สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
9 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดมณีวนาราม

รหัสวัด
04340101003

ชื่อวัด
วัดมณีวนาราม

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2322

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 16 เดือน มกราคม ปี 2518

ที่อยู่
-

เลขที่
139

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
หลวง

แขวง / ตำบล
ในเมือง

เขต / อำเภอ
เมืองอุบลราชธานี

จังหวัด
อุบลราชธานี

ไปรษณีย์
34000

เนื้อที่
16 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา

Facebook
คลิกดู

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดท่องเที่ยว
เป็นโรงเรียนการกุศลของวัด
เป็นศูนย์การเรียนสำนักศาสนศึกษา วัดมณีวนาราม
เป็นหอพระไตรปิฎก
เป็นพิพิธภัณฑ์
เป็นมูลนิธิมูลนิธิวัดมณีวนาราม

จำนวนเข้าดู : 236

ปรับปรุงล่าสุด : 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 19:27:39

ข้อมูลเมื่อ : 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 07:56:50

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดมณีวนารามเป็นวัดสำคัญเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองอุบลราชธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ “ดงอู่ผึ้ง” ผืนป่าเก่าแก่แต่ครั้งก่อนสถาปนาเมืองอุบลราชธานี โดยอยู่ห่างจากเขตเขื่อนคูของเมืองแห่งนี้ ในอดีตเรียกว่า “วัดป่ามณีวัน” (เทพมงคลเมธี,พระ, 2523 : 1) “วัดป่าน้อยมณีวัน” (นิล พันธุ์เพ็ง, 2477 : 130) หรือ “วัดป่าแก้วมณีวัน” คู่กันกับ “วัดป่าหลวงมณีโชติ” (วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง หรือ “วัดป่าใหญ่”) (อนุสรณ์ถวายเมรุสามัคคีศรีเมือง วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี, 2522 : 23) ขณะที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกขานเป็นสามัญว่า “วัดป่าน้อย” และเปลี่ยนนามเป็น “วัดมณีวนาราม” ตามสมัยนิยมในปี พ.ศ. 2485 โดยดำริของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) สังฆนายก

เนื้อที่และอาณาเขตของวัด

วัดมณีวนาราม ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 139 ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ของวัดเป็นที่ราบสูง  เอียงลาดจากทิศเหนือลงไปสู่ทิศใต้ ประมาณ 1 เมตรมีเนื้อที่ 16 ไร่ 1 งาน 88  (เทพมงคลเมธี,พระ, 2530) มีอาณาเขต ดังนี้

ทิศเหนือจดที่เอกชน (ติดถนนพิชิตรังสรรค์)
ทิศใต้    จดถนนพโลรังฤทธิ์ (ฝั่งตรงข้าม คือ วัดทุ่งศรีเมือง)
ทิศตะวันออกจดถนนหลวง (ชุมชนวัดมณีวนาราม)
ทิศตะวันตกจดที่เอกชน

พื้นที่เดิมของวัดมีรูปเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีกอไผ่ล้อมรอบ ในช่วงก่อน พ.ศ. 2465 ยาแม่นางนก ถวายที่สวนติดเขตวัด ๑ แปลงและในช่วงปี พ.ศ. 2465 – 2472 ยาแม่นางมัจฉา สุวรรณกูฏ และยาแม่นางเหลื่อน อุไพพัฒน์ ได้ถวายที่เพิ่มเติมอีก ที่ดินอันอุบาสิกาทั้ง 3 ถวายนี้รวมเป็นขอบเขตของวัดดังในปัจจุบัน ส่วนที่ธรณีสงฆ์ของวัดมี 2 แปลง อยู่อำเภอเดชอุดม แปลงหนึ่งและในอำเภอเมืองอุบลราชธานีอีกแปลงหนึ่ง อัยการสี สิงหัษฐิต ถวายเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2465

ประวัติและความสำคัญ อาราม “แก้วมณีวัน”

ข้อมูลจากเอกสารหนังสือต่าง ๆที่เคยตีพิมพ์ไว้ ให้ข้อมูลพอสันนิษฐานได้ว่า  วัดแห่งนี้ได้สร้างขึ้นอย่างน้อยในราวปลายยุครัชกาลที่ 3 เมื่อพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์(สุ้ย) พระเถระชาวเมืองอุบลราชธานีหรือ “ท่านเจ้า”  ได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรม ณ สำนักวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ สำเร็จเปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ และเชื่อกันว่าเป็น “พระราชาคณะรูปแรก” ของภาคอีสาน อย่างไรก็ตามในหลักฐานของทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ถือว่า วัดแห่งนี้ตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมายเมื่อ พ.ศ. 2322 ตามหนังสือรับรองสภาพวัดที่ อบ 0034/12425
  
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เมื่อครั้งเป็นพระพรหมมุนี ได้กล่าวเล่าถึงความสำคัญของพระอริยวงศาจารย์ไว้อย่างละเอียด สันนิษฐานว่าท่านคงรับฟังมาจากพระเถระรุ่นก่อน ๆ ความว่า

 “...ด้วยว่าในยุคนั้นมีพระเถระที่สำคัญอีกรูปหนึ่งชื่อสุ้ย นัยว่าทรวดทรงสูงใหญ่สีขาวท่าทางงาม กำเนิดที่หมู่บ้านกวางดำ ตำบลเขื่องในซึ่งห่างจากที่ตั้งจังหวัดอุบลฯ ไปทางทิศพายัพราว 900 เส้น เป็นผู้ได้เข้ามาเล่าเรียนพระปริยัตติธรรมในพระนครกรุงเทพฯ สำนักอยู่ที่วัดสระเกษ ได้รับการแต่งตั้งออกไปเป็นหลักคำคือเทียบเจ้าคณะเมืองเดี๋ยวนี้ ก่อนท่านพนฺธุโลออกไปหลายปี นัยว่าเป็นพระราชาคณะชื่ออริยวงศ์  ปวงชนเขาร้องเรียกว่า “ท่านเจ้า” มีพัดยอดปักทองขวางด้ามงาแต่ไม่มีแฉกและมีย่ามปักทองขวางมีฝาบาตร์มุกด์เป็นบริขาร ของเหล่านี้ยังรักษาเก็บไว้ที่วัดป่าน้อย ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ของท่านมาจนบัดนี้ ท่านผู้นี้ก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้นำขนบธรรมเนียมที่ดีตลอดศิลปหัตถกรรมออกไปเผยแพร่ กล่าวคือ ตั้งการสอนพระปริยัตติธรรมและหนังสือไทยสร้างโบสถ์สร้างพระบาทสร้างหอไตรก็เอาอย่างในพระนครออกไปสั่งสอนและก่อสร้าง  สิ่งที่ท่านก่อสร้างยังปรากกอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมืองจนบัดนี้...” (พรหมมุนี,พระ, 2478 : 23 – 24)

สำหรับผู้อุปถัมภ์วัดนี้นั้น สันนิษฐานว่าอาจเป็นเจ้านายกลุ่มอาญาสี่ของเมืองอุบลราชธานี ในหนังสือประวัติศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี เชื่อว่าเป็นเจ้าพระอุปฮาด (ก่ำ) หรือภายหลังเป็น พระเทพวงศา (ก่ำ) เจ้าเมืองเขมราฐ เป็นผู้สร้างวัดนี้  โดยที่เสนอว่า

“...วัดป่าน้อย ไม่มีหลักสำคัญ แต่มีสิลาจารึกอยู่หน้าโบสถ์ ใจความกล่าวถึงเรื่องใบสีมาเท่านั้น แต่ลงนามไว้ว่า “พระอุปฮาช” (ไม่ลงนามเดิม) กับทิตย์แก้ว ตามที่เล่ากันมาว่า พระอุปฮาชก่ำได้สร้างวัดป่าใหญ่ แต่วัดป่าใหญ่ได้มีสิลาจารึกเป็นสำคัญอยู่แล้ว จึงไม่น่าสงสัย ที่ลงนามไว้ในสิลาจารึกที่วัดป่าน้อยนั้น น่าจะสันนิษฐานได้ว่า พระอุปฮาชก่ำเป็นผู้สร้างวัดนี้ เพราะตรงกับท้าวก่ำเป็นพระอุปฮาชด้วย ได้ให้นามวัดนั้นว่า “วัดป่าน้อยมณีวัน”...” (นิล พันธุ์เพ็ง, 2477 : 130)

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับการอ่านและปริววรตจารึกหลักดังกล่าวใหม่โดยนิพล สายศรี และณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคามพบว่า จะปรากฏเฉพาะชื่อตำแหน่งที่ปรากฏบนใบเสมาของสิมเก่าวัดมณีวนาราม ที่ว่า “...เจ้าพระอูบมะราดแลทิดแก้วจึงสร้างแลก้อนนิมิตนี้ไว้เป็นเยี่ยงอย่างในพระพุทธศาสนา...”และ ผศ.ดร.บุญชู ภูศรี ได้ปริวรรตว่า “...เจ้าพระอุปราชและทิดแก้วจึงสร้างใบสีมาและก้อนนิมิตนี้ไว้เป็นเยี่ยงอย่างในพระพุทธศาสนา...”

วัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) ยังได้ปรากฏว่าเป็นวัดหนึ่งที่ทางราชการได้นิมนต์พระภิกษุในการเจริญพระพุทธมนต์ และรับถวายไทยธรรม ในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการในเมืองอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2428  เช่นเดียวกับวัดสำคัญอื่น ๆ ในเมืองอุบลราชธานี ดังปรากฏใน ใบบอกเมืองอุบลราชธานีของพระยาราชเสนา (ทัด ไกรฤกษ์)หลวงภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) ขุนพรพิทักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์) ความว่า

“...ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยท้าวเพี้ยกรมการเมืองอุบลราชธานี แลเจ้าเมืองท้าวเพี้ยกรมการหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี เชิญพระบรมราชศาทิฉายาลักษณ์กลับจากณพระอูโบสถวัดหลวงขึ้นประดิศฐานบลโตะตั้งเครื่องดอกไม้ธูปเทียนศักการะบูชาณศาลากลางทำการสมโพชพระบรมราชศาทิฉายาลักษณ์ ได้นิมลพระพิขุสงฆธรรมยุติกาวัดสุปัตวัดสีทองวัดไชรวัดสุทัศสิ้นในเมืองอุบลราชธานี รวมพระภิขุสงฆธรรมยุติกา ๕๔ รูปสวดพระพุทมลต์ณวัน ๓ฯ๑๓๑๐ ค่ำ วัน ๔ ฯ๑๔๑๐ ค่ำ วัน ๕ ฯ๑๕๑๐ ค่ำ ปีระกาสัปต๑๘ศก มีเทศนากันหนึ่งแลถวายจันหัญไชยทานทั้งสามวัน กับนิมลพระภิขุสงฆมหานิกายสิ้นทุกวัด คือวัดหลวงวัดหนองยางวัดสว่างวัดเรียบวัดป่าน้อยวัดป่าไหญ่วัดทุ่งวัดไต้วัดท่าวัดเหนือวัดกลางรวม ๑๑ วัด จำนวนพระพิขุสงฆ ๑๖๓ รูป เจริญพระพุทมลต์สมโพชพระบรมราชศาทิฉายาลักษณ์ วันหนึ่งถวายสิ่งของไชยทานต่าง ๆ กับได้แจกผ้าขาวห่มผืนหนึ่งเงินเฟื้องหนึ่ง ให้กับราษฎรชราอายุศม์เจ็ดสิบปีขึ้นไป แลนักโทษต่าง ๆ เสมอกันทุกคลรวมชายหญิง ๓๔๐ คน แลตามประทิพจุดดอกไม้เพลิงต่าง ๆ เล่นการนักคัตตาฤกษ์มีเพลงแลขับแคนตามเพทบ้านเมือง  ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยท้าวเพี้ยกรมการเมืองอุบลราชธานีและเจ้าเมืองท้าวเพี้ยกรมการหัวเมืองขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี ขอพระราชทานถวายพระราชกุศล ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม...” (ใบบอก ร.5 ม.2.12 ก/3 [69}, 2428 : 121 – 122)

ความสำคัญของวัดมณีวนาราม

วัดมณีวนาราม เป็นวัดสำคัญด้านการปกครองคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เป็นที่จำพรรษาของพระสังฆาธิการระดับชั้นต่าง ๆ เช่น รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล มาหลายยุคหลายสมัย เช่น พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ พระธรรมเสนานี พระครูอาทรกิจโกศล พระกิตติญาณโสภณ พระเทพวราจารย์ เป็นต้น

ด้วยความที่เป็นวัดโบราณเก่าแก่ จึงมีโบราณสถานสำคัญของชาติอยู่หลายแห่ง เช่น กุฏิพระอริยวงศาจารย์ (กุฏิแดง) กุฏิธรรมระโต กุฏิใหญ่ ศาลาการเปรียญ (หอแจก) เป็นต้น  ซึ่งพระเทพวราจารย์ เจ้าอาวาสได้ให้บำรุงรักษา ปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพดี เพื่อสงวนรักษาไว้เป็นมรดกของชาติ และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญทางวัฒนธรรม ด้วยการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม

ความสำคัญอีกประการหนึ่ง วัดมณีวนารามเป็นวัดสำนักเรียนเก่าแก่ของจังหวัดอุบลราชธานี นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน กล่าวคือ ในยุคอดีตเป็นสำนักเรียนมูลกัจจายน์หรือ “เรียนหนังสือใหญ่” หรือ “มูลเดิมแบบเดิม” ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก เป็นส่วนหนึ่งในสำนักที่มีชื่อเสียงของเมืองนักปราชญ์ (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี, 2550 : (ฆ) )   มีประจักษ์พยานจากคัมภีร์ใบลาน ที่จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาน อักษรไทยน้อย และอักษรขอม และมีอายุเก่าแก่กว่า 400 ปี หลายฉบับพระมหากษัตริย์ในอาณาจักรล้านช้างเป็นผู้สร้าง เช่น พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช และพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นต้น

 ที่สำคัญวัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ได้แก่ พระแก้วโกเมน พระพุทธมณีรัตน์ (หลวงพ่อยิ้ม) พระพุทธมณีโชติ เป็นต้น 

ลำดับเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม

  1. พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย ป.ธ.๓)  หรือ "ท่านเจ้า" หรือ "พระธรรมบาลสุ้ย" หรือ สมเด็ดเจ้าอริยวงส์ สถิต ณ เมืองอุบลราชธานี ฝ่ายอรัญวาสี   หลักคำเมืองอุบลราชธานี (เทียบเจ้าคณะจังหวัด)  ครองวัดราว พ.ศ. 2364 – 2395
  2. อาชญาท่านจันลา จนฺทรํสี    ครองวัดราวก่อน พ.ศ. 2421
  3. อาชญาท่านคำ  สุวณฺโณ      ครองวัดราวก่อน พ.ศ. 2453
  4. อาชญาท่านพระธรรมบาล (ผุย ธมฺมปาโล) หลักคำเมืองอุบลราชธานี    ครองวัดราวก่อน พ.ศ. 2453 – พ.ศ. 2463
  5. พระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง ธมฺมทีโป นิลคำอ่อน) เจ้าคณะแขวงเมืองอุบลราชธานี   ครองวัด พ.ศ. 2464 – 2480
  6. พระธรรมเสนานี นรสีห์ธรรมนิวิฐ สาธุกิจวิริยาธิการ ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (กิ่ง มหปฺผโล นิลดำอ่อน ป.ธ.5) รองเจ้าคณะภาค 10 ครองวัด พ.ศ. 2481 – 2538
  7. พระครูอาทรกิจโกศล (ทอน กนฺตสีโล จันทป) เจ้าคณะอำเภอเมืองอุบลราชธานี  ครองวัด พ.ศ. 2539 – 2541
  8. พระกิตติญาณโสภณ (แสง นาคเสโน เหง้าโพธิ์ ป.ธ.7) เจ้าคณะอำเภอเมืองอุบลราชธานี   ครองวัด พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2551
  9. พระเทพวราจารย์ สุวิธานธรรมโกวิท ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี  (ศรีพร วรวิญฺญู ป.ธ.9 ,Ph.D.) เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ครองวัด พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน
บรรณานุกรม

เทพมงคลเมธี, พระ.ประวัติวัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) และอานิสงส์การผูกสีมา พิมพ์เป็นบรรณาการ เนื่องในงานผูกสีมา วัดมณีวนาราม วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2423.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2523.
นิล  พันธุ์เพ็ง.ประวัติศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี.  ม.ป.ท., 2477.
พรหมมุนี, พระ.ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาและฉลองพระอุโบสถ วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2479.  พระนครฯ : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2478.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี.  พระไตรปิฎกฉบับอักษรธรรมอีสาน. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี, 2550.
วีณา  วีสเพ็ญ และคณะ. พิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม.  อุบลราชธานี : พลอยสกรีน, 2561.
อนุสรณ์ถวายเมรุสามัคคีศรีเมือง วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี 9 มิถุนายน 2522.  กรุงเทพฯ : กรุงสยาม การพิมพ์, 2522.
เอกสารรัชกาลที่ 5 ร.5 ม.2.12 ก/3 [69] ใบบอกเมืองอุบลราชธานี (ก.พ. 106–ส.ค. 106).         
กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. จารึกวัดมณีวนาราม.  (2558).  คำปริวรรตโดยนายณรงค์ศักดิ์  ราวะรินทร์ ทำสำเนา จารึกโดย นิพล สายศรี โปสเตอร์ข้อมูลจำนวน 1 หน้า.

หมายเหตุ : พระปกรณ์  ชินวโร (ปุกหุต) เลขานุการคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ค้นคว้า เรียบเรียง 

แผนที่ภาพ

รายการพระ

พระเทพวราจารย์ วรวิญฺญู

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 28-06-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 02-08-2565

พระครูโสภณวนานุกูล โสภโณ

ข้อมูลเมื่อ : 02-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 22-08-2565

พระมหานิกร โสภโณ

ข้อมูลเมื่อ : 02-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 02-07-2565

พระมหาทัศพล คนฺธวโร

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระครูสมุห์เนตร จกฺขุปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 17-07-2565

พระครูวินัยธรพยัคอรุณ ปญฺญาพโล

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระมหาณัฐพงศ์ ชยวุฑฺโฒ

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 02-08-2565

พระมหาปิญพน คุณวิญฺญู

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 02-08-2565

พระชาญริขิตร อิทฺธิญาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระคมสัน ธนิสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระธัชพล ขนฺติวโร

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระปกรณ์ ชินวโร

ข้อมูลเมื่อ : 26-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-10-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคล

ข้อมูลเมื่อ : 28-06-2565

เปิดดู 56 ครั้ง

คณะสงฆ์วัดมณีวนาราม ลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์

ข้อมูลเมื่อ : 28-06-2565

เปิดดู 80 ครั้ง

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

กุฏิใหญ่ (กุฏิส...

ข้อมูลเมื่อ : 02-08-2565

เปิดดู 40 ครั้ง

กุฏิพรหมกวีอนุส...

ข้อมูลเมื่อ : 02-08-2565

เปิดดู 83 ครั้ง

กุฏิพระธรรมเสนา...

ข้อมูลเมื่อ : 02-08-2565

เปิดดู 37 ครั้ง

กุฏิสุขวงษ์

ข้อมูลเมื่อ : 02-08-2565

เปิดดู 33 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

แผนที่ชีวิต เจร...

ข้อมูลเมื่อ 01-07-2565

เปิดดู 71 ครั้ง

รายการแผนที่ธรร...

ข้อมูลเมื่อ 29-06-2565

เปิดดู 67 ครั้ง

รายการแผนที่ชีว...

ข้อมูลเมื่อ 28-06-2565

เปิดดู 75 ครั้ง

รายการแผนที่ธรร...

ข้อมูลเมื่อ 26-06-2565

เปิดดู 48 ครั้ง

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น