สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code นาควาย

รหัสวัด
04340101009

ชื่อวัด
นาควาย

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2410

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 28 เดือน ธันวาคม ปี 2538

ที่อยู่
-

เลขที่
247

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
สุขาสงเคราะห์

แขวง / ตำบล
ในเมือง

เขต / อำเภอ
เมืองอุบลราชธานี

จังหวัด
อุบลราชธานี

ไปรษณีย์
34000

เนื้อที่
13 ไร่ 3 งาน 34 ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 57

ปรับปรุงล่าสุด : 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21:43:19

ข้อมูลเมื่อ : 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 07:56:50

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

~~วัดนาควาย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
หลักฐานจากคำบอกเล่า ได้กล่าวถึงการก่อตั้งชุมชนบ้านนาควายว่า ก่อตั้งหลังจากที่พระวรราชสุริยวงศ์หรือท้าวคำผง ได้ขอพระราชทานอนุญาตก่อสร้างเมืองอุบลราชธานี โดยประชาชนที่ติดตามมาได้หาสถานที่เหมาะสมสำหรับก่อสร้างเมืองอุบลราชธานี โดยประชาชนที่ติดตมมได้หาสถานที่เหมาะสมสำหรับก่อสร้างหมู่บ้าน โดยมีการตั้งเสาหลักบ้านไว้ริมหนองฮาง ชาวบ้านนาควายเคารพนับถือในนาม “เจ้าปู่’’ โดยแรกเริ่มก่อสร้างหมู่บ้านมีบ้านเรือนประมณสิบหลังคา เมื่อหมู่บ้านได้ขยายแลมีจำวนหลังคาเรือนมากขึ้นพอสมควร ชาวบ้านจึงได้สร้างวัดขึ้น เรียกว่า “วัดนาควาย’’ มีเจ้าอาวาสรูปแรก คือ “หลวงปู่แดง’’ ภายในวัดนาควายมีเสนาสนะที่สำหรับได้แก่
ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒ เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗ ภายในศาลาการเปรียญประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญชองวัดนาควาย คือพระเจ้าแสนล้าน เป็นประธานที่ประดิษฐานภายในศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๔ และเสร็จสิ้น พ.ศ.๒๕๕๕ ภายในองค์พระเจ้าแสนล้านบรรจุวัตถุมงคลและพระพุทธรูปสำคัญประจำวัดนาควาย นอกจากนี้พระเจ้าแสนล้านยังมีความพิเศษคือ ใช้การประดับตกแต่งด้วยการติดเหรียญบาท ที่ผลิตในรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมภูมิพลอดุลยเดช จำนวน ๑๑๑,๙๙๙ บาท
สิม (อุโบสถ) หลังเก่า หลังเก่าของวัดนาควาย สร้างโดยยาคูทาและชาวบ้านนาควาย ไม่ปรากฏปีที่สร้าง แต่จากคำบอกเล่า ได้กล่าวว่า สร้างโดยยาคูทา เจ้าอาวาสวัดนาควายองค์ที่ ๒ คือ ยาคูทา ได้นำชาวบ้านก่อสร้างสิม (อุโบสถ)ขึ้น มีขนาด ๑๑ ศอก ๑ คืบ ในช่วงหลังสิมวัดนาควายได้รับการซ่อมแซมต่อเติมส่วนหน้า เมื่อกรมศิลปากรเข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๐ ได้นำส่วนต่อเติมออก ปัจจุบันสิม(อุโบสถ) วัดนาควาย เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด กว้าง ๕.๕ เมตร ยาว ๙.๐๐ เมตร เป็นอาคารก่ออิฐ ฉาบปูน ลักษณะฐานประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ด้านบนปล่อยโล่ง มีบันไดทางขึ้นและประตูเข้าสู่ภายในสิม(อุโบสถ) เพียงด้านเดียว ห้องหลักที่ใช้ประกอบพิธีของสิมเป็นห้องผนังทึบทั้งสี่ด้าน โดยด้านทิศเหนือและทิศใต้มีการเจาะช่องหน้าต่างด้านละ ๑ ช่อง ประตูสิมอยู่ด้านทิศตะวันออก หลังคาสิมเป็นหลังคาทรงจั่วเดิมมุงด้วยแป้นเกล็ด ตกแต่งด้วยช่อฟ้า ใบระกา และหางส์หินึ่งทำจากไม้แกะสลัก มีคันทวยไม้แกะสลักประดับด้านข้างอาคารข้างละ ๕ ตัว พร้อมเต้ารับ ภายในสิมประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชีซึ่งเป็นฐานก่ออิฐฉาบปูน
จิตกรรมฝาผนังสิม (อุโบสถ) หลังเก่าวัดาควาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
จิตรกรรมฝาผนัง สิม (อุโบสถ) หลังเก่า วัดนาควาย ไม่มีประวัติว่าผู้ใดเป็นผู้เขียนและเขียนขึ้นเมื่อใด ภาพจิตรกรรมที่ผนังทั้งด้านนอกและด้านในสิมโดยผนังด้านนอกมีภาพที่บริเวณผนังเหนือกรอบประตูทางเข้า ส่วนด้านในมีจิตกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน
จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนอยู่ผนังด้านนอก เหนือกรอบประตูนั้น เป็นการเขียนภาพบนพื้นขาว ขอบภาพเขียนโดยใช้สีดำ สีเติมหรือระบายเป็นสีเหลืองนวล เขียว และดำ ลักษณะการเขียนภาพเป็นภาพผสมผสานระหว่างพุทธประวัติและวิถีชีวิต โดยภาพหลักของผนังส่วนบน เป็นภาพพุทธประวัติ ตอนมารผจญ จิตรกรเขียนเป็นภาพพุทธเจ้าประทับปางสมาธิ มีพระแม่ธรณีบีบมวยผม เพื่อให้น้ำมาขับไล่ทั้งยักษ์ มารที่เข้ามาผจญ ก่อกวนพรพุทธองค์ ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ ด้านล่างถัดลงมาเป็นภาพสตรีสวมชฎา ๓ ตน ทางด้านขวา และภาพสตรีชราหลังค่อมอยู่ทางด้านซ้าย ซึ่งอาจหมายถึง ธิดาพญามารแปลงกายเพื่อมายั่วยวนพระพุทธองค์ แต่สุดท้ายก็ต้องแพ้พ่ายกลับร่างกลายเป็นหญิงชราไปในที่สุด ถัดลงมาเป็นภาพวิถีชีวิต มีภาพชาวอีสานเป่าแคนและฟ้อนรำ และภาพวงปี่พาทย์ของทางภาคกลางอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีภาพบุคคลที่เป็นเอกเทศ ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวใด ได้แก่ภาพบุคคลที่แต่งตัวคล้ายป็นคนเชื้อสายจีน
สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในสิมนั้นเป็นภาพจิตรกรรมที่มีการลงสีพื้นหลังโดยสีหลักที่ใช้ลงพื้นคือ สีแดง สีเหลือง สีเขียว หากแต่ผนังด้านทิศใต้ และผนังด้านทิศตะวันออกฝั่งเหนือนั้น สันนิษฐานว่าภาพคงยังไม่เสร็จสมบูรณ์ พื้นหลังเป็นสีขาว ยังไม่มีการเติมหรือระบายสีพื้นหลัง และภาพองค์ประกอบขาดหาย ในส่วนช่องกลางของผนัง เป็นภาพพระภิกษุสงฆ์เดินทางกลางป่า เพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงค์ และส่วนผนังด้านทิศตะวันออกฝั่งเหนือ เป็นภาพพุทธประวัติก็ยังคงเป็นพื้นหลังขาวไม่มีการเติมหรือระบายพื้นหลังเช่นกัน
ภาพจิตรกรรมภายในสิม เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ โดยมีการเรียงลำดับเหตุการณ์ เริ่มจากผนังด้านทิศตะวันออก ด้านเหนือ และเวียนซ้ายจนมาบรรจบที่ตอนปรินิพพานที่ผนังด้านทิศใต้
นอกจากภาพเขียนแล้ว ตัวอักษรที่ปรากฏบนฝาผนังก็นับว่าเป็นหลักฐานที่น่าสนใจ ทำให้เข้าใจอะไรเกี่ยวกับผู้เขียนภาพหรือจิตรกรได้บางส่วน กล่าวคือ ตัวอักษรที่เขียนบรรยายหรือประกอบภาพจิตรกรรม ที่ผนังด้านนอกนั้น เป็นการเขียนโดยใช้อักษรไทน้อย แม้ว่าจะลบเลือน และจับใจความได้บางส่วน หากแต่ ตัวอักษรที่พบในภาพจิตรกรรมที่ผนังด้านในนั้นส่วนใหญ่เป็นตัวอักษรไทย เมื่อพิจารณาจากภาพซึ่งมีทั้งวงดนตรีปี่พาทย์ของทางภาคกลาง วงแคนของทางอีสาน ผนวกกับตัวอักษรที่พบบนจิตรกรรมฝาผนัง เราสามารถที่จะกล่าวได้ว่า ผู้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้น่าจะมีทั้งจิตรกรหรือช่างจากกรุงเทพฯและช่างท้องถิ่น

รายการพระ

พระครูโสภณขันตยาภรณ์ ขนฺติโก

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 08-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 17-07-2565

พระจันทอง จนฺทโชโต

ข้อมูลเมื่อ : 08-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 08-07-2565

พระชาติ ธมฺมานนฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 08-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 08-07-2565

พระเจษฏา โชติธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 08-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 08-07-2565

พระสุเชาว์ ธมฺมธีโร

ข้อมูลเมื่อ : 08-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 08-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น