่ยนมาตลอด ส่วนที่จำได้ตามคำบอกเล่าต่อกันมา ซึ่งที่มีการปกครองวัดอย่างจริงจังทั้งฝ่ายบ้านเมืองและวัด  ดังมีรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้
 
ประวัติวัดจังกระดาน
วัดจังกระดาน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๒ หมู่ ๓ บ้านจังกระดาน ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ         ถนนตลาดไพรบึง-อำศรีรัตนะ  สังกัดคณะคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๑๖ ตราวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๑๖๗๑ อาณาเขตทิศเหนือจดที่ดินเช้าบ้าน ทิศใต้จดถนน ร.พ.ช. ทิศตะวันออกจดที่ดินชาวบ้าน ทิศตะวันตกจดทางสาธารณประโยชน์  อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถกว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นอาคารคอนกรีต ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๓๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ (หลังเก่า)รือถอนแล้วเมื่อปี ๒๕๖๐ ศาลาการเปรียญหลังปัจจุบัน(หลังใหม่สร้างเมื่อ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๔ - พ.ศ. ๒๕๖๐  กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๔๐ เมตร งบประมาณในการดำเนินสร้าง  ๒๘,๐๐๐,๐๐๐  บาท  รูปทรงตึก ๒ ชั้น  สร้างด้วยเหล็กเสริมคอนกรีต  กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓ หลัง เป็นอาคารไม้ ๒ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑ หลัง กุฏิแม่ชี ๑ หลัง ณาปนสถาน ๑หลังหอระฆัง ๑ หลังโรงเอนกประสงค์  ๑ หลัง  หอกลอง-ระฆัง ๑ หลัง โรงครัว  ๑ หลัง  โรงพัสดุ  ๑  หลัง  เรือนรับรอง  ๑  หลัง  ห้องน้า  ๓ หลัง  สระน้ำ ๑ สระ มีพระประธานในอุโบสถ กว้าง          นิ้ว  สูง           เมตร
มีพระประธานในศาลาการเปรียญ  ๒ องค์ ชั้นล่างหน้าตักกว้าง  ๘๐ นิ้ว สูง  ๒.๕๐ เมตร ชั้นบนขนาดเท่ากันกับชั้นล่าง และมีพระแก้วมรกต ๑ องค์ ชั้นล่าง  วัดจังกกระดานตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ เดิมชื่อว่าวัดจันดาวิลัย  โดยมีพระสุน  เป็นผู้สร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เขตวิสูงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว  ๘๐ เมตร  การบริหารการปกครอง มีเจ้าอาวาส และรักษาการเท่าที่ทราบ    
ตาม   รายชื่อดังต่อไปนี้คือ
รูปที่ ๑ พระสุน                                          พ.ศ.๒๔๗๐-๒๔๗๔                   รักษาการ
รูปที่ ๒ อาจารย์คลำ                                    พ.ศ.๒๔๗๔-๒๔๗๕          รักษาการ
รูปที่ ๓ พระอธิการแดง                                 พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๘๒          เจ้าอาวาส
รูปที่ ๔ พระอาจารย์แสน                               พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๙          รักษาการ
รูปที่ ๕ พระอาจารย์สิน สิตฺตกาโญ                    พ.ศ.๒๔๘๙-๒๔๙๓          รักษาการ
รูปที่ ๖ พระอาจารย์เส็ง                                 พ.ศ.๒๔๙๓-๒๔๙๕          รักษาการ
รูปที่ ๗ พระอาจารย์บุญ                                พ.ศ.๒๔๙๕-๒๔๙๖           รักษาการ
รูปที่ ๘ พระอาจารย์นุช                                 พ.ศ.๒๔๙๖-๒๔๙๗          รักษาการ
รูปที่ ๙ พระอาจารย์สงิน                                พ.ศ.๒๔๙๗-๒๔๙๙          รักษาการ
รูปที่ ๑๐ พระอาจารย์หอม                             พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๑          รักษาการ
รูปที่ ๑๑ พระอธิการสงัด                               พ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๑๐            เจ้าอาวาส 
รูปที่ ๑๒ พระอาจารย์พลอย                                    พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๕                  รักษาการ
รูปที่ ๑๓ พระอาจารย์สมาน                            พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๑๙           รักษาการ
รูปที่ ๑๔ พระอธิการเลี้ยง  ตนฺติสาโร                          พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๘                 เจ้าอาวาส 
รูปที่ ๑๕ พระอาจารย์สมนึก จิตฺตปญฺโญ             พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๐          รักษาการ
รูปที่ ๑๖ พระอธิการสาร  ปภสฺสโร                    พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๕          เจ้าอาวาส 
รูปที่ ๑๗ พระอาจารย์มาลัย  ชยธมฺโม                พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๒          รักษาการ
รูปที่ ๑๘ พระอธิการไสว  โฆสิตวณฺโณ               พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๕๒          เจ้าอาวาส
รูปที่ ๑๙ พระอธิการธนันท์ชัย วระธมฺโม             พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๔          เจ้าอาวาส
รูปที่ ๒๐ พระอาจารย์เชื้อ วราธิโป                    พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘          รักษาการ
รูปที่ ๒๑ พระครูวาปีบุญญารักษ์                      พ.ศ.๒๕๕๘-เจ้าอาวาสปัจจุบัน
 
รายการบูรณะสร้างใหม่ เริ่มปี พ.ศ. ๒๕๖๐

  1. สร้างศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ สร้างโดย พระอธิการไสว  โฆสิตวณฺโณ  ยังไม่แลัวเสร็จ จนถึงปี ๒๕๕๙ พระครูวาปีบุญญารักษ์ และพระสุริยัน  ฐิตสุโข ได้สานต่อสร้างจนเสร็จ เมื่อปี ๒๕๖๐  เดิม ๒,๗๐๐,๐๐๐ บาท  และได้เพิ่มเติม  ๒,๐๐๐,๐๐๐, บาท โดยพระครูวาปีบุญญารักษ์
  2. ซุ้มประตูทางทิศตะวันตกของวัด ทรงช้างคู่ ผู้สร้าง พระครูวาปีบุญญารักษ์/พระสุริยัน ฐิตสุโข
สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๖๐  ราคา  ๔๒๐,๐๐๐  บาท
  1. สร้างพระสีวลี สร้างโดย พระสุริยัน  ฐิตสุโข (เลข.จต.ไพรบึง) สร้างเมื่อ  เดือนเมษายน ๒๕๖๐
  2. สร้างซุ้มประตูทางเข้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างโดย พระครูวาปีบุญญารักษ์/พระสุริยัน ฐิตสุโข
สร้างเมื่อ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ รูปพญานาคคู่  ราคา  ๘๐๐,๐๐๐ บาท
  1. ซื้อที่ดินเพิ่ม ขยายอณาบริเวณเขตวัดเพิ่ม ที่ครูสุพัน  ชัยนะรา เนื้อที่ ๕ ไร่ เมื่อ ๒๕๖๑ ที่แม่บน  พานทอง เมื่อ ๒๕๖๒ เนื้อที่ ๑ ไร่กว่า แล้วมีการสับเปลี่ยนที่ กับนางเล็ก  ๗ ไร่ 
  2. ปี ๖๕ ซื้อที่ทำทางนางจิรวรรณ  ไพรบึง  ๗x๑๓ เมตร ราคา ๗,๒๐๐ บาท  สร้างกำแพงใหม่  ๘๒๕,๒๕๐บาท  สร้างสะพานจงกรมและข้ามสระ จำนวนเงิน  ๙๗,๔๕๕   บาท                
บ้านจังกระดานเดิมเป็นหมู่บ้านเดียวเลยแบ่งแยกเป็น ๒ หมู่ เมื่อปี   พ.ศ.๒๕......
แยกโดยผู้ใหญ่ปี  บุญร่วม  อดีตผู้ใหญ่บ้านหนองปิด
  1.  บ้านจังกระดาน  หมู่ที่  ๓
  2.  บ้านหนองปิด     หมู่ที่  ๑๗
คณะกรรมโดยแต่งตั้ง
มีไวยาวัจกร ๔       คน  ดังนี้
  1. นายทุมสด     บุญร่วม
  2. นายเอกชัย    บุญร่วม
  3. นายประทีป   เจียนมะเริง
  4. นายลัน  แต้มงาม
จารย์พิธีมี ๓ คน ดังนี้
  1. นายทองจันทร์ ไพรบึง
  2. นายสงิน       กลำเงิน
  3. นายพิศิษฐ์    รักสุด
มัคทายกวัด/ตุลาการ      มีรายชื่อดังนี้
  1. พ่อเรียม      บุญร่วม
  2. พ่อสวาท      ทองอินทร์
  3. พ่อสวาท      บุญร่วม
  4. พ่อพลาน     สุดสวาท
  5. พ่อตัล         กลำเงิน
  6. พ่อนาค       บุญร่วม
  7. พ่อเฉลิม      กลำเงิน
  8. พ่อพล         สุพรรณ
  9. พ่อเที่ยง      บุญร่วม
  10. พ่อชาญ       บุญร่วม
  11. พ่อสุม         เกษการ
๑๒.พ่อบุศรี      บุญนร่วม
กรรมการวัด/ดูแลช่วยงานวัด
  1. นายสุม                 เกษการ
  2. นายเกียรติ    บุญร่วม
  3. นายสุพรรณ   กลำเงิน
  4. นายลัน                 แต้มงาม
  5. นายทิตย์       บุญร่วม
  6. นายสุพจน์     สุภาพ
  7. นายปราณี     บุญร่วม
  8. นายชัย                 บุญร่วม
  9. นายบุญแช่ม  บุญร่วม
  10. นายทวีศักดิ์   ธรรมคุณ
  11. นายจันดา     กลำเงิน
๑๒.นายสมชาย   ศรีธรรม
๑๓.นายพงษ์เทพ บุญร่วม
๑๔.นายคูณ       กลำเงิน
๑๕.นายพงษ์ศักดิ์ ดวงศรี
๑๖.นายสมบัติ    สีดา
๑๗.นายสม        บุญร่วม
๑๘.นายดล                บุญร่วม
๑๙.นายกิตติศักดิ์ บุญร่วม
๒๐.นายประยงค์  สุภาพงษ์
๒๑.นายชะมัด    กลำเงิน
ผู้ใหญ่บ้านจังกระดาน และผู้ช่วย
นายแจ้ม       บุญร่วม        ผู้ใหญ่บ้านจังกระดาน
นายสงัด       บัวทอง         ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจังกระดาน
นางสาวัน      เสนคราม      ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจังกระดาน
ผู้ใหญ่บ้านหนองปิด
         นายธนันท์ชัย กลำเงิน                ผู้ใหญ่บ้านหนองปิด
         นายเอกชัย    บุญร่วม        ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหนองปิด
         นางกิ่ง         กลำเงิน        ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหนองปิด   
 
ทำเนียบพระภิกษุสามเณร จำพรรษาปีพุทธศักราช  ๒๕๖๓
วันที่ ๖ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.  ๒๕๖๓
พระภิกษุ      ๕       รูป     สามเณร       ๒      รูป     แม่ชี   ๑       คน
เด็กวัด ๑ คน  รวม    ๙  รูป/คน
  1. พระครูวาปีบุญญารักษ์                                 เจ้าคณะตำบลไพรบึง เจ้าอาวาสวัดจังกระดาน
  2. พระอุทัย       ฐานทินฺโน
  3. พระตึด         ปสนฺโน
  4. พระรณชัย     อรุโณ
  5. พระสุริยัน      ฐิตสุโข                          เลขานุการเจ้าคณะตำบลไพรบึง
  6. พระวัชรินทร์  ฐานวุฑฺโฒ                     
  7. สามเณรอดิรุจ  สุภาพ
  8. สามเณรธนกร  อินทรโชติ
 
พระเณรที่สอบได้ นักธรรมชั้นตรี          พ.ศ. ๒๕๖๓  มีชื่อดังนี้
  1. พระ
  2. พระ
  3. พระ
  4. สามเณร
  5. สามเณร
 
พระเณรที่สอบได้ นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๖๓  มีชื่อดังนี้
  1. พระวัชรินทร์  ฐานวุฑฺโฒ
  2. พระ
  3. สามเณรอดิรุจ  สุภาพ
  4. สามเณร
 
พระภิกษุสามเณรที่สอบนักธรรมชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๖๓
พระ            รูป
สามเณร       รูป
สอบได้ รูป
ทำเนียบพระภิกษุสามเณร จำพรรษาปีพุทธศักราช  ๒๕๖๔
วันที่ ๒๘ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.  ๒๕๖๔
พระภิกษุ         ๙          รูป       สามเณร           ๔         รูป       แม่ชี     ๑          คน
เด็กวัด  ๑ คน    รวม     ๑๕  รูป/คน
๑.         พระครูวาปีบุญญารักษ์                                    เจ้าคณะตำบลไพรบึง  เจ้าอาวาสวัดจังกระดาน
๒.        พระอุทัย          ฐานทินฺโน
๓.        พระตึด            ปสนฺโน
๔.        พระสุริยัน        ฐิตสุโข                                    เลขานุการเจ้าคณะตำบลไพรบึง
๕.        พระวัชรินทร์  ฐานวุฑฺโฒ
๖.        พระกุญชร  กตธมฺโม
๗.        พระณรงศักดิ์  ฐิตธมฺโม                      
๘.        พระปฏิภาณ  ฐานสมฺปนฺโณ
๙.         พระสุทัศน์  ชุติปญฺโญ
๑๐.      สามเณรอดิรุจ  สุภาพ
๑๑.      สามเณรทรงยศ  กลำเงิน
๑๒.     สามเณรพงศพัศ  สุพรรณ
๑๓.      สามเณรธวัชชัย  เสนคราม
พระเณรที่สอบได้ นักธรรมชั้นตรี          พ.ศ. ๒๕๖๔  มีชื่อดังนี้
  1. พระกุญชร  กตธมฺโม
  2. พระณรงศักดิ์  ฐิตธมฺโม
  3. พระปฏิภาณ  ฐานสมฺปนฺโณ
  4. พระสุทัศน์  ชุติปญฺโญ
  5. สามเณรทรงยศ  กลำเงิน
  6. สามเณรพงศพัศ  สุพรรณ
๑๒.สามเณรธวัชชัย  เสนคราม
 
 
พระเณรที่สอบได้ นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๖๓  มีชื่อดังนี้
พระ
สามเณร
 
พระภิกษุสามเณรที่สอบนักธรรมชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๖๓
พระ            รูป
สามเณร       รูป
สอบได้ รูป
 
 
การปกครองฝ่ายคฤหัสถ์ ปี  ๒๕๖๕
ผู้ใหญ่บ้านจังกระดาน และผู้ช่วย
นายแจ้ม       บุญร่วม        ผู้ใหญ่บ้านจังกระดาน
นายสงัด       บุวทอง         ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจังกระดาน
นางสาวัน      เสนคราม      ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจังกระดาน
ผู้ใหญ่บ้านหนองปิด
         นายธนันท์ชัย กลำเงิน        ผู้ใหญ่บ้านหนองปิด
         นางกิ่ง         กลำเงิน        ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหนองปิด
         นายเอกชัย    บุญร่วม        ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหนองปิด
การดำรงตำแหน่งฝ่ายสงฆ์
         พระครูวาปีบุญญารักษ์                ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง  รองเจ้าคณะอำเภอไพรบึง
                                            เมื่อวันที่  ๒๕  มีมีนาคม  พ.ศ.๒๕๖๕  (เจ้าอาวาส)
         พระสุริยัน  ฐิตสุโข             ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง  เลขาเจ้าคณะตำบลไพรบึง
                                             เมื่อวันที่  ๒๕  พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๖๑ 
                                            ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจังกระดาน
                                            เมื่อวันที่  ๒๕  กรกฎาคม  พ.ศ.๒๕๖๓ 
 ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง  เลขารองเจ้าคณะอำเภอไพรบึง
                                             เมื่อวันที่  ๙  มีนาคม  พ.ศ.๒๕๖๕ 
 
        
 
 
 
 
 
 
  
                                   
 
 
 
 

รายการพระ

พระครูวาปีบุญญารักษ์ กตปุญฺโญ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 08-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 29-07-2565

พระสุพิศ อกิญฺจโณ

ข้อมูลเมื่อ : 29-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-09-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

พิธีสวดมนต์ข้าม...

ข้อมูลเมื่อ : 21-07-2565

เปิดดู 24 ครั้ง

โบสถ์ ศาลาการเป...

ข้อมูลเมื่อ : 21-07-2565

เปิดดู 29 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น