สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code ปทุมมาลัย

รหัสวัด
04340101014

ชื่อวัด
ปทุมมาลัย

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 02 เดือน พฤษภาคม ปี 2425

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 14 เดือน ตุลาคม ปี 2525

ที่อยู่
-

เลขที่
224

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
สรรพสิทธิ์

แขวง / ตำบล
ในเมือง

เขต / อำเภอ
เมืองอุบลราชธานี

จังหวัด
อุบลราชธานี

ไปรษณีย์
34000

เนื้อที่
15 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 182

ปรับปรุงล่าสุด : 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21:53:32

ข้อมูลเมื่อ : 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 07:56:50

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

~~๑. ที่ตั้ง
เลขที่ ๒๒๔ ถนนสรรพสิทธิ์ ตําบลในเมือง อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด ( หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๓๖๘๐๘, ๑๐๔.๘๕๖๕๒๗
๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดปทุมมาลัยมีเสนาสนะอาคารสถานที่ ได้แก่ อุโบสถ เจดีย์พระพุทธชยันตีศรีปทุมมาลยา
นุสรณ์ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดปทุมมาลัย ศูนย์แพทย์ชุมชนวัดปทุมมาลัย ศาลาอเนกประสงค์อาคารอเนกประสงค์ชุมชนวัดปทุมมาลัย ๑-๒ ร่วมใจ “ไทยนิยมยั่งยืน” กุฏิ ศาลาบําเพ็ญกุศล เมรุ และประตูโขง ๔ ประตู (ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก) ในวัดมีโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่สําคัญ ดังนี้
๒.๑ พระพิชิตมารญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้า (พระเจ้าวิเศษ)
พระพิชิตมารญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้าหรือพระเจ้าวิเศษเป็นพระพุทธรูปสําริดปางมาร
วิชัย ขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๑๘ นิ้ว สูง ๔๑ นิ้ว ทาสีทอง ด้านหลังมีห่วงปักฉัตร ๑ ห่วง ที่ฐานจารึก อักษรธรรมอีสานไว้๔ บรรทัด ความว่า “พระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๒๔๐๖ พระวรรษา ปีกุน เป็น...ในเหมันตฤดูเดือน ๔ เพ็งขึ้น หลวงทิพย์ แม่กองศักดิ์ กับทั้งสัปบุรุษทั้งปวงมีน้ําจิตประกอบพร้อมกันสร้าง  พระปฏิมากร ฉลองแท่นพระองค์ไว้สําหรับพระพุทธศาสนาเท่าห้าพันพระวรรษา ให้เป็นที่ไหว้ที่บูชาแก่  เทวดา และมนุษย์ทั้งปวง ให้นามกรพระพุทธรูปชื่อว่า พระพิชิตมารญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้า อันเป็น  องค์ที่แสน จะทําให้ความปรารถนาแห่งบริษัททั้งปวง อิเมหิปุญญผเลหิ เอโก พุทฺโธนิพฺพานปจฺจโย โหตุ
ชาวบ้านเรียกท่านว่าพระเจ้าวิเศษ สร้างขึ้นพร้อมกันกับพระเจ้าประเสริฐ ซึ่งคุณพ่อจัน
ทิม ถิรวัฒน์ ได้บันทึกไว้ว่า ในวันเททองหล่อมีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เมื่อทุบดินข้างนอกที่หุ้มออกก็ปรากฏ  องค์พระปฏิมากรที่สมบูรณ์ ทองแล่นไปทั่วถึงไม่มีที่แหว่งเว้าน่าอัศจรรย์ยิ่ง บรรดาช่างหล่อบอกว่า  ประเสริฐจริง ๆ วิเศษจริง ๆ ที่แล้ว ๆ มาต้องมีขาดมีเกิน มีแหว่ง มีเว้า บางที่ทองวิ่งไม่ทั่ว ทําให้มีช่อง  โหว่ต้องปะอุดจึงจะใช้ได้ แต่นี่ไม่มีเลยแม้แต่ตามดตาแมง จึงเป็นที่มาของชื่อพระเจ้าวิเศษ พระเจ้า  ประเสริฐ อันที่เป็นองค์แสน คงหมายถึงน้ําหนักพระ “หนักเป็นแสน” ผู้สร้างคือหลวงทิพย์ ร่วมกับแม่  กองศักดิ์และผู้มีศรัทธา ประดิษฐานเป็นพระประธานในสิมวัดหนองยาง เมื่อยุบวัดหนองยางแล้วจึง  อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ สิมวัดปทุมมาลัยซึ่งอยู่ใกล้กัน วัดหนองยางยุบไปหลังปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เพราะใบบอกของราชการปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ยังระบุว่ามีการนิมนต์พระสงฆ์จากวัดหนองยางไปรับไทยธรรมในพิธี  ถือน้ําพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดหลวง เมื่อวัดปทุมมาลัยรื้อสิมเก่าจึงอัญเชิญพระเจ้าวิเศษขึ้นประดิษฐานใน  สิมใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เนื่องจากเคลื่อนย้ายหลายครั้งฐานพระจึงชํารุดไปบางส่วน
๒.๒ พระเจ้าประเสริฐ
พระเจ้าประเสริฐเป็นพระพุทธรูปสําริดปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง ๑๓
นิ้ว ทาสีทอง ฐานด้านหลังมีห่วงปักฉัตร ๒ ห่วง สร้างขึ้นพร้อมกับพระเจ้าวิเศษ
๒.๓ ตู้พระธรรม
ตู้พระธรรมเก็บคัมภีร์ใบลาน มี ๒ หลัง หลังแรกปิดทองลายฉลุ ตกแต่งด้วยกระแหนะ ที่ส่วนบัวคว่ําบัวหงาย หลังที่ ๒ เป็นตู้ไม้ธรรมดา คัมภีร์ใบลานมัดห่อไว้อย่างเป็นระเบียบ
๒.๔ คันทวยไม้
คันทวยไม้แบบศิลปะล้านช้างสลักลายก้านขดหรือลายผักกูด มีเพียงคันเดียวจึง
สันนิษฐานว่า นํามาจากที่อื่น๒.๕ รูปหล่อบูรพาจารย์  รูปหล่อบูรพาจารย์มี ๒ องค์ คือ พระเมธีรัตโนบล (พันธ์ โพธิโก)  และพระครูนวกิจโสภิต  (เพ็ง พนฺธโว)
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดปทุมมาลัยเป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๑๐ งาน ๑ ตารางวา
อาณาเขตทิศใต้จดถนนสรรพสิทธิ์ (มีห้องแถวหน้าวัดให้เอกชนเช่า ๒๐ ห้อง) ทิตะวันออกจดซอยสรรพสิทธิ์ ๔ ทิศเหนือจดถนนสุริยาตร์ และทิศตะวันตกจดซอยสรรพสิทธิ์ ๖ในอดีตเคยมีวัดหนองยางตั้งอยู่ใกล้บริเวณนี้ (คือที่ตั้งของโรงเรียนอุบลวิทยาคมในปัจจุบัน) เป็นวัดเก่าแก่ฝ่ายอรัญวาสี ตั้งอยู่ริมหนองน้ําที่มีบัวจํานวนมาก มีต้นยางนา ต่อมาวัดนี้ไฟไหม้จึงยุบไป ราวปี พ.ศ. ๒๔๒๕ มีผู้ถวายที่ดินเพื่ อสร้างวัดปทุมมาลัยคือ พระปทุมธานี (เหลี่ยม) กรมการเมืองอุบลราชธานี กับนายฉ่องและนางบุญช่วย ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๕ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ที่มาของชื่อวัดปทุมมาลัย อาจมาจากตั้งอยู่ใกล้หนองน้ําที่มีบัวมากจึงตั้งชื่อวัดแต่เดิมว่า วัดปทุมวัน ให้สอดคล้องกับวัดมหาวัน (วัดมหาวนารามหรือวัดป่าใหญ่) และวัดมณีวัน (วัดมณีวนารามหรือวัดป่าน้อย) ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดปทุมมาลัย หรืออาจจะมาจากชื่อผู้ถวายที่ดินสร้างวัดคือ พระปทุมธานี (เหลี่ยม) 
เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดปทุมมาลัยนับถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๙ รูป ดังนี้
๑) พระครูสิงห์ (อาชญาครูสิง หรือญาท่านสิงห์) เจ้าคณะแขวงอําเภออุตรูปลนิคม
(อําเภอม่วงสามสิบ) พ.ศ. ๒๔๔๔
๒) อาจารย์เงิน
๓) จารย์ครูศรี
๔) พระครูเสมาธรรมรักขิตมุนี
๕) พระอาจารย์ขาว หรือพระซาว
๖) พระหอม ขนฺติโก
๗) พระเมธีรัตโนบล (พันธ์ โพธิโก ป.ธ.๔) ครองวัด พ.ศ.๒๔๘๐-๒๕๑๖
๘) พระครูนวกิจโสภิต (เพ็ง พนฺธโว ปาวะพรม น.ธ.โท) เจ้าคณะตําบลบุ่งคล้า อําเภอ
เลิงนกทา จังหวัดยโสธร ครองวัด พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๓๐)
๙) พระครูปทุมพัฒนากร (ทองดํา ธมฺมปาโล พิมมาลัย ป.ธ.๔) เจ้าคณะตําบลในเมือง
เขต ๒ ครองวัด พ.ศ. ๒๕๓๑-ปัจจุบัน
ด้านการปกครอง ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีพระภิกษุสามเณรรวม ๒๖ รูป
ด้ านการศึ กษา แต่ เดิ มมีโรงเรียนพระปริยัติ ธรรมวัดปทุมมาลัย พระภิ กษุ สามเณร
ระดับอุดมศึกษา เรียนที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
ด้านการบริการชุมชน ในวัดปทุมมาลัยมีงานบริการชุมชนหลายด้าน ได้แก่
- ศูนย์แพทย์ชุมชนวัดปทุมมาลัย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และคลินิกหมอครอบครัววัด
ปทุมมาลัย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ณ อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม มีแพทย์มาตรวจรักษาทุก
วันอังคาร เปิดบริการถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. และมีจิตอาสา คือดาบตํารวจ ชาตรี บุญมี อายุ ๗๓ ปี (พ.ศ.
๒๕๖๒) เล่นดนตรี (ไวโอลิน) คอยให้ความเพลินเพลินแก่ผู้มารับการรักษา ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง ที่ศูนย์
แพทย์แห่งนี้มาหลังเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๘ ถึงปัจจุบัน
- กองทุนหมู่บ้านชุมชนปทุมมาลัย
- กลุ่มแม่บ้านวัดปทุมมาลัย ผลิตและจําหน่ายตะกร้า-กระเป๋าสานจากเส้นพลาสติก ผลิต
ดอกไม้จันทน์ มีนางวัฒน ผ่องชุมภู เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก ๑๐ คน และสอนวิธีผลิตแก่ผู้สนใจด้วย
- บริการตั้งศพบําเพ็ญกุศลและฌาปนกิจแก่ญาติโยม กําลังจะปรับปรุงเป็นเมรุปลอดมลพิษ
๔. ความสําคัญ
๔.๑ วัดสําคัญที่กรมการเมืองอุบลราชธานีคือ พระปทุมธานี (เหลี่ยม) มีส่วนร่วมสร้างและ
ปฏิสังขรณ์
๔.๒ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระเจ้าวิเศษและพระเจ้าประเสริฐ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง
อุบลราชธานี
๔.๓ วัดปทุมมาลัยเป็นหนึ่งใน ๒๒ วัดที่จัดเทศน์ธรรมัสสวนะสามัคคีของเมืองอุบลราชธานี
ในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยเวียนไปทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม สิ้นสุดที่
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นงานบุญเฉพาะของเมืองอุบลราชธานี
๕. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในปัจจุบัน
๕.๑ วัดปทุมมาลัยมีความร่มรื่น มีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ต่าง ๆ ไว้เป็นอย่างดี ท่านเจ้าอาวาสจะไม่
ตัดต้นไม้ แต่จะตกแต่งกิ่งไม้ให้เข้ากับศานคารต่าง ๆ ภายในวัดมีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย
๖. ปัญหาที่พบในพื้นที่
๖.๑ ปัญหามูลนกพิราบ ตามศาสนคารต่าง ๆ
๗. ภาพประกอบ
ภาพประกอบอยู่ท้ายแบบสํารวจ ภาพประกอบถ่ายโดย ปกรณ์ ปุกหุต และณัฐพงค์ มั่นคง เมื่อ
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ และ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
๘. เกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัด
๘.๑ รูปปั้นหลวงปู่ (ศาลปู่ตา) วัดหนองยางในวัดปทุมมาลัยปั้นขึ้นจากความฝันของเจ้าอาวาส
๘.๒ พระกัจจายน์ในวัด ตระกูลพ่อใหญ่เดช ถิรวัฒน์ ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นผู้สร้าง
๘.๓ เจดีย์พระพุทธชยันตีศรีปทุมมาลยานุสรณ์ เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยช่างจากอําเภอ
ม่วงสามสิบ
๘.๔ วัดปทุมมาลัยมีหนองน้ําในวัดมาแต่เดิม
๙. ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน
๙.๑ ชุมชนวัดปทุมมาลัย ๑-๒ เป็นกลุ่มญาติโยมที่อุปถัมภ์วัดเป็นหลัก
๙.๒ วัดปทุมมาลัยเป็นที่บรรจุอัฐิบุคคลสําคัญ อาทิ
- พระครูเสมาธรรมรักขิต พิชิตมุนี (สิงห์) เจ้าอาวาสวัดปทุมมาลัยองค์แรก อดีตเจ้า
คณะแขวงอุบล
- หลวงปู่มี โกวิโท
- หลวงพ่อเทียบ ถิรธมฺโม
- หลวงพ่อปาน อมรสิน
- ญาแม่กอง ปทุมเวียง
- ญาพ่อบุดดี คําผุย, ญาแม่นิล คําผุย
- คุณพ่อเดช ถิรวัฒน์ ผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนนารีนุกูล
- คุณแม่อุบล แสงศิริคหปตานี ผู้อุปถัมภ์วัดหลายแห่งในเมืองอุบลราชธานี สืบเชื้อ
สาย จากพลตรีพระยานครราชเสนี (กาด สิงหเสนี) เจ้าเมืองนครราชสีมา บุตรเจ้าพระยายมรา (แก้ว
สิงหเสนี) หลานเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- นายถนอม ส่งเสริม (ม.ป.ช.) อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุบลราชธานี อดีตผู้ว่า
ราชการจังหวัดศรีสะเกษ และพ่อดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕
- พันเอก วิทยา ศรพรหม
- นายประยุทธ เหล็กกล้า ปฏิมากรผู้มีชื่อเสียง
- อาจารย์วิไล มาลาหอม
- นางดวงจันทร์ นิธิพานิช อดีตนายกสมาคมเสริมสวยแห่งประเทศไทย จังหวัด
อุบลราชธานี
๑๐. ประเพณีสําคัญประจําปี
๑๐.๑ ประเพณีบุญผะเหวด
๑๐.๒ ประเพณีสงกรานต์ อัญเชิญพระเจ้าวิเศษ พระเจ้าประเสริฐ ให้ประชาชนสรงน้ํา
๑๐.๓ ประเพณีเข้าพรรษา
๑๐.๔ เป็นหนึ่ งใน ๒๒ วัดที่ จัดเทศน์ธรรมัสสวนะสามัคคีของเมืองอุบลราชธานีในช่วง
เข้าพรรษา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยเวียนไปทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม สิ้นสุดที่วัดสุปัฏ
นารามวรวิหาร เป็นงานบุญเฉพาะของเมืองอุบลราชธานี
๑๑. การติดต่อประสานงาน
พระครูปทุมพัฒนากร (ทองดํา ธมฺมปาโล ป.ธ.๔) เจ้าคณะตําบลในเมือง เขต ๒ เจ้าอาวาส
วัดปทุมมาลัย หมายเลขโทรศัพท์  ๐๘๗-๓๗๙-๙๖๓๔
นายวีระพงษ์ สารสิทธิ์ ไวยาวัจกร วัดปทุมมาลัย หมายเลขโทรศัพท์ ๐๙-๘๖๖๕-๓๗๕๔

 

แผนที่ภาพ

รายการพระ

พระครูปทุมพัฒนากร ธมฺมปาโล

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-07-2565

พระมหาจำนง ญาณวีโร

ข้อมูลเมื่อ : 08-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 08-07-2565

พระนิวัฒน์ ธมฺมวโร

ข้อมูลเมื่อ : 08-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 08-07-2565

พระเอกพล เอกพโล

ข้อมูลเมื่อ : 17-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 17-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น