สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
9 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดมหาพุทธาราม

รหัสวัด
04330101001

ชื่อวัด
วัดมหาพุทธาราม

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ

วันตั้งวัด
ปี 2395

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2465

ที่อยู่
ชุมชนวัดพระโต

เลขที่
167

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
ขุขันธ์

แขวง / ตำบล
เมืองเหนือ

เขต / อำเภอ
เมืองศรีสะเกษ

จังหวัด
ศรีสะเกษ

ไปรษณีย์
33000

เนื้อที่
23 ไร่ - งาน 10 ตารางวา

Facebook
คลิกดู

มือถือ
0860669105

อีเมล์
psamaiys@gmail.com

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดท่องเที่ยว
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
เป็นสำนักปฏิบัติธรรม
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นโรงเรียนการกุศลของวัด
เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)
เป็นมูลนิธิมูลนิธิเพื่อการศึกษาวัดมหาพุทธาราม

จำนวนเข้าดู : 209

ปรับปรุงล่าสุด : 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 13:52:33

ข้อมูลเมื่อ : 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 20:33:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

     วัดมหาพุทธาราม หรือ วัดพระโต เป็นวัดสำคัญเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษมาแต่โบราณ เดิมชื่อว่า วัดป่าแดง เพราะสร้างขึ้นในกลางป่าไม้แดง สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในราว พ.ศ. ๒๒๕๗ สมัยเจ้าสร้อยศรีสมุทรหน่อพุทธางกูร ผู้ครองนครอาณาจักรล้านช้างจำปาสักโดยมี เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ญาคูขี้หอม) สังฆราชนครจำปาสัก ได้มอบหมายให้ศิษย์คนสำคัญ ๔ ท่าน เป็นหัวหน้าคณะ แยกย้ายออกไปหาที่ตั้งบ้านแปลงเมืองใหม่ โดยให้จารย์ฮวด ไปครองเมืองสีพันดอน จารย์มั่น ไปครองเมืองสาละวัน จารย์แก้ว ไปครองเมืองทุ่ง (สุวรรณภูมิ) และจารย์เซียง ไปครองเมืองศรีนครเขต ซึ่งก็คือ บริเวณที่ตั้งเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน หลังจากเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ถึงแก่มรณภาพ และจารย์เซียง ถึงแก่อนิจกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง วัดจึงขาดการทะนุบำรุงจนกลายเป็นวัดร้างในเวลาต่อมา
     กระทั่ง พ.ศ. ๒๓๒๖ พระภักดีภูธรสงคราม (อุ่น) ปลัดเมืองขุขันธ์ มีหนังสือกราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ขอพระบรมราชานุญาตแยกตัวออกมาสร้างเมืองใหม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบริเวณบ้านโนนสามขาสระกำแพง หรือ สดุ๊กอำปึล เรียกว่า เมืองศรีสะเกษ แต่ต่อมา ได้พิจารณาเห็นว่า บ้านโนนสามขาสระกำเพงคับแคบ กันดารน้ำ จึงให้ย้ายมาสร้างเมืองที่บริเวณเมือศรีนครเขตเดิม คือ บริเวณหมู่บ้านพานทา - เจียงอี  และเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน แล้วทรงแต่งตั้ง พระภักดีภูธรสงคราม (อุ่น) เป็น พระยารัตนวงศา และเป็นจ้าเมืองศรีสะเกษคนแรก (พระยารัตนวงศา คือทายาทรุ่น ๒ ของจารย์แก้วกับจารย์เซียง)
     พ.ศ. ๒๓๒๘ มีเรื่องเล่าว่า มีนายพรานบ้านพานทาเข้าไปล่าสัตว์ในบริเวณป่าไม้แดง ติดตามเก้งที่วิ่งหายเข้าไปในหลบบริเวณเนินดินที่มีต้นไม้รกครึ้มด้วยเถาวัลย์ จึงพบว่า เนินดินคล้ายสิมเก่า (อุโบสถ) มีพระพุทธรูปหินดำเกลี้ยงโผล่เหนือดิน ขึ้นมาครึ่งองค์ จึงไปแจ้งให้เจ้าเมืองทราบ ท่านจึงสั่งให้ฝ่ายกรมเมืองเข้าไปสำรวจพบว่า บริเวณดังกล่าว เป็นสิมเก่าของวัดป่าแดงที่ร้างไปพร้อมกับความเสื่อมสถานะของเมืองศรีนครเขต พระยารัตนวงศา จึงมีดำริที่จะสร้างวัดใหม่ในบริเวณเดิมเพื่อให้เป็นวัดประจำเมืองศรีสะเกษ และเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ แต่ยังไม่ทันดำเนินการ ก็ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน
     พ.ศ. ๒๓๒๘ พระยาวิเศษภักดี (ชม) บุตรพระยารัตนวงศา (อุ่น) เมื่อได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนที่ ๒ จึงได้ดำเนินกาสร้างวัดต่อไปจนแล้วเสร็จ ในขณะเดียวกันได้มอบหมายให้ อาจารย์ครูศรีธรรมา ผู้เป็นลุง (สามีนางวันนาผู้เป็นพี่สาวพระยารัตนวงศา (อุ่น) เจ้าเมืองศรีสะเกษคนแรก) ซึ่งเป็นช่างฝีมือดีจากนครจำปาสักสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปะจำปาสัก มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๕๐ เมตร ครอบพระพุทธรูปองค์เดิมที่โผล่เนินดิน ถวายนามว่า หลวงพ่อโตองค์ตื้อ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า หลวงพ่อโต นามทางราชการว่า พระพุทธมหามุนี ต่อมากลัวว่าพวกมิจฉาชีพจะทำให้เสียหาย จึงมีผู้ศรัทธาหุ้มเสริมองค์จริงเข้าไปหลายครั้ง จนถึงปัจจุบันนี้ มีขนาดหน้าตัก ๓.๕๐ เมตร ความสูงตั้งแต่พระเกศาลงมา ๖.๘๕ เมตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ มีการสร้างวิหารใหญ่ครอบ มีความกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๔๐ เมตร  และได้เปลี่ยนชื่อ วัดป่าแดง เป็น วัดพระโต ตั้งแต่บัดนั้น 
     พ.ศ. ๒๔๙๐ คณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อ วัดพระโต มาเป็น วัดมหาพุทธาราม ในปัจจุบัน จึงนับได้ว่า วัดมหาพุทธาราม เป็นวัดเก่าแก่ และมีองค์หลวงพ่อโต พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเมืองเป็นศูนย์ร่วมจิตใจ และศรัทธาของประชาชนและข้าราชการ ที่ต่างให้ความเคารพสักการะ ขอพร เป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองในอดีต และเป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับเมืองศรีนครเขต เจ้าเมืองศรีสะเกษและประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ 
     วัดมหาพุทธาราม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะ เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อ วันที่ ๒๙ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นับเป็นพระอารามหลวงแห่งที่ ๓ ของจังหวัดศรีสะเกษ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูศรีมงคลปริยัติกิจ สิทฺธิวโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 02-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระครูพุทธิพงศานุวัตร ปญฺญาธโร

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระครูพิพิธวีรคุณ วายาโม

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระมหาโสภณ กิจฺจสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระมหาทนงชัย ชินวํโส

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระพิจิตร สมฺปนฺโน

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระครูสังฆรักษ์สัญชาติ ฐิตปสาโท

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระมหาขุนทอง จนฺทวาโร

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระสุรพล ปภสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระใบฎีกาจอม มหาปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระสุริยะ อคฺคปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระมหาไพรัตน์ สิทฺธิธารี

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระมหานครินทร์ กิตฺติเมธี

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระวัฒนา สุวฑฺฒโน

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระสมทรง ถิรปุญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระเสรี ฐานิสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระสมสี ปริปุณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-07-2565

พระวินัย สติสมฺปนฺโน

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

พระกิตติศักดิ์ สุเมโธ

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

พระผดุงเกียรติ ผลกิตฺติโก

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

พระพัชรพล ฐานิสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

พระสมชาย จนฺทวณโณ

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

พระเฉลิมวุฒิ วุฑฺฒิเมธี

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-12-2565

สามเณรวีรวัฒน์ ธรรมมัง

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

สามเณรไกรวิชญ์ นวลสาย

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

สามเณรธนบูลย์ โพธิ์ตะนัง

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

สามเณรอดิศักดิ์ ศรีอรัญ

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

สามเณรเตชสิทธิ์ แก้วจันทร์

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

สามเณรธีรศักดิ์ มหาโพธิ์

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

พระมหาดนัยธร ติกฺขปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-08-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น