สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดอาวอย

รหัสวัด
04330505003

ชื่อวัด
วัดอาวอย

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2484

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 12 เดือน มีนาคม ปี 2508

ที่อยู่
บ้านอาอวย

เลขที่
150

หมู่ที่
2

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
โสน

เขต / อำเภอ
ขุขันธ์

จังหวัด
ศรีสะเกษ

ไปรษณีย์
33140

เนื้อที่
11 ไร่ - งาน 41.41 ตารางวา

คุณสมบัติวัด

เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เป็นพิพิธภัณฑ์
เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเข้าดู : 55

ปรับปรุงล่าสุด : 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 18:48:28

ข้อมูลเมื่อ : 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 20:33:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

สาเหตุการสร้างวัด
            ด้วยชาวบ้านอาวอย เดิมจากบ้านโสน ชอบปฏิบัติธรรม ทำบุญให้ทาน จึงได้มีดำริการสร้างวัดขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๘0  คนเฒ่าแก่พ่อแม่ปู่ย่า ตา ยาย ชักชวนหาที่ดินสร้างวัด เนื่องจากการเดินทางไปร่วมทำบุญตักบาตร ไปถือศีลประจำวันพระที่วัดเก่า คือวัดบ้านโสนลำบาก ถนนหนทางลำบาก ดังนั้น ผู้ใหญ่ทองคำ  จินดาวงศ์ และต่อมาได้เป็นกำนันกำนันทองคำ จินดาวงศ์ จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกับชาวบ้านเพื่อดำเนินการสร้างวัดขึ้น โดยมีคุณยายเนียม  อัจนาพร้อมครอบครัว และยายเข็มมา น้อยสงวน พร้อมครอบครัว บริจาคที่ดินสร้างวัด 6 ไร่ และท่านยังแบ่งที่ดินให้เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านอาวอย อีกแปลงหนึ่ง หลังจากได้ที่ดินสร้างวัดแล้ว ลงมือปรับพื้นที่ ถากถางป่าไม้ขุดปรับดินให้สม่ำเสมอกันเพื่อสร้างเป็นกุฏิศาลา เมื่อปรับดินเสร็จ พ่อสุข มานะรถ ได้บริจาคบ้านให้หนึ่งหลัง ที่บ้านละลม ชาวบ้านจึงไปรื้อบรรทุกเกวียนมาสร้างวัด เป็นกุฏิและศาลาการเปรียญหลังแรก  
          อนึ่ง กำนันผาย  มาได้ที่บ้านกะปู เขตเมืองสังขะ  ได้มามีภรรยาอยู่บ้านอาวอยปฏิบัติตนบวชถือศีลแปดพร้อมพ่อคูณ สินธุการ   เมื่อสร้างวัดแล้ว ท่านก็ไปนิมนต์หลวงตากฤษ์พร้อมหลวงตามาจากวัดบ้านแทง เข้ามาอยู่จำพรรษา ตลอดระยะเวลาที่สร้างวัด ก็มีเจ้าอาวาสแบบชาวบ้านและพระสงฆ์ตั้งกันเอาเองว่าเป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านอาวอยจะเรียกว่า (หม่อมใหญ่หรือคูบาใหญ่)  ในขณะที่ดำเนินการสร้างวัดขึ้นนั้นก็ได้นำพระพุทธรูปปางสมาธิมา 1 องค์ขนาดหน้าตัก กว้าง  29   นิ้ว สูง 37   นิ้ว ลักษณะดินเผามีไม้ไผ่เป็นโครงนำมาจากที่ใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด  ในขณะสร้างศาลาวัดนั้น ก็ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้านและพระสงฆ์ โดยพ่อกำนันทองคำ จินดาวงศ์ มอบหมายให้พ่อสารวัตรกิ่ง  ธรรมบันเทิง เป็นผู้นำในการสร้างพระพุทธรูป ขึ้นมีพระอาจารย์ฝาง  พระอาจารย์วัน พระอาจารย์บุญศรี ร่วมกันปั้ม เป็นพระพุทธรูปดินผสมปูนปั้น ปางสมาธิ  หน้าตัก 39 นิ้ว สูง   49 นิ้ว มีลักษณะปูนปั้น ตั้งไว้ในอุโบสถหลังเดิมที่เป็นโครงไม้โปร่ง ยกพื้นสูง พอสร้างอุโบสถหลังใหม่ จึงได้นำลงมาประดิษฐานไว้ที่หอสรงปัจจุบันนี้
          ส่วนพระพุทะรูปองค์เล็กได้ตั้งประดิษฐานไว้บนอุโบสถเก็บไว้อย่างดี จะเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนเข้ากราบไหว้ ในเทศกาลสำคัญเท่านั้น
เนื่องจากพระสงฆ์ในวัดบ้านอาวอย ชาวบ้านจะให้ความเคารพมาก ใกล้ชิดสนิทสนม จึงทำให้พระที่อยู่จำพรรษารู้สึกคุ้นเคยผูกพันธ์เหมือนญาติ จึงได้ลาสิกขาอยู่บ่อยครั้ง 
                เมื่อปี พ.ศ.2543 คณะพระสงฆ์และแม่ยายพ่อพราหมณ์ กรรมการหมู่บ้านอาวอยปรึกษาหารือกันแล้วได้ไปขออาราธานา พระปลัดชัยวัฒน์ อริยวํโส พธบ.,ปธ.๓,น.ธ.เอก จากพระเทพวรมุนี เจ้าอาวาสวัดเจียงอีฯ เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ให้ออกมาจำพรรษาที่วัดอาวอย ขณะนั้นพระปลัดชัยวัฒน์ มีหน้าที่ ทำงานด้านวิชาการโรงเรียนศรีเกษตรวิทยาและงานเลขานุการเจ้าคณะตำบลเมืองใต้ ปฏิบัติงานสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ มาอยู่จำพรรษา เนื่องจากขาดเจ้าอาวาส    ดังนั้น ในวันที่ 1 มิถุนายน 2543   พระปลัดชัยวัฒน์ ได้รับมอบหมายจาก พระเทพวรมุนีเจ้าอาวาสวัดเจียงอีฯ เจ้าคณะจังหวัดให้ออกมาจำพรรษาและเริ่ม วางแผนงานในการพัฒนาวัดร่วมกับผู้นำหมู่บ้านกรรมการวัด  จากที่เสนาสนะชุดโทรมและยังไม่มีเสนาสนะที่มั่นคงแข็งแรงถาวร จะยังมีก็แต่อุโบสถกับเมรุที่ดูแล้วมั่นคงแข็งแรง นอกนั้นไม่ว่าจะเป็นกุฏิ ศาลาการเปรียญ ห้องน้ำห้องส้วม ก็ทำเฉพาะใช้ชั่วคราว ไม่ถาวร และได้ลงมือสร้างกุฏิครึ่งปูนครึ่งไม้สองชั้น
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2543 พอมาถึงก็ลงเสากุฏิเพื่ออยู่อาศัยเลย เพราะยังไม่มีที่อยู่ อาศัยอยู่ก็กุฏิโทรมๆ มีคางคกขึ้นไปมุดอยู่รอบที่นอน สังเกตได้ตอนกลางคืนที่มันออกมาหากินแมลง ยังรู้สึกตกใจว่ามันเข้าไปซ้อนนอนพักได้อย่างไร จึงเร่งรีบดำเนินการสร้าง
          เมื่อปี พ.ศ.2544 จึงได้ริเริ่มดำเนินการสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลขนาดใหญ่ยาว 22 เมตร กว้าง 14 เมตร ในปี พ.ศ.2546 สร้างกุฏิสองชั้น และปี พ.ศ. 2547 สร้างถนนคอนกรีตภายในวัด ยาว 396 เมตร ปี พ.ศ.2548 สร้างห้องน้ำ 10 ห้อง และสร้างกุฏิทรงไทย 1 หลัง  พ.ศ.2549 สร้างหอระฆัง 1 ห่อ  ปี และสร้างกุฏิ 2 ชั้น จำนวน ๑ หลัง พ.ศ.2552 สร้างศาลาใหญ่ สองชั้น กว้าง 22 เมตร ยาว 33 เมตร พ.ศ.2553 ได้ดำเนินการบูรณะอุโบสถ เมรุ ไปพร้อมกัน ได้ดำเนินการ พ.ศ.2554 สร้างหอสรง  พ.ศ.2555 สร้างศาลาทรงไทยประยุกต์ 1 หลัง และศาลาทรงไทยพักผ่อน 5 หลัง พ.ศ.2557 สร้างหอสถาบันภูมิปัญญาท้องถิ่นวัดอาวอย เก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชุมชนวัด บ้าน โรงเรียน พ.ศ.2558 บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถและเมรุ ทาสีใหม่ มุงหลังคาใหม่  สร้างเจดีย์ศรีปัตจันตทวาราราม เมื่อ ปี พ.ศ.2562
           เมื่อปี พ.ศ.2561 ได้ร่วมกับผู้ใหญ่ 4 หมู่บ้าน รองนายกบุญลัด กรรมการวัด ได้ซื้อที่ดินติดกำแพงวัดด้านตะวันออก 1 ไร่ 1 งาน 43 ตารางวา  จากนางถาวร  น้อยสงวน 800,000 บาท และปี พ.ศ.2562 ได้ซื้อที่ดิน 1 ไร่ 53 ตารางวาจาก ผอ.เทพรังสรรค์  สมัญญา ในราคา 800,000 บาท และในปี พ.ศ.2563 ได้ซื้อดินจากนางถาวร  น้อยสงวน  จากเดิมจนถึงถนนสายบ้านนกยูง 2 ไร่ 2 งาน 57 ตารางวา ในราคม 1,600,000 บาท
          ปัจจุบัน วัดบ้านอาวอยได้พัฒนาและได้ก่อสร้างถาวรวัตถุเป็นจำนวนมากโดยอาศัยความศรัทธาและการนำของเจ้าอาวาสแต่ละรูปพร้อมพระภิกษุสามเณรได้นำพาพุทธศาสนิกชน ประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม ประกอบกิจกรรม ตามประเพณีต่าง

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : (435.76 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : (2.97 mb)

รายการพระ

พระครูใบฏิกาตัน กิตติปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระจำลอง จารุวณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระศรีจันทร์ ขนฺติโก

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระพิน ฐานุตฺตโร

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระ สนองศักดิ์ สมาจาโร

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระธนกฤต โชติปญโญ

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

พระชิตพล พทํธญาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

พระประธานประจำเ...

ข้อมูลเมื่อ : 11-07-2565

เปิดดู 39 ครั้ง

พระประธานประจำศ...

ข้อมูลเมื่อ : 11-07-2565

เปิดดู 40 ครั้ง

พระประธานประจำศ...

ข้อมูลเมื่อ : 11-07-2565

เปิดดู 44 ครั้ง

พระประธานประจำห...

ข้อมูลเมื่อ : 11-07-2565

เปิดดู 39 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น