สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code ทองนพคุณ

รหัสวัด
04340101013

ชื่อวัด
ทองนพคุณ

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2420

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 05 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2527

ที่อยู่
-

เลขที่
298

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
สรรพสิทธิ์

แขวง / ตำบล
ในเมือง

เขต / อำเภอ
เมืองอุบลราชธานี

จังหวัด
อุบลราชธานี

ไปรษณีย์
34000

เนื้อที่
10 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา

Facebook
คลิกดู

จำนวนเข้าดู : 55

ปรับปรุงล่าสุด : 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 21:31:34

ข้อมูลเมื่อ : 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 07:56:50

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

...**...วัดทองนพคุณ...**...
๑. ที่ตั้ง  เลขที่ ๒๙๘ ถนนสรรพสิทธิ์ ตําบลในเมือง อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด (หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๓๖๕๒๑, ๑๐๔.๘๕๓๕๘๖
๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดทองนพคุณ มีเสนาสนะอาคารสถานที่ ได้แก่ อุโบสถ วิหารนพคุณ (ศาลาการเปรียญ)
หอระฆัง กุฏิ ศาลาเอนกประสงค์ เมรุ ศาลาบําเพ็ญกุศล และประตูโขง ๒ ประตู (ทิศใต้ และทิศตะวันออก) โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่สําคัญมี ดังนี้
๒.๑ อุโบสถ
อุโบสถวัดทองนพคุณสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๐๐ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๔ เมตร
ก่อด้วยอิฐเสริมปูน โครงหลังคาไม้ตะเคียน มุงกระเบื้องสี ประตูหน้าต่างไม้ตะเคียน มีกําแพงแก้วก่อด้วยอิฐรอบอุโบสถ สิ้นเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท นายหล้า จันทรวิจิตร ลูกศิษย์ของพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด   นนฺตโร) และเป็นบิดาของนายอุส่าห์ จันทรวิจิตร
๒.๒ พระประธานหอแจกหลังเดิม
พระประธานหอแจกหลังเดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย ทาสีขาวแล้วทาสี
ทองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ฝีมือช่างท้องถิ่น
๒.๓ พระพุทธรูปปั้นรักสมุก
พระพุทธรูปปั้นรักสมุกเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทาสีทอง ฐานเขียนลายรดน้ํา ฐาน
ด้านหลังมีจารึกอักษรไทยน้อย ๗ บรรทัดความว่า “เจ้าพิกขุคูเพ็งเป็นผู้ลิจนาขอให้สําเร็จพระนิพพานอรหันตามรรคญาณองค์ประเสริฐนั้นเทิน
จารคงพร้อมใจกันกับปิดดามาดาบุตรภรรยาคณะญาติทั้งปวงมีใจใสสัทธาได้สร้างได้สร้างพระพุทธรูปไว้กับศาสนาองค์หนึ่ง คิดเป็นเงินซื้อคําหกสลึง
ขอให้ทั้งปวงได้    สําเร็จซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัตินิพพานะสมบัติเป็นนั้นก็ข้าเทอญ”
๒.๔ พระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัย
พระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัย ฐานด้านหลังเคยมีห่วงเหล็กสําหรับปักฉัตรแต่สูญหายไป
สภาพชํารุด ทาสีสองเพราะถูกปลวกกินบางส่วน
๒.๕ พระพุทธรูปศิลา
พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ที่ฐานมีผ้าทิพย์ ฝีมือช่างพื้นบ้าน
๒.๖ พระพุทธรูปโลหะ
พระพุทธรูปสําริด ปางมารวิชัย ฝีมือช่างพื้นเมือง
๒.๗ พระพุทธรูปไม้
พระพุทธรูปไม้แกะสลัก ฝีมือช่างพื้นเมือง ฐานสลักลายดอกคล้ายผ้าทิพย์
๒.๘ ขาตั้งตาลปัตรลายรดน้ํา
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดทองนพคุณเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๑ งาน ๓๐ เศษ ๙ ส่วน ๑๐ ตารางวา อาณาเขตทิศตะวันออกจดถนนชยางกูร
ทิศเหนือจดถนนสุริยาตร์ ทิศตะวันตกจดถนนนพคุณ และทิศใต้จดถนนสรรพสิทธิ์
วัดทองนพคุณตั้งเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๒๐ เจ้าราชบุตร (หนูคํา) อาญาสี่เมืองอุบลราชธานีเป็นผู้
ถวายที่ดินสร้างวัดเพื่ออุทิศแด่นางทอง มารดาของท่าน จึงได้ชื่อว่าวัดทองนพคุณตามนามมารดาของเจ้าราชบุตร
เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณนับถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๖ รูป ดังนี้
๑) ญาคูบัว
๒) ญาคูสิน
๓) ญาคูเลือน
๔) พระอธิการชื่น ถิรญาโณ (สุพจน์ สานนท์) ครองวัดปีสุดท้าย พ.ศ. ๒๔๘๐
๕) พระครูสุวรรณนพคุณ (ทา อินฺทวํโส พึ่งจิตต์ น.ธ.โท) เจ้าคณะตําบลในเมือง เขต ๒
ครองวัด พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๕๒๘
๖) พระครูสุวรรณธรรโมภาส (ผจญ ฐิตธมฺโม จันแก้ว ป.ธ.๔) ที่ปรึกษาเจ้าคณะตําบล
ในเมือง เขต ๒ ครองวัด พ.ศ. ๒๕๒๘-ปัจจุบัน
ด้านการปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๒ มีพระภิกษุ ๕ รูป ศิษย์วัด ๓ คน
๔. ความสําคัญ
๔.๑ เป็นวัดสําคัญที่เจ้าราชบุตร (หนูคํา) กรมการเมืองอุบลราชธานีเป็นผู้สร้าง
๔.๒ วัดทองนพคุณเป็นหนึ่งใน ๒๒ วัดที่จัดเทศน์ธรรมัสสวนะสามัคคีของเมืองอุบลราชธานีในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘
โดยเวียนไปทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม สิ้นสุดที่  วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นงานบุญเฉพาะของเมืองอุบลราชธานี
๕. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในปัจจุบัน
๕.๑ ปัญหามูลนกพิราบ ตามศาสนสถานต่าง ๆ
๖. ปัญหาที่พบในพื้นที่
๖.๑ วัดมีพื้นที่น้อยและอยู่ในเขตชุมชน ทําให้มีรถเข็ญของผู้ค้าขายโต้รุ่ง รวมทั้งรถของคนทั่วไปเข้ามาจอด ทําให้วัดมีพื้นที่จอดรถของผู้มาทําบุญน้อยลง
๗. เกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัด
๗.๑ พระครูสุวรรณธรรโมภาส เจ้าอาวาสมาพํานักที่วัดทองนพคุณเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ มีภูมิลําเนา
เดิมที่ บ. แก้งโพธิ์ ต. ไร่ไต้ อ. พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี
๘. ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน
๘.๑ มีกลุ่มผู้สูงอายุของวัดทองนพคุณ กําหนดประชุมกันเดือนละครั้งในวันจันทร์แรกของเดือน
๘.๒ มีญาติโยมประชุมกันสวดมนต์ไว้พระทุกวันพระ
๘.๓ มีบริการจัดพิธีศพ บําเพ็ญกุศลและฌาปนกิจ
๘.๔ เจ้าของร้านสินชัยเป็นมรรคนายก
๘.๕ เป็นที่บรรจุอัฐิบุคคลสําคัญ อาทิ นายไสว ทีปวัฒน์ อดีตผู้อํานวยการโรงเรียนลือคําหาญวารินชําราบ พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๙
๙. ประเพณีสําคัญประจําปี
๙.๑ บุญผะเหวด จัดวันศุกร์-เสาร์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
๙.๒ เป็นหนึ่ งใน ๒๒ วัดที่ จัดเทศน์ธรรมัสสวนะสามัคคีของเมืองอุบลราชธานีในช่วง
เข้าพรรษา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยเวียนไปทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม สิ้นสุดที่วัดสุปัฏนาราม วรวิหาร เป็นงานบุญเฉพาะของเมืองอุบลราชธานี
๑๐. การติดต่อประสานงาน
พระครูสุวรรณธรรโมภาส (ผจญ ฐิตธมฺโม ป.ธ.๔) ที่ปรึกษาเจ้าคณะตําบลในเมือง เขต ๒
เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ หมายเลขโทรศัพย์ ๐๘๑-๒๖๖-๐๖๙๐
พระจรัญ ธีรปญฺโญ (จันทุมมา)   พระเลขานุการ  จต.ในเมืองเขต ๒  วัดทองนพคุณ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๖๑-๖๙๗-๐๑๘๑

รายการพระ

พระครูสุวรรณธรรโมภาส ฐิตธมฺโม

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 07-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 07-07-2565

พระจรัญ ธีรปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 07-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 08-07-2565

พระราเมศ ธนปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 07-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 07-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น