สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดด้ามพร้า

รหัสวัด
04340108002

ชื่อวัด
วัดด้ามพร้า

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2412

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2521

ที่อยู่
บ้านด้ามพร้า

เลขที่
๑๑๒

หมู่ที่

ซอย
-

ถนน
ชยางกูร

แขวง / ตำบล
ขามใหญ่

เขต / อำเภอ
เมืองอุบลราชธานี

จังหวัด
อุบลราชธานี

ไปรษณีย์
๓๔๐๐๐

เนื้อที่
๑๘ ไร่ - งาน ๘๔ ตารางวา

Facebook
คลิกดู

โทรศัพท์
๐๘๒-๘๖๘๖๐๓๘

คุณสมบัติวัด

เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ
เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

จำนวนเข้าดู : 86

ปรับปรุงล่าสุด : 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 12:38:06

ข้อมูลเมื่อ : 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 07:56:50

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

     วัดด้ามพร้า เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในตำบลขามใหญ่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕ กิโลเมตร คงจะสร้างขึ้นในยุคต้นของการสร้างเมืองอุบลราชธานี ตามเอกสารรับรองสภาพวัด วัดด้ามพร้าตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมายเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๑ รายละเอียดเกี่ยวกับวัดด้ามพร้ามีดังต่อไปนี้ 
๑.ประเภทวัดด้ามพร้า   เป็นวัดราษฎร์ และเป็นวัดที่สร้างมาเก่าแก่ตั้งแต่บ้านด้ามพร้า
๒. สถานที่ตั้ง   ตั้งอยู่ที่บ้านด้ามพร้า  เลขที่  ๑๑๒   หมู่ ๔  ถนนชยางกูร ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
๓. ชื่อวัด   ครั้งแรกมีชื่อว่า “วัดหนองด้ามพร้า” ต่อมาได้เปลี่ยน ชื่อเป็นวัดด้ามพร้า เนื่องจากมีผู้ถวายที่ดินเพิ่มเติม และเป็นประธานปฏิสังขรณ์ก่อสร้างเพิ่มเติมจึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่ง ตามผู้เป็นประธาน คือ  นายลา บุญเรือง (อดีตกำนันตำบลขามใหญ่)  จึงเปลี่ยนเป็น “วัดด้ามพร้า” ซึ่งเป็นในปัจจุบันนี้
๔.เขตและอุปจาระ  ตามหลักฐานของกรมการศาสนาที่ดินของวัด มีเนื้อที่ ๑๘  ไร่ ๘๔ ตารางวา มีเขตและอุปาจาระดังนี้ 
    ก. ทิศเหนือ         ติดถนนสาธารณะประโยชน์              ข. ทิศใต้    ติดถนนสาธารณะประโยชน์เข้าหมู่บ้านขามใหญ่
    ค. ทิศตะวันออก   ติดถนนภายในหมู่บ้านด้ามพร้า        ง. ทิศตะวันตก     ติดถนนชยางกูร
๕.ทรัพย์สินของวัด ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดตามโฉนดเลขที่ 63720 เล่มที่ 639  หน้า 20 มี 18 ไร่ 84 ตารางวา มีห้องแถวซึ่งเป็นอาคารพานิช 2 ชั้น ด้านทิศตะวันตกของวัดติดถนนชยางกูร  จำนวน 30 ห้อง
๖.ถาวรวัตถุ  เนื่องจากวัดด้ามพร้าเป็นวัดเก่า กุฏิที่พักสงฆ์ อุโบสถ ศาลา ซึ่งเป็นของดั้งเดิมทรุมโทรมจนหมดสภาพทางวัดจึงรื้อถอนและ สร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งถาวรวัตถุมีดังนี้ 
   ๑.อุโบสถ  สร้างแทนหลังเก่า สวยงาม มีกำแพงแก้วล้อมรอบได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
   ๒.กุฎี                        จำนวน  ๕  หลัง                               ๓.ศาลาหอฉัน                       จำนวน  ๑  หลัง
   ๔.มีห้องน้ำ              จำนวน  ๕ หลัง                                ๕.เมรุและศาลาบำเพ็ญกุศล   จำนวน   ๑   หลัง
   ๖.ศาลาการเปรียญ       จำนวน  ๑  หลัง                              ๗.ซุ้มประตู                          จำนวน  ๔  ซุ้ม
๗.สมบัติของวัด   
  ๑. พระพุทธปฏิมาประธานในอุโบสถ     ๒. พระพุทธปฏิมาประธานในศาลาการเปรียญ   ๓. หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ศรีมงคล พระพุทธรูปประจำวัด
๘. การศึกษาอบรมภายในวัด การศึกษาภายในวัดในสมัยแรก  พระภิกษุ สามเณรไปเรียนที่วัดทุ่งศรีเมือง  วัดมหาวนาราม และวัดมณีวนาราม  เหมือนวัดอื่นๆ และภายในวัดมีการสอนพระปริยัติแผนกธรรมเป็นประจำทุกปี  ภายหลังปี  ๒๕๕๐  ได้เป็นสำนักศาสนศึกษาแผนกธรรมบาลี  และเปิดเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา         ชื่อว่า “โรงเรียนศรีศาสนวิทยา” เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-๖) มีพระภิกษุ สามเณรมาเรียนทุกปีมากกว่า ๑๐๐ รูป
๙. ลำดับเจ้าอาวาส  เนื่องจากเป็นวัดสร้างมานาน มีเจ้าอาวาส ผลัดเปลี่ยนกันปกครองหลายรูปแต่ที่ปรากฏหลักฐานมีนามดังนี้
    ๑. ญาท่านส่วน  โอภาโส  เป็นเจ้าวาอาสรูปแรก นับจากวัดมีสถานะสมบูรณ์        ๒. ญาท่านสิงห์  กนฺตสีโล
    ๓. ญาท่านยืน   กิตฺติสาโร                                                                             ๔. ญาท่านผาย   กตปุญโญ
    ๕. พระครูวิจิตรศาสนการ (ศรี ธมฺมทินฺโน) พ.ศ. ๒๔๙๖ – ๒๕๔๖                       ๖. พระครูวิจิตรศาสนการ (พูล ถาวโร)  พ.ศ. ๒๕๔๖ – ปัจจุบัน
 
ความเป็นมาเชิงประวัติศาสตร์
     เนื่องจากบริเวณแห่งนี้เป็นที่สัปปายะ  มีน้ำท่าบริบูรณ์ สงบสงัด จึงปรากฏมีชีประขาวได้ปลูกเพิงอาศัยจำศีลภาวนาอยู่แห่งนี้ด้วย จะอยู่มานานเท่าไร่ก็ไม่ทราบ  ตอนนี้คงจะมีหมู่บ้านคนขยับขยายออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่ตามไร่ ตามนาอยู่แน่น ฉะนั้นชีประขาวผู้นั้นก็หายไป และอาจมีพระเจ้าพระสงฆ์ สัญจรมาพักเป็นการชั่วคราว  เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในแถบนั้นที่มีจำนวนมากขึ้นตามลำดับก็คงจะคิดถึงพระก็เลยได้อาราธนาพระมาจำพรรษามีโอกาสได้ทำบุญให้ท่านตามประเพณี  และเมื่อเกิดเป็นตายดีขึ้นก็จะได้ไม่ต้องไปนิมนต์พระไกลๆ เป็นการลำบาก ซึ่งเป็นปกติวิสัยของคนไทยทั่วๆไป “บ้านกับวัดต้องอยู่คู่กัน” เมื่อมีบ้านก็ต้องมีวัด  วัดหนองด้ามพร้าก็คงจะเกิดขึ้นในทำนองนี้ กุฏิสงฆ์และศาลาบำเพ็ญกุศลที่สร้างขึ้นก็คงจะเป็นกระท่อมมุงหญ้าเท่าที่หาได้ตามภูมิประเทศ จึงพอสรุปได้ในตอนนี้ก่อนว่า ผู้สร้างวัดด้ามพร้าหรือวัดหนองด้ามพร้า ก็เป็นแบบวัดราษฎร์ ศรัทธาธรรม คือวัดที่ประชาชนหรือผู้สร้างวัดด้ามพร้าหรือราษฎร์ร่วมใจกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นการประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตามเยี่ยงอย่างบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้เคยทำมา
      จากการบันทึกของ นายลา บุญเรือง ได้บันทึกไว้ก็เป็นกระท่อมหลังคาเล็กๆ ที่มุงด้วย หญ้าคาเป็นกุฏิชั่วคราว ไม่ถาวรทำไปตามความสามารถจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า วัดด้ามพร้าหรือวัดหนองด้ามพร้า ชาวบ้านพากันสร้างขึ้น และพระที่อยู่จำพรรษาก็คงมีอยู่ไม่กี่รูป  ซึ่งถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทางภาคอีสานมาช้านาน โดยเฉพาะเจ้าอาวาสรูปแรกท่านถึงชั้น “ญาท่าน” ก็คงจะสามารถประคับประคองวัดวาอารามและอบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้เข้าใจในประเพณีที่นิยมนี้ได้เป็นอย่างดีและเป็นพระนักปฏิบัติจนมีศรัทธาคนเลื่อมใสสร้างวัดได้
      ยุคต่อมา  ซึ่งเป็นยุคที่สองมีสิ่งจูงใจ  เนื่องจากเกิดอาเพศเป็นเหตุให้ต้องย้ายบ้านดอนกลางจากที่เดิมไปอยู่ทางทิศตะวันออกใกล้กับหนองด้ามพร้า  และหนองด้ามพร้าซึ่งดอกบัวขึ้นอยู่เต็มไปหมด  ดอกบัวบานสะพรั่งไปทั่วบริเวณหนองน้ำ  ชาวบ้านหนองด้ามพร้า บ้านดอนกลาง ก็ได้อาศัยน้ำหนองนี้ทำนา  ปลูกผัก  ทำสวน  ตีพร้า  ตีดาบ  เพราะเป็นสมัยสงคราม คือ พระวอ  พระตา  ผู้มาสร้างเมืองอุบลราชธานี  ต้องอาศัยหนองน้ำแห่งนี้  ชาวบ้านถือว่าเป็นหนองน้ำอันศักดิ์สิทธิ์  มีเทพยดาสถิตอยู่และจะจำแลงกายให้เห็นในวันพระเป็นประจำ  บางคนเล่าลือว่ามีพญานาค  ๒  ตัวพุ่งขึ้น  และตกลงในหนองน้ำแห่งนี้  จึงตั้งชื่อวัดให้สอดคล้องกับความเชื่อว่า “วัดหนองด้ามพร้า” ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับวัดบ้านปะอาวซึ่งมีการตีกระดิ่งและเครื่องทองเหลืองจนถึงปัจจุบันเพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นที่วัดหนองด้ามพร้าเมื่อใด ที่วัดปะอาวก็จะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกันจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันนี้รุ่นลูกหลานไม่ได้สืบทอดเจตนารมณ์ไว้เยี่ยงบรรพบุรุษที่เคยทำมา วัดหนองด้ามพร้าสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๖๙  และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่  เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง
ในยุคของคุณพ่อกำนันลา  บุญเรือง  เป็นผู้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมในการสร้างวัดครั้งที่  ๒  โดยมีชาวคณะบ้านด้ามพร้า  บ้านดอนกลาง  ได้ร่วมกันถากถางและปรับพื้นที่ดิน เปลี่ยนชื่อว่า     “วัดด้ามพร้า" เมื่อวันที่  ๑๘  มีนาคม  ๒๔๐๙  โดยมีผู้ร่วมสร้างวัดดังมีรายนามต่อไปนี้ คือ
๑. นายลา บุญเรือง     ซึ่งเป็นกำนันตำบลขามใหญ่                   ๒. นายบัว บุญเรือง
๓. นายผา เขียวชอุ่ม                                                               ๔. นายคูณ วสุรีย์
๕. นายต่อน ศรีสุราช                                                              ๖. นายบุญ สัมพะวงศ์
๗. นายบัว สัมพะวงศ์                                                              ๘. นายบุญ บุปผาวัลย์
๙. นายแปลง สัมพะวงศ์                                                          ๑๐. นายลุน เที่ยงธรรม   พร้อมด้วยชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
     เมื่อคณะดังกล่าว  มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากได้รักษาขนมธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษไว้จนถึงปัจจุบันนี้  นับว่าเป็นบุญมหาศาลขอให้ชนรุ่นหลังระลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษเอาไว้และรักษาพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
     อ้างอิงตามหลักฐานบันทึกย่อของคุณยายพุฒทา  คุณตาพุฒผา  อ่อนสาร  ที่บันทึกตามคำบอกเล่าซึ่งข้อเท็จจริงหลวงปู่พระครูวิจิตรศาสนการ (ศรี ธมฺมทินฺโน)  ได้เล่าให้ฟังซึ่งท่านเป็นลูกของนายผา  เขียวชอุ่ม  ผู้ซึ่งถวายผืนแผ่นดินสร้างเป็นวัด  คือ คุณตาลา  บุญเรือง และคุณตาผา เขียวชอุ่ม ได้บริจาคให้วัดด้ามพร้า

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : เอกสารพระราชทานวิสุงคามสีมา (750.72 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : หนังสือรับรองสภาพวัด (459.57 kb)

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูวิจิตรศาสนการ ถาวโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 26-06-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระมหาบุญสี อภิวโร

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระทอง ธมฺมธโร

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระพัฒนพล สิริสุวณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระสำเนียง พฺรหฺมสโร

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระทับอรุณ ภูริวฑฺฒโน

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระสุนัย เขมจาโร

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระวีรวัฒน์ ถาวโร

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระมหาศรายุธ สิริวฑฺฒนเมโธ

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระภูมิพัฒน์ ภูริวฑฺฒโน

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

พระอานนท์ อานนฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

สามเณรคุณากร ทันเต

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

สามเณรธรรมธัช อาสาพงษ์

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

สามเณรทวีศักดิ์ อาสาพงษ์

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

สามเณณอำนาจ ศรีเทพ

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

สามเณรวสุธร อาสาพงษ์

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น