สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดบกจันทร์นคร

รหัสวัด
04330509001

ชื่อวัด
วัดบกจันทร์นคร

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2400

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 31 เดือน มีนาคม ปี 2549

ที่อยู่
วัดบกจันทร์นคร

เลขที่
๘๘

หมู่ที่
๑๓

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ห้วยเหนือ

เขต / อำเภอ
ขุขันธ์

จังหวัด
ศรีสะเกษ

ไปรษณีย์
33140

เนื้อที่
๓๑ ไร่ ๑๒ งาน - ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 36

ปรับปรุงล่าสุด : 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 20:44:17

ข้อมูลเมื่อ : 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 16:50:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดบกจันทร์นคร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองขุขันธ์ (บริเวณบ้านบก ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) ทำการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชการที่ ๑ โดยพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ ๓ ได้ย้ายที่ทำการเมืองไปตั้งบริเวณดังกล่าวแล้ว เพราะบ้านบกเป็นชาวเวียงจันทร์อพยพมาอาศัยอยู่เมื่อปี ๒๓๒๒ ได้สร้างวัดขึ้นตั้งชื่อว่า “วัดบกจันทร์นคร” เพื่อเป็นอนุสรณ์ของชาวเวียงจันทร์และกำหนดให้เป็นวัดประจำเมืองเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและประกอบศาสนพิธีอื่นๆ

วัดบกจันทร์นคร ตั้งอยู่กลางชุมชุนสองกลุ่มทางทิศตะวันตกของวัดเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า (สรอกกะนงเวียง)แปลได้ความแปลว่า บ้านในวังหรือในเวียง ส่วนหมู่บ้านทางทิศตะวันออกของวัดหรือคุ้มคุณตาบุญถึง ขุขันธิน บุตรยาขุขันธ์ฯ(ท้าวปัญญา ขุขันธิน) เรียกว่า บ้านบก แต่เดิมวัดมีเนื้อที่ ๙ ไร่เศษ ต่อมาขุนศรีสุภาพพงษ์ (บุญนาค ศรีสุภาพ) บุตรเขยของพระยาขุขันธ์ฯ (ท้าวปัญญา ขุขันธิน) ได้ถวายที่ดินทางทิศตะวันออกให้วัดจำนวนประมาณ ๕ ไร่

สมัยก่อนอุโบสถวัดบ้านบกหลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้ไม่มีมีผนังทั้งสี่ด้านภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปโบราณสององค์และพระไม้หนึ่งองค์เป็นประธาน ลักษณะศิลปะลาวล้านช้าง (หรือลาวช้าง) พระพุทธรูปสององค์นี้ คงจะนำมาจากประเทศลาวเมื่อครั้งหลวงปราบเชียงขันร่วมทัพไปตีกรุงศรีสัตนคนหุต (เวียงจันทร์) พ.ศ. ๒๓๒๑ โดยสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกพระยศในขณะนั้น ทรงเป็นแม่ทำ และโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นล้วนผีมือลาวล้านช้างทั้งสิ้น ต่อมาภายหลังสิ่งของโบราณเหล่านี้ได้สูญหายไปเกือบทั้งหมดสิ้น หน้าอุโบสถมีเจดีย์เก่าแก่หนึ่งองค์ เรียกแต่โบราณมาว่า เจดีย์สิม เป็นเจดีย์เก่าแก่คู่มากับวัด(เล่นกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก)กลางปี พ.ศ. ๒๕๑๔ วัดบกไม่มีเจ้าอาวาสปกครอง คณะกรรมวัดจึงแต่งตั้งให้พระวิฑูรย์ ศิษย์ท่านพระครูประกาศธรรมวัตรหลวงพ่อสาย วัดตะเคียนราม อ.ภูสิงห์ รักษาการอาวาสภายหลังอุโบสถ ซึ่งได้บูรณะใหม่เรียบร้อยแล้วได้สร้างพระพุทธรูป ขนาดใหญ่เป็นโลหะสำฤทธิ์หน้าตั้งกว้างขนาดหนึ่งเมตรครอบพระพุทธรูปองค์เดิม(พระไม้) เป็นพระประธานในอุโบสถ ต่อมานายบุญถึง ขุขันธิน และนายสวาท ไชยโพธิ์ และชาวบ้านบกได้ร่วมกันสร้างประพุทธรูป พระประธานองค์ใหม่ในอุโบสถขนาดใหญ่

ดังที่ท่านได้เห็นในปัจจุบันนี้ ประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์ ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการครั้งนี้ด้วย ด้วยพระประธานองค์ใหม่นี้เมื่อสร้างเสร็จได้ให้ประชาชนนำสิ่งของมีค่าหรือวัตถุมงคล ไปบรรจุในช่องอก (พระอุระ) เมื่อพิธีบรรจุเสร็จสิ้นแล้วช่างทำการปิดพระอุระอย่างถาวรเมื่อมีการสร้างพระประธานองค์ใหม่ภายในอุโบสถ พระพุทธรูปโบราณสององค์ ก็ถูกขโมยยอดพระเศียรไป เนื่องจากสามารถถอดออกได้ ของเก่าหล่อด้วยโลหะสำฤทธิ์ผีมืองดงามมาก ต่อมาช่างได้ทำของใหม่สวมไว้แทนของเก่าที่ถูกขโมยไปแต่ฝีมือทำไม่ได้เหมือนนัก จึงดูไม่เข้ากับยุคสมัยเท่าที่ควร ต่อมาทางวัดได้ทาสีพระพุทธรูปโบราณทั้งสององค์ ซึ่งถ้าหากไม่รู้ก็จะดูว่าเป็นของใหม่ ที่วัดบ้านบกมีพระพุทธโบราณ อายุไม่ต่ำกว่า ๓๐๐-๔๐๐ ปี ฝีมือชาวล้านช้าง เป็นมรดกตกทอดมาให้เห็นดังเช่นทุกวันนี้ชุมชน วัดจันทร์นคร ในอดีตมีชุมชนอยู่ ๒ ชุมชน อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน๑.ชุมชนที่ประกอบด้วย บ้านบกและบ้านแดงจะมีภาษาพูดเป็นภาษาลาว มีวัฒนธรรมคล้ายๆ ชาวลาว เนื่องจากเป็นกลุ่มชนที่ เมื่อครั้งที่ไทยชนะศึกสงครามที่เวียงจันทร์ แล้วหลวงปราบได้กวาดต้อนเอาพลเมืองชาวลาวกลับมาด้วย โดยเฉพาะได้นางคำเวียง หญิงหม้ายตระกูลสูงพร้อมบริวารให้มาพำนัดตั้งหลักแหล่ง ณ บ้านบก โดยท่านได้นางคำเวียง เป็นภรรยาซางลูกชายติดนางคำเวียงมาด้วยก็คือ “ พระไกร ” หรือ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองคนที่ ๓ นั้นเอง ซึ่งยังมีทายาทเชื้อสายชาวลาว ปรากฏอยู่ ณ ชุมชนบ้านบกและบ้านแดงจนทุกวันนี้๒. ชุมชนที่อยู่คุ้มทิศตะวันตกของวัดจันทร์นคร เป็นชนเผ่าที่พูดเขมร เรียกคุ้มนี้ว่า คุ้มบ้านวัง หรือ บ้านเสียง (ซรกกะนงเวียง) เป็นบ้านที่อยู่ของเจ้าเมืองขุขันธ์เดิมปัจจุบันอุโบสถหลังเก่าได้รื้อไปหมดแล้ว

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และได้ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ โดยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ ซึ่งได้ทำการออกแบบ ควบคุมการก่อสร้างโดย นาย แสวง น้อยวงศ์ ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการนำของ พระครูจันทนาคราภิวัฒน์ (บุญส่ง สิริจนฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดบกจันทร์นครและผู้ใหญ่บ้านคณะกรรมการวัด ทายกทายิกา ไวยาวัจกร ข้าราชการ พ่อค้าประชาชน สิ้นงบประมาณทั้งสิ้น ๖,๖๘๑,๙๕๙ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน.

รายการพระ

พระปลัดจันทร์ จนฺทวํโส

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 03-08-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-08-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

เจดีย์โบราณ วัด...

ข้อมูลเมื่อ : 03-08-2565

เปิดดู 32 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น