สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดสุพรรณรัตน์(พราน)

รหัสวัด
04330803001

ชื่อวัด
วัดสุพรรณรัตน์(พราน)

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2336

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2526

ที่อยู่
-

เลขที่
-

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
พราน

เขต / อำเภอ
ขุนหาญ

จังหวัด
ศรีสะเกษ

ไปรษณีย์
33150

เนื้อที่
- ไร่ - งาน - ตารางวา

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)
เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเข้าดู : 43

ปรับปรุงล่าสุด : 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 08:09:54

ข้อมูลเมื่อ : 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 20:33:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

เป็นการเรียบเรียงและสำนวนของพระเทพวรมุนี
                  อดีตเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ(พระมหาวิบูลกัลยาโน)ผู้เขียน
  เมื่อชาวบ้านได้ตั้งบ้านเรือนมั่นคงแล้ว ชาวบ้านพรานเหนือและพรานใต้ได้สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ทำบุญให้ทานและประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยตั้งขึ้นในระหว่างกลางของบ้านพรานเหนือกับพรานใต้ เรียกกันว่า วัดบ้านพราน และมีวัดเดียวเท่านั้นในเขตตำบลพราน เพราะวัดในหมู่บ้านอื่นๆยังไม่มี หรือมี แต่ร้างไป ต่อมาเมื่อพระภิกษุจากประเทศเขมรต่ำ(กัมพูชา)  ขึ้นมาสร้างวัดทุ่งเลน ได้ตั้งชื่อว่า  วัดสุพรรณรัตน์ และเรียกวัดบ้านพรานว่า วัดสุวรรณคีรี  เพราะอยู่ใกล้ภูเขาฝ้าย  ( สุวรรณ = ทอง    คีรี =  ภูเขา ) ครั้นอยู่ต่อมาไม่นาน
วัดบ้านทุ่งเลนก็ร้างไป  จึงเอาชื่อมาตั้งวัดบ้านพรานว่า วัดสุพรรณรัตน์ มาจนทุกวันนี้
(สมัยพระปลัดบุญเหลือ สมฺมาทิฏฐิโก )
  วัดสุพรรณรัตน์หรือวัดบ้านพราน  ตามหลักฐานสำรวจขึ้นทะเบียน  ตั้งหรือสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2336 (200 ปี  ถ้ารวมถึงปี 2565 ก็เป็น229 ปี )  ครั้งแรกเนื้อที่บริเวณวัดเล็กๆ ประมาณ 4-5 ไร่  นั่นคือบริเวณต้นโพธิ์ใหญ่ 2 ต้นในปัจจุบันนี้ กุฏิที่อยู่อาศัยก็ทำเป็นแบบกระท่อม มุงด้วยหญ้า สร้างศาลาพอใช้เป็นที่ทำบุญ และใช้เป็นที่เรียนหนังสือ ของลูกหลานชาวบ้านด้วย ในช่วงนั้นพระภิกษุรูปใดเป็นหัวหน้าหรือสมภารเจ้าวัดก็ไม่อาจทราบได้
    ต่อมาบ้านเมืองหนาแน่นขึ้น มีประชากรเพิ่มขึ้น  ทางวัดจึงขยับขยายเนื้อที่วัดออกไปทางทิศตะวันตกอยู่เรื่อย ๆ  ซึ่งเป็นป่าดง การก่อสร้างเสนาสนะก็ขยับขยายไปทางทิศตะวันตกตามลำดับ  และมีการผลัดเปลี่ยนเจ้าอาวาสมาแล้วประมาณน่าจะถึง 20 รูป  บางรูปอยู่ได้เพียงพรรษาเดียวก็จากไป บางรูปอยู่ ๒-๓ปี ก็จากไป  วัดสุพรรณรัตน์ถือว่าเป็นวัดศูนย์กลางของตำบลพราน
    คุณยายกุหลาบ ศรแก้ว (แม่ของกำนันตรีเพชร ศรแก้ว ) ซึ่งอายุมาก คือ ๘๐ กว่าปี (พ.ศ.๒๕๑๑ )  ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อบิดามารดาพาอพยพจากขุขันธ์ มาอยู่บ้านพราน
มีพระภิกษุที่ชาวบ้านเคารพนับถือมาปกครองวัดสุพรรณรัตน์ ๓ รูป  คือ
    ๑  จะกูพา     (เจ้ากูพา)
    ๒.จะกูแก้ว
    ๓.จะกูพาง
(ในสมัยรัชกาลที่ ๔  พระองค์เรียกพระภิกษุว่า เจ้ากู  พสกนิกรจึงเรียกตามนี้)
อัฐิหรือกระดูกของพระเถระทั้ง ๓ รูปนี้ ได้บรรจุใว้ในเสาเส (เสาไม้แก่น) ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า จะเริ๊ก  จนผุพังจึงได้ย้ายเอามาก่อหินหุ้มใว้ที่ทิศเหนืออุโบสถจนทุกวันนี้
  ครั้นเมื่อสิ้นพระเถระทั้ง ๓ รูปไปแล้ว  วัดสุพรรณรัตน์มีแต่ทรงกับทรุด เพราะไม่มีสมภารเจ้าวัดเป็นหลักเป็นฐาน   บางครั้งเกือบจะเป็นวัดร้างไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย
   ประมาณ พ.ศ.  2454- 2464 พระครูธรรมจินดามหามุนี (นุต โคตมวงศ์) ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่าหลวงตาเทวราช หรือพระครูเทวราช เพราะราชทินนามเดิมว่า พระครูเทวราชกวีวรญาณ ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมจินดามหามุนี  เจ้าคณะจังหวัดขุขันธ์
(ท่านเป็นคนบ้านพรานใต้) ได้ส่งพระสมุห์เนตร จนฺทาโภ จากอำเภอขุขันธ์ มาอยู่วัดบ้านพราน
   พระสมุห์เนตร เป็นที่ไว้วางใจจากพระครูธรรมจินดามหามุนีมาก ได้รับมอบหมายให้ช่วยงานคณะสงฆ์ทางด้านตะวันออก เพราะสมัยโน้นเขตจังหวัดขุขันธ์ปกครองไปถึงท้องที่อำเภอเดชอุดม - อำเภอน้ำยืน -อำเภอน่าจะหลวย   เล่ากันว่า พระสมุห์เนตรเป็นคนรูปร่างบอบบาง
 ขาว  มีจริยามารยาทละมุลละม่อมมีความรู้ความฉลาดพอสมควรจึงเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป   พระสมุห์เนตรได้นำความเจริญมาสู่วัดบ้านพรานและชาวบ้านพรานเป็นอย่างมาก  เช่นนำชาวขุขันธ์มาเลื่อยไม้ ฝึกหัดให้คนบ้านพรานรู้จักเลื่อยไม้และจักสาน อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านให้รู้หนังสือไทย และได้นำชาวบ้านปั้นอิฐสร้างโบสถ์ขึ้น เป็นโรงอุโบสถแบบโบราณฐานก่ออิฐถือปูน เสาไม้แก่น มุงด้วยสังกะสี และได้ให้ช่างซึ่งเป็นคนญวนสร้างพระพุทธรูปเป็นพระประธานขนาดใหญ่ ด้วยอิฐถือปูน ประจำอุโบสถ  ท่านจ้างให้คนญวนสร้างถึง ๓ องค์  องค์ที่ ๑ ประจำใว้อุโบสถวัดเขียนบูรพาราม ขุขันธ์  โดยก่อหุ้มเสริมองค์เดิม จึงใหญ่มาก  องค์ที่ ๒ สร้างประจำอุโบสถวัดสุพรรณรัตน์  เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จจึงได้ย้ายองค์เดิม โดยขยับเลื่อนไปด้านหลังประมาณ ๕ เมตร แล้วใช้เหล็กแม่แรงยกสูงขึ้น ตกแต่งให้สวยงามดังที่เห็นอยู่เวลานี้   องค์ที่ ๓ สร้างประจำอุโบสถวัดบ้านรุง ตำบล   รุง อำเภอกันทรลักษ์
      วัดสุพรรณรัตน์นี้ได้ทำสังฆกรรมผูกพัทธสีมา เมื่อประมาณ พ.ศ.2470   ต่อมาโรงอุโบสถถูกวาตภัยลมพัดเสียหาย ถึง ๒ ครั้ง  ครั้งหลังสุด   เสาอุโบสถล้มพาดพระศอ (คอ)พระพุทธรูปเกือบหลุดจากองค์ จนกลายเป็นโรงอุโบสถร้าง     
    ในช่วงหลังๆ พระสมุห์เนตร ไปๆ มาๆ ระหว่างขุขันธ์กับบ้านพราน และท่านมักจะมีโรคประจำตัวอยู่อย่างหนึ่ง คือโรคลมชัก  (ลมบ้าหมู)  ประกอบกับมีพระนักเลงรูปหนึ่งที่วัดสุพรรณรัตน์ คอยเบียดเบียนท่านอยู่เรื่อย ในที่สุด  ท่านก็ต้องเดินทางกลับขุขันธ์   มีคนเชื่อถือได้เล่าให้ฟังว่า ท่านต้องหนีศัตรูภายในพรรษา  ตอนนั้นน้ำกำลังขึ้นมาก  พอไปถึงห้วยทา พวกชาวบ้านตาปรกทำสะพานให้ท่านข้าม  (สะพานไม้ลำลอง) ท่านไปปกครองอยู่ที่วัดเขียนบูรพาราม ติดกับตลาดอำเภอขุขันธ์ และได้มรณะภาพที่นั่น.
    หลังจากพระสมุห์เนตรจากไปแล้ว  วัดบ้านพรานก็กลับสู่สภาพเดิมอีก คือมีแต่ทรงกับทรุดเรื่อยมา เพราะหาพระเถระหรือหาเจ้าอาวาสที่เป็นแก่นสารไม่ได้   เพียงปีสองปีก็เปลี่ยนเจ้าอาวาสแล้ว เสนาสนะต่างๆ ก็ไม่ได้สร้างเพิ่มเติมอะไร สนามบริเวณวัดก็สกปรกรกรุงรัง พอถึงฤดูแล้งเกือบไม่มีพระเณรอยู่วัด
    จนถึงพ.ศ.๒๔๙๒ พระปลัดบุญเหลือ สมฺมาทิฏฐิโก  (ถุงจันทร์) ลูกหลานคนบ้านพรานนี่เอง
ได้เป็นเจ้าอาวาส และต่อมาได้เป็นเจ้าคณะตำบลพรานด้วย เป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้าพอสมควร ได้นำพระภิกษุสามเณรเลื่อยไม้ สร้างกุฏิขนาดดี ๓ หลัง (รื้อสร้างใหม่แล้ว ๒ หลัง )ประกอบกับอยู่ในสมัยกำนันตรีเพชร ศรแก้ว จึงได้ร่วมมือกันพัฒนาตำบลพรานหลาย ๆ ด้าน
    วัดบ้านดอนข่าและวัดบ้านอารางก็มีขึ้นในยุคนี้  ต่อมาพระปลัดบุญเหลือได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ดูเหมือนจะเป็นพระอุปัชฌาย์รูปแรกของตำบลพรานด้วย
    พระปลัดบุญเหลือ นอกจากเป็นคนมีความคิดใหญ่แล้ว ยังเป็นคนมือเติบด้วย คือใช้จ่ายเงินเป็นเบี้ย  เป็นสปอต กล้าได้กล้าเสีย มีจิตใจกว้างขวาง เท่าไหร่เท่ากัน แทนที่จะได้อยู่ในผ้ากาสาวพัตร์ตลอดไป  แต่หมดบุญต้องสึกออกไป  ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ 
   ต่อมาวัดสุพรรณรัตน์ก็เกือบจะเป็นวัดร้างไปอีกครั้งหนึ่ง มีพระหลวงตา (ทองหยิบ) กับ สามเณรจำริด พันธ์ชาติ อยู่เฝ้าวัด  สถานภาพของวัดเสื่อมโทรมลงตามลำดับ สนามบริเวณวัดสกปรกรกรุงรัง เครื่องใช้ไม้สอยในวัดชำรุดเสียหายหมด ใครอยากจะกินมะพร้าว มะม่วง ในวัดก็ขึ้นกินเลย เหมือนเป็นวัดร้างนั่นเอง
   ในปี ๒๕๐๙ นี่เอง ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งพระอธิการทน ขนฺติโก เจ้าอาวาสวัดบ้านทุ่งเลนให้เป็นเจ้าคณะตำบลพราน (เจ้าอธิการทน ขนฺติโก เป็นคนบ้านตาตา- โพธิ์กระสังข์)
    คณะกรรมการชาวบ้านพรานนำโดยนายพลอย พันธ์ชาติ ซึ่งเป็นผู้มีฐานะดีเป็นชาวบ้านพรานใต้ เห็นว่าหลวงตาทองหยิบ ไม่มีความเหมาะสมและไม่สามารถจะนำความเจริญมาสู่วัดและบ้านได้ จึงพากันไปร้องเรียนหรือขอร้องต่อพระครูสิริกันทรลักษณ์ (ตอน นิโรโธ) เจ้าคณะอำเภอขุนหาญเพื่อให้จัดหาพระภิกษุที่เหมาะสมไปอยู่วัดสุพรรณรัตน์ เพราะสถานภาพของวัดสุพรรณรัตน์เสื่อมโทรมเต็มทีแล้ว
     ในเรื่องนี้พวกชาวบ้านได้เสนอให้นิมนต์พระรูปนั้นพระรูปนี้แก่เจ้าคณะอำเภอ แต่เจ้าคณะอำเภอไม่เห็นชอบด้วย โดยอ้างว่า  บ้านพรานเป็นหมู่บ้านใหญ่ แบ่งกันเป็นหมู่เป็นคุ้ม มีปัญหาทั้งด้านการปกครองและด้านศีลธรรม จะต้องได้เจ้าอาวาสที่มีความรู้ความเข้มแข็งและเป็นผู้มีความเสียสละอดทนจริงๆ ท่านจึงรับปากกับชาวบ้านว่าให้ใจเย็น ๆ ปล่อยใว้อย่างนั้นก่อน ท่านจะหาพระไปเป็นเจ้าอาวาสให้เอง
      ประมาณต้นเดือนเมษายน ๒๕๐๙ พระครูสิริกันทรลักษณ์ เจ้าคณะอำเภอขุนหาญ ได้นิมนต์พระมหาวิบูลย์ กลฺยาโณ   ซึ่งตอนนั้นยังอยู่วัดสวนพลู  ถนนเจริญกรุง บางรัก กรุงเทพมหานคร ไปพบ ได้พูดจาขอร้องให้ไปอยู่วัดสุพรรณรัตน์ หรือวัดบ้านพราน ทีแรก พระมหาวิบูลย์ปฏิเสธ เพราะยังเรียนหนังสืออยู่  อีกอย่างหนึ่งไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักคนบ้านพรานสักคนเลย ภาษาพูด (ภาษาเขมร) ก็ไม่รู้สักคำ แต่เจ้าคณะอำเภอขุนหาญไม่ยอม ต้องเอาให้ได้ ท่านมีหนังสือเป็นทางการผ่านเจ้าคณะจังหวัดไปตามลำดับ
      ก่อนเข้าพรรษา ปี ๒๕๐๙ หนังสือราชการสงฆ์ไปถึงพระมหาวิบูลย์จริงๆ ซึ่งพระมหาวิบูลย์ไม่มีทางปฏิเสธได้ ก่อนเข้าพรรษาเพียง ๘ วัน พระมหาวิบูลย์จึงเดินทางจากกรุงเทพมหานคร โดยขบวนรถไฟด่วนกรุงเทพ-ศรีสะเกษ
      มีเรื่องน่าหัวเราะควรเขียนใว้ในตอนนี้ด้วย คือ เมื่อพระมหาวิบูลย์และคณะลงที่สถานีรถไฟศรีสะเกษ แต่เพราะค่าที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน จึงไม่รู้ว่าใครเป็นใคร   แต่โชคดี(บุญเข้าข้าง มิฉะนั้นลำบากพอสมควร) คือมีพระอาจารย์สุเรียญ ปริสุทโธ(เป็นคนบ้านละลาย กันทรลักษ์) ตามขึ้นไปส่งด้วย  ท่านจึงได้แนะนำให้รู้จักกัน   แล้วพากันไปรายงานตัวต่อเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ที่วัดมหาพุทธาราม จึงเดินทางต่อไปฉันเพลที่บ้านสำโรงระวี ฉันเสร็จนั่งรถยนต์ไปถึงปากทางเข้าบ้านกระแซงใหญ่  พวกชาวบ้านพรานได้เอาเกวียนไปรอรับ ๑๔ เล่ม
แล้วนั่งเกวียนผ่านป่าดงใหญ่แบบทุลักทุเลที่สุด กว่าจะถึงวัดบ้านพรานก็จวนค่ำมืด
      ก่อนหน้า  ที่พระมหาวิบูลย์จะมาอยู่วัดบ้านพรานประมาณ ๑๕ วัน  เจ้าคณะอำเภอขุนหาญได้สั่งการให้เจ้าคณะตำบลพราน จัดหาแบ่งพระภิกษุสามเณรจากวัดบ้านทุ่งเลนและวัดบ้านม่วงแยก ไปอยู่จำพรรษากับพระมหาวิบูลย์ ประมาณ ๑๑ รูป เพราะตอนนั้นพระภิกษุสามเณรที่วัดบ้านพรานไม่มีแล้ว 
      พระมหาวิบูลย์จึงถือว่าเป็นเจ้าอาวาสวัดสุพรรณรัตน์ตั้งแต่เข้าพรรษา ปี ๒๕๐๙ ถึงพ.ศ.๒๕๓๑   และในปี พ.ศ.๒๕๑๐ (ปลายปี) เจ้าคณะตำบลพราน (เจ้าอธิการทน) ได้ลาสิกขา
คณะสงฆ์จึงได้มอบหมายให้พระมหาวิบูลย์ทำหน้าที่ เจ้าคณะตำบลพรานอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
และทำหน้าที่เจ้าคณะตำบลพรานอยู่หลายปี จึงได้มีการแต่งตั้งเจ้าคณะตำบลพรานรูปปัจจุบันคือ พระครูปัญญาวัชรคุณ หรือเจ้าอธิการวัชรินทร์ อธิปัญโญ วัดดอนข่า(ปัจจุบันปี 2565ท่านเกษียนอายุแล้ว  (โดยพระสมุห์คีรี รัตนสาโร เป็นเจ้าคณะตำบลพรานแทน)
    เมื่อพระมหาวิบูลย์ไปอยู่วัดบ้านพรานใหม่ๆ มีเสียงพูดกันทั้งพระสงฆ์และญาติโยมหลายๆอย่าง บางคนพูดว่า พระมหาวิบูลย์ต้องแหกพรรษาแน่ๆ (หนีในพรรษา)  เพราะสถานะภาพของวัดอย่างนี้จะอยู่ได้อย่างไร ภาษาเขมรก็ไม่รู้กับเขาเลยสักคำ อาหารการขบฉันก็แสนลำบาก การคมนาคมไปมาต้องเดินเท้าหรือนั่งเกวียน บางคนพูดว่าออกพรรษาแล้วก้ต้องไป เสียงพูดดังกล่าวผิดหมด เพราะพระมหาวิบูลย์อยู่ประจำวัดบ้านพราน ถึง ๒๐ ปี ได้นำพาพัฒนาวัดและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ พระมหาวิบูลย์ได้รับตำแหน่งและได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้น ๆ อย่างรวดเร็ว จนทำให้วัดสุพรรณรัตน์เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ในปี พ.ศ.๒๕๒๙  ครั้นปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาดีเด่น  อาจจะกล่าวได้ว่า วัดสุพรรณรัตน์เป็นวัดที่ได้รับการพัฒนาสมบูรณ์แบบที่สุด.(จบข้อความของพระเทพวรมุนี)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : (87.88 kb)

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระอธิการสุโข กตปุญฺโญ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 30-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 30-07-2565

พระอนุรักษ์ จนฺตจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 30-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 30-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น