สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code สระกำแพงใหญ่

รหัสวัด
04331001001

ชื่อวัด
สระกำแพงใหญ่

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2368

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 10 เดือน กรกฎาคม ปี 2527

ที่อยู่
บ้านสระกำแพงใหญ่

เลขที่
138

หมู่ที่
1

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
สระกำแพงใหญ่

เขต / อำเภอ
อุทุมพรพิสัย

จังหวัด
ศรีสะเกษ

ไปรษณีย์
33120

เนื้อที่
16 ไร่ - งาน 63 ตารางวา

Line
opaso

Facebook
คลิกดู

มือถือ
0934487337

อีเมล์
oj2550@hotmail.com

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดประชารัฐสร้างสุข
เป็นวัดท่องเที่ยว
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ
เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เป็นศูนย์การเรียน
เป็นพิพิธภัณฑ์
เป็นอุทยานการศึกษาในวัด
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)
เป็นสวนสมุนไพร
เป็นมูลนิธิมูลนิธิศิษย์หลวงพ่อเครื่อง
เป็นสมาคมสมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง
เป็นชมรมยุวพุทธศิษย์หลวงปู่เครื่อง

จำนวนเข้าดู : 87

ปรับปรุงล่าสุด : 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 18:01:27

ข้อมูลเมื่อ : 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 20:33:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดสระกำแพงใหญ่
วัดสระกำแพงใหญ่  เป็นพระอารามราษฎร์  ตั้งอยู่บ้านกำแพงใหญ่  หมู่ ๑  ตำบลสระกำแพงใหญ่    อำเภออุทุมพรพิสัย   จังหวัดสรีสะเกษ
อาณาเขตของวัด จรดถนนซึ่งเชื่อมระหว่างตลาดอุทุมพรพิสัย  กับ  เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘๐ สุรินทร์ – อุบล
ทิศใต้   จรดเขตทางรถไฟสาย  นครราชสีมา – อุบลราชธานี  ระหว่าง   กม.ที่  ๔๙๔
ทิศตะวันออก   จรดเขตทางรถไฟ   และที่ส่วนของราษฎร
ทิศตะวันตก   จรดหมู่บ้าน
          มีเนื้อที่ทั้งสิ้น  ๑๖  ไร่ –  งาน   ๖๓   ตารางวา
โบราณสถานและสิ่งก่อสร้างภายในวัด
๑.เป็นที่ตั้งปราสาทหิน  วัดสระกำแพงใหญ่  สร้างด้วยหินศิลาแลง  รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  กว้าง  ๖๐  ม. ยาว  ๘๐  ม.  ภายในบริเวณกำแพง  เป็นที่ตั้งปราสาท  ๖  หลัง  ปราสาททุกหลังชำรุด
๒.กุฏิ  เป็นที่จำวัตรปฏิบัติของ   พระ  เณร  ทั้งใหญ่และเล็ก
๓. ศาลาการเปรียญ  ขนาดกว้าง  ๑๓  ม.  ยาว  ๒๗  ม.  ๑  หลัง 
๔.วิหารลอย  เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อนาคปรก  และพระพุทธบาทจำลอง
๕. หอระฆัง
๖. เมรุฌาปนกิจ
๗. ศาลาพักศพ
๘. พระอุโบสถ  กว้าง ๑๑.๔๐ ม.  ยาว  ๒๖.๒๐  ม. สูง  ๒๔.๗๖ ม.   รอบบริเวณวัด  สร้างกำแพงวัด  ก่อด้วยอิฐถือปูน  รอบทุกด้าน  มีประตูเข้า  ๔ ด้าน
๙. โรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา  เป็นที่ศึกษาหาความรู้ของพระภิกษุสามเณร
การศึกษา
          วัดแห่งนี้เป็นสำนักเรียนปริยัติธรรมและบาลี  และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดสอนโรงเรียนผู้ใหญ่  ระดับ ๓  ม.๑ – ๓  ระดับ ๔   ม.๔ – ๖ แก่พระภิกษุสามเณร
พระพุทธรูปที่สำคัญ  พระพุทธสำคัญของวัดสระกำแพงใหญ่  คือ พระพุทธรูปปรางค์นาคปรก  เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่  สร้างด้วยหินเขียว  สวยงามมาก  และยังศักดิ์สิทธิ์มาก  เก่าแก่ถึง  ๑,๐๐๐  กว่าปี  มีขนาดหน้าตักกว้าง  ๑๓  นิ้ว  จากฐานถึงพระเกศ  ๑๕  นิ้ว  ขุดพบที่ฐานปราสาทองค์ที่  ๑  เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๙๒  เข้าใจว่าสร้างพร้อมกับปราสาทหินวัดสระกำแพงใหญ่
หมู่บ้านที่ตั้งวัด  วัดตั้งอยู่ที่บ้านสระกำแพงใหญ่  ตำบลกำแพง   เป็นหมู่บ้านเก่าแก่  มีขนาดใหญ่ มีประชากรหนาแน่น  แบ่งการปกครองออกเป็น  ๔  หมู่บ้าน
การคมนาคม  การคมนาคมทางบกจากกรุงเทพ ฯ  ถึงวัดสระกำแพงใหญ่ได้โดยสะดวก  ๒  ทาง  คือ
๑.      ทางรถยนต์  มีทางหลวงแผ่นดินจากกรุงเทพฯ   สู่สุรินทร์  และเส้นทางหลวงแผ่นดิน  ๒๐๘๐  สุรินทร์ - ศรีสะเกษ  -  อุบลราชานี  ผ่านวัดสระกำแพงใหญ่ ก.ม.  ๗๖
๒.      ทางรถไฟ  สายนครราชสีมา - อุบลราชธานี   ลงรถไฟที่สถานีอุทุมพรพิสัย  แล้วย้อนกลับด้านทิศตะวันตก  ๑  กิโลเมตร
บุคคลสำคัญและผู้มีเกียรติที่ได้เข้ามาเที่ยวชมวัด     มีบุคคลสำคัญและผู้มีเกียรติที่มาเยี่ยมชมวัดสระกำแพงใหญ่  ที่ควรกล่าวนามและพระนาม  คือ
๑.      สมเด็จกรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ   ทรงเสด็จ  เมื่อวันที่  ๒๖ เมษายน  พ.ศ.๒๔๙๘ 
๒.      อธิบดีกรมศิลปากร  ไปเยี่ยมเมื่อวันที่  ๒๖  ตุลาคม  ๒๔๙๙ 
๓.      พลโทถนอม  กิตติขจร  นายกรัฐมนตรี   ( ยศขณะนั้น )  ไปเยี่ยมเมื่อวันที่  ๑๗  กุมภาพันธ์  ๒๕๐๑  ได้บริจาคเงินบำรุงวัด  ๕๐๐  บาท
๔.      พันเอกแสง  จุลจาริตต์   ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย  ไปเยี่ยมเมื่อวันที่  ๗  กันยายน  ๒๕๑๓  ( ลงสมุดเยี่ยมไว้ )  สมเด็จพระมหาวีระวงศ์  เสด็จเยี่ยมทั้งสองพระองค์
๕.      คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันอาณาจักร  ( ว.ป.อ )  ไปเยี่ยมเมื่อวันที่  พ.ศ.๒๕๑๔
๖.      สมเด็จพระพิมลธรรม   ทรงเสด็จเยี่ยม  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๓
๗.      สมเด็จพระโอรสาธิราชเสด็จพระราชดำเนินทรงดำเนินทรงยกช่อฟ้า  และตัดลูกนิมิต  ๘  มกราคม  ๒๕๒๙
สัญลักษณ์ที่ใช้กับลูกเสือจังหวัดศรีสะเกษ
     จังหวัดศรีสะเกษได้เอารูปปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่    เป็นเครื่องหมายติดที่ชายผ้าพันของคอลูกเสือจังหวัดศรีสะเกษ
 ชมลวดลายทับหลังในปราสาทขนาดใหญ่
- ควรนำกล้องส่องทางไกลไปด้วย
เป็น ปราสาทขนาดใหญ่ มีศิลปกรรมที่ควรชมหลายอย่าง เช่น ทับหลังที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ถึงหกชิ้น พระพุทธรูปนาคปรกที่ขุดพบในบริเวณปราสาท ซึ่งมีพุทธลักษณะงดงาม ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในมณฑปสร้างใหม่
ที่ตั้ง วัดสระกำแพงใหญ่ บ้านกำแพง ต. สระกำแพง อ. อุทุมพรพิสัย จ. ศรีสะเกษ
          ประวัติ ปรากฏ จารึกที่เสาซุ้มประตูโคปุระด้านหน้า เป็นอักษรขอม กล่าวว่า กมรเตงอัญศิวทาส ได้ซื้อที่ดินอุทิศถวายเทวาลัยของพระอิศวร (พระศิวะ) ในมหาศักราช 694 (พ.ศ. 1585) และรายละเอียดการทำงานของข้าทาสบริวารในเทวาลัยแห่งนี้ จึงสันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย คือนับถือพระศิวะเป็นเทพเคารพสูงสุดมาแต่เดิม ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนสถาน นิกายมหายานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ทรงเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา และเปลี่ยนปราสาทหินให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแทนศิวลึงค์ ทั้งนี้ได้พบหลักฐานเป็นพระพิมพ์พระพุทธรูปปางสมาธิตามคติพุทธ นิกายมหายานที่ปรางค์ประธาน
 

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : (150.65 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : (128.15 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : (58.28 kb)

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

ยังไม่มีข้อมูลพระ

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น