สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code สว่างอารมณ์

รหัสวัด
04340101010

ชื่อวัด
สว่างอารมณ์

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2414

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 09 เดือน พฤศจิกายน ปี 2561

ที่อยู่
-

เลขที่
561

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
สรรพสิทธิ์

แขวง / ตำบล
ในเมือง

เขต / อำเภอ
เมืองอุบลราชธานี

จังหวัด
อุบลราชธานี

ไปรษณีย์
34000

เนื้อที่
10 ไร่ 2 งาน - ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 36

ปรับปรุงล่าสุด : 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 10:56:08

ข้อมูลเมื่อ : 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 07:56:50

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

~~วัดสว่างอารมณ์
๑. ที่ตั้ง   
เลขที่ ๕๖๑ ถนนสรรพสิทธิ์ ตําบลในเมือง อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด (หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๓๕๔๒๐, ๑๐๔.๘๕๐๔๑๒
๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดสว่างอารมณ์ มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ  ได้แก่  อุโบสถ  หอพระมหากัจจายนะเถระ ศาลา ๑ พิพัฒนสุนทโรบลสามัคคี ศาลา ๒ พิพัฒนสุนทโรบลสามัคคี หอระฆังชัยอุบลวัฒนา ศาลาเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์ครบ ๖๐ พรรษา ศาลาข้างเมรุ กุฏิ เมรุ แลประตูโขง ๒ ประตู (ทิศเหนือและทิศตะวันตก) โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่สําคัญ ดังนี้
๒.๑ พระมหากัจจายนะเถระ พระมหากัจจายนะเถระแกะสลักจากศิลา เป็นพระสังกัจจายนะที่เก่าแก่มากของเมือง อุบลราชธานี มีประวัติว่าไหลลอยมาในแม่น้ํามูลมาหยุดที่ น้ําเวินหรือมูลหลง (เกาะบุ่ งกาแซว)  ชาวประมงบ้านบุ่งกาแซวอัญเชิญขึ้นบนบกจะนําไปถวายวัดสุปัฏนารามและวัดศรีทอง แต่ทั้งสองวัดไม่รับ จึงอัญเชิญมาถวายญาท่านดวน เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกแล้วท่านจึงลาสิกขา ไป เจ้าอาวาสรูปถัดมาคือญาท่าน พ้วย เห็นความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหากัจจายนะเถระจึงอัญเชิญไป ประดิษฐานไว้ที่หัวนอน เจ้าอาวาสรูปต่อมา คือญาท่านเพ็งและพระครูสิริกิจจานุยุตได้สร้างหอพระ ประดิษฐานไว้ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านสว่างมาจนถึงปัจจุบัน
๒.๒ เศียรพระพุทธรูปและจารึกประวัติวัด
เศียรพระพุทธรูปศิลาประดิษฐานบนเสาก่ออิฐถือปูนใกล้อุโบสถ ศิลปะทวารวดีไม่
ทราบอายุ ที่เสามีจารึกประวัติวัดสว่างอารมณ์เป็นอักษรไทย
๒.๓ คัมภีร์ใบลาน
คัมภีร์ใบลาน ๑ ตู้ พบว่ามีเรื่องอุรังคธาตุด้วย
๒.๔ กุฏิสว่างสามัคคี
เป็นกุฏิไม้ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลวดลายสวยงาม ปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
๒.๕ กุฏิลายฉลุ
กุฏิลายฉลุเป็นกุฏิไม้ตกแต่งหน้าต่างด้วยไม้ฉลุลวดลาย ปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรม
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระครูวิจิตรพัฒนโกศลเป็นเจ้าอาวาส
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดสว่างอารมณ์ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๒ งาน อาณาเขตทิศเหนือจดถนนสรรพสิทธิ์ ทิศตะวันตกจดถนนชวาลาใน ทิศใต้จดที่ดินเอกชน และทิศตะวันออกจดบ้านประชาชน ตั้งอยู่ในชุมชนซึ่งในอดีตเรียกว่าบ้านสว่าง
วัดสว่างอารมณ์ตั้งเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นวัดประจําหมู่บ้านสว่าง ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตก ของบ้านสว่าง ที่มาของชื่อวัดสว่างอารมณ์จึงมาจากชื่อหมู่บ้าน ส่วนคําว่าอารมณ์มาจากสมญานาม ของญาท่านพ้วย ปภสฺสโร ซึ่งท่านชอบทํางานตามอารมณ์เสมอ ลูกศิษย์จึงให้นามต่อท้ายชื่อวัดว่าวัดสว่างอารมณ์
เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์นับถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๘ รูป ดังนี้
๑) ญาท่านดวน (จารย์ครูดวน)
๒) อาจารย์บุดดี
๓) ญาท่านพ้วย ปภสฺสโร เป็นพระนักพัฒนา เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน เป็น
ชาวบ้านสว่างโดยกําเนิด
๔) พระครูวิจิตรพัฒนโกศล (เพ็ง ปภสฺสโร) หรือญาท่านเพ็ง เจ้าคณะตําบลขามใหญ่
เป็นชาวบ้านด้ามพร้า ญาท่านพ้วยเป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นอาจารย์ของท่านด้วย ครองวัด พ.ศ.๒๔๙๒-๒๕๒๓
๕) พระครูสิริกิจจานุยุต (สีโน ญาณจารี ไหลหลั่ง ป.ธ.๔) เป็นชาวบ้านคําสมิง ต. เกษม
อ. ตระการพืชผล ครองวัด พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๔๓
๖) พระมหาสมยง กตปุญฺโญ ป.ธ.๗ ครองวัดปี  พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๕
๗) พระครูสุตธรรโมภาส (กริช อาริโย ป.ธ.๔) เป็นชาวตําบลปทุม อ. เมืองอุบลราชธานี
ครองวัดปี พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๑
๘) พระครูพิพัฒนสุนทโรบล (กรีพล สุนฺทโร นักรํา) ครองวัดปี พ.ศ. ๒๕๕๑-ปัจจุบัน
ด้านการปกครอง วัดสว่างอารมณ์ ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีพระภิกษุ ๙ รูป และสามเณร ๑ รูป
๔. ความสําคัญ
๔.๑ วัดสว่างอารมณ์เป็นวัดสําคัญในใบบอกเมืองอุบลราชธานีของพระยาราชเสนา (ทัด ไกรฤกษ์) หลวงภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) ขุนพรพิทักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์) ว่าได้มีการนิมนต์พระภิกษุจากวัดนี้ไปเจริญพระพุทธมนต์และรับไทยธรรมที่ศาลากลางจังหวัด หลังเสร็จพิธีถือน้ําพระพิพัฒน์สัตยาของ ข้าราชการ ณ อุโบสถวัดหลวง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นเวลา ๓ วัน ดังความว่า “...นิมลพระภิขุสงฆมหานิกายสิ้นทุกวัด คือวัดหลวงวัดหนองยางวัดสว่างวัดเรียบวัดป่าน้อยวัดป่าไหญ่วัดทุ่งวัดไต้วัดท่าวัด  เหนือวัดกลางรวม ๑๑ วัด จํานวนพระพิขุสงฆ ๑๖๓ รูป เจริญพระพุทมลต์สมโพช...” (ใบบอก ร.๕ ม.๒.๑๒ ก/๓ [๖๙} ๒๔๒๘: ๑๒๑-๑๒๒)
๔.๒ วัดสว่างอารมณ์เป็นที่ประดิษฐานพระมหากัจจายนะที่ประชาชนเคารพสักการะกัน
๔.๓ วัดสว่างอารมณ์เป็นหนึ่งใน ๒๒ วัดที่จัดเทศน์ธรรมัสสวนะสามัคคีของเมืองอุบลราชธานีในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยเวียนไปทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม  สิ้นสุดที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร   เป็นงานบุญเฉพาะของเมืองอุบลราชธานี
๕. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในปัจจุบัน
๕.๑ พื้นที่บางส่วนในวัดมีขยะใบไม้มาก
๖. ปัญหาที่พบในพื้นที่
๖.๑ ปัญหามูลนกพิราบ ตามศาสนคารต่าง ๆ
๖.๒ ควรมีการจัดการขยะรอบ ๆ วัด
๗. ภาพประกอบ
ภาพประกอบอยู่ท้ายแบบสํารวจ ภาพประกอบถ่ายโดย ปกรณ์ ปุกหุต และณัฐพงค์ มั่นคง
เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
๘. เกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัด
๘.๑ มีพระเจ้าใหญ่โฆษิตรัตนโสภณเป็นพระประธานในอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ฝีมือของพระครูสิริกิจจานุยุต (สีโน ญาณจารี)
๘.๒ พระเจ้าใหญ่องค์สว่างพิพัฒนมงคล สร้างโดยพระครูพิพัฒนสุนทโรบล เจ้าอาวาสรูป
ปัจจุบัน
๘.๓ พระครูวุฒิกรพิศาล (ทุย ธมฺทินฺโน อรุณไชย) อดีตเจ้าอาวาสวัดวารินทราราม เป็นศิษย์
ของญาท่านพ้วย วัดสว่างอารมณ์ อุปสมบทที่วัดนี้ เมื่อครั้งเป็นสามเณรน้ําเสียงดีเทศน์กัณฑ์กุมารได้
อย่างไพเราะ เป็นผู้มีฝีมือแกะสลักไม้ไว้ที่สิมหลังเดิม และร่วมกับญาพ่อมหาเสนาหล่อพระพุทธรูปไว้ ๒องค์ เชี่ยวชาญการจารใบลานและงานช่างทุกชนิด (ทางแห่งวัฒนธรรม ๒๕๐๒: ๒-๔)
๙. ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน
๙.๑ ชุมชนวัดสว่างอารมณ์และชุมชนท่าวังหินเป็นผู้อุปถัมภ์วัด มีญาติโยมมาจําศีลเป็นประจํา
๙.๒ มีโครงการส่งเสริมอาชีพการตัดเย็บเสื้อผ้าสําเร็จรูปบุรุษและสตรี ชุมชนวัดสว่างอารมณ์ ๑
๙.๓ เมื่อก่อนมีชาวญวนจากนิคมมาอยู่ในหมู่บ้านสว่างด้วยจึงมีธาตุบรรจุอัฐิชาวญวนในวัด
๙.๔ ด้านหน้าวัดสว่างอารมณ์ให้เอกชนเช่าที่ตั้งแต่สมัยญาท่านเพ็ง และได้ทำการแจ้ง จะยกเลิกการให้เช่าเร็ว ๆ นี้
๙.๕ เริ่มพัฒนาวัดในปี พ.ศ. ๒๕๕๑
๙.๖ มีชมรมผู้สูงอายุวัดสว่างอารมณ์
๙.๗ เป็นที่บรรจุอัฐิบุคคลสําคัญ อาทิ
- พระครูวิจิตรพัฒนโกศล (ญาท่านเพ็ง) อดีตเจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ รูปที่ ๓
- พระครูสุตธรรโมภาส อดีตเจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ รูปที่ ๗
๑๐. ประเพณีสําคัญประจําปี
๑๐.๑ ประเพณีสงกรานต์
๑๐.๒ บุญผะเหวด
๑๐.๓ เป็นหนึ่งใน ๒๒ วัดที่จัดเทศน์ธรรมัสสวนะสามัคคีของเมืองอุบลราชธานี ในช่วง
เข้าพรรษา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยเวียนไปทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม สิ้นสุดที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นงานบุญเฉพาะของเมืองอุบลราชธานี
๑๐.๔ บุญกฐิน
๑๑. การติดต่อประสานงานพระครูพิพัฒนสุนทโรบล ( กรีพล สุนทโร  นักรํา) เจ้าอาวาส
วัดสว่างอารมณ์
 

รายการพระ

พระครูพิพัฒนสุนทโรบล สุนฺทโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-07-2565

พระสุพจน์ จกฺกวโร

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-07-2565

พระธำรง กิตฺติปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-07-2565

พระเอกพงษ์ วิสารโท

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-07-2565

พระสหัสชัย กลฺยาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-07-2565

พระพิสุทธิ์ ฐานวิโร

ข้อมูลเมื่อ : 06-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น