สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code ลัฎฐิกวัน

รหัสวัด
04490604002

ชื่อวัด
ลัฎฐิกวัน

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2466

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2468

ที่อยู่
บ้านชะโนด

เลขที่
๓๐

หมู่ที่

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ชะโนด

เขต / อำเภอ
หว้านใหญ่

จังหวัด
มุกดาหาร

ไปรษณีย์
49150

เนื้อที่
30 ไร่ - งาน - ตารางวา

Facebook
คลิกดู

เว็บไซต์
คลิกดู

มือถือ
0988291544

อีเมล์
soros89@hotmail.com

คุณสมบัติวัด

เป็นอุทยานการศึกษาในวัด

จำนวนเข้าดู : 88

ปรับปรุงล่าสุด : 22 กันยายน พ.ศ. 2565 09:23:16

ข้อมูลเมื่อ : 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 07:59:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

         ประวัติวัดลัฏฐิกวัน ก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติและความเป็นมาของวัดลัฏฐิกวัน มีความ จำเป็นต้องท้าวความถึง พระคุณเจ้า ๒ รูปเสียก่อน เพราะท่านทั้งสองมี ความผูกพันกับวัดนี้อย่างใกล้ชิด ไม่เช่นนั้นประวัติและความเป็นมาอาจจะ ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร คือ ท่าน หอ หรือพระอุปัชฌาย์หอ เบ็นบุตรของท้าวเมืองโครก หัวหน้าชาวสะฝ่าย ตอนโค ที่อพยพจากนครจำปาศักดิ์ มาอยู่ร่วมกับชาว ระโนดในตอนทั้งใหม่ ๆ เมืองโครก เป็นต้นตระกูลของชาวหว้านใหญ่ "เมืองโคตร" ท่านหอเป็นคู่กับพระกัสสปะผู้เป็นหลานชาย แต่เกิดบีเดียว กัน คือ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๙ พออายุได้ ๑๓ ปี ได้เข้าบรรพชาเป็น สามเณรที่วัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด ศึกษาพระธรรมวินัย พระไตรปิฎก คัมภีร์ต่าง ๆ แตกฉานแต่ครั้งเป็นสามเณร พออายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบท ที่วัดเดิม ๑ ปี ต่อมาได้ส่งไปศึกษาต่อที่นครเวียงจันทน์ทั้งคู่ สอบได้บาลี ชั้นสูงได้รับสมณศักดิ์เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกัสสปะได้เป็นพระครู
          มีความชอบจนพระเจ้าแผ่นดินเวียงจันทน์พระราชทานวัสดุก่อสร้าง พร้อม ด้วยนายช่างสถาปัตยกรรม ๓ คน   มาสร้างโบสถ์และพัทธสีมาวัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนดในปี ๒๒๙๖ และเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ โดยที่ท่านบำเพ็ญ วิบัสสนากรรมฐาน เมื่อสร้างเสร็จท่านได้มอบ ให้พระครูกัสสปะเป็นเจ้าอาวาสวัดมโนภิรมย์ แล้วท่านได้ออกไปตั้งบำเพ็ญ  วิปัสนากรรมฐาน ณ ป่าโนนรังเหนือวัดเดิมออกไปประมาณ ๑๐ เส้นเศษ ต่อมาได้ย้ายไปศึกษาต่อที่กรุงเทพ ๆ แล้วมรณภาพที่กรุงเทพ ฯ อีกท่านหนึ่ง คือ พระอปัชฌาย์บุ หรือ พระบุ พระคุณเจ้ารูปนี้ เป็นพระรุ่นหลัง ๆ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง เคยได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดมโนภิรมย์ แต่กลับไปปฏิสังขรณ์วัดที่บ้านเดิม  คือบ้านท่าสะโน ภายหลังหลังจากบ้านชะโนดถูกไฟไหม้ในบี พ.ศ. ๒๔๔๗ ญาติโยม ชาวชะโนดได้ตามไปนิมนต์อ้อนวอนให้มาซ่อมแซม                 วัดมโนภิรมย์ ท่านจึงรับนิมนต์ มานำชาวบ้านซ่อมแซมใน พ.ศ. ๒๔๔๘ ใช้เวลาซ่อมแซม ๖ บี คือ เสร็จเรียบร้อยใน        พ.ศ. ๒๔๕๓ ต่อจากนั้นท่านได้กลับไปสร้างวัดอีกแห่ง หนึ่งที่ท่าสะโนพร้อมกับปฏิสังขรณ์วัดเก่าด้วย
ในขณะที่ท่านอยู่ที่วัดที่ท่าสะโนก็ดี อยู่ที่วัดมโนภิรมย์บ้านชะโนดก็ดี นอกจากท่านจะใช้เวลาศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก และคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในวัดทั้ง ๒ เป็นจำนวนมากแล้ว ท่านยังใฝ่ใจศึกษาศิลปกรรม สถาบัตยกรรมทั้งจากตำราและของจริงที่บรรดามีในวัดมโนภิรมย์ จนมีความสามารถในด้านศิลปกรรมและสถาบัตยกรรมอย่างกว้างขวาง              จนพระเถระ และเกจิอาจารย์หลาย ๆ ท่านยอมรับ เช่น พระครูโลกอุดร เจ้าอาวาส วัดมีชื่อหลายแห่งมาขอแบบ และนิมนต์ไปก่อสร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา
วัดลัฏฐิกวัน แปลว่า "สวนตาลหนุ่ม" แรกสร้างใหม่ ๆ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดป่า" เนื่องจากตั้งอยู่ในป่าดอนสูง เรียกกันว่า "บ่าโนนรัง" ซึ่งก่อนหน้านั้นบ้านชะโนดมีบ้านเรือนเฉพาะแต่ชายฝั่ง แม่น้ำโขงเท่านั้น เหนือวัดมโนภิรมย์ไปตามริมห้วยจะไม่มีบ้านเรือนและไร่สวนเลย  เพิ่งจะมีหลัง พ.ศ. ๒๔๖๕ มานี่เอง   ณ โนนรังอันเป็นที่ตั้ง  วัดลัฏฐิกวันปัจจุบันก่อน พ.ศ. ๒๔๕๘  มีที่บำเพ็ญสมณธรรมของท่านหอ ห่างจากวัดโนภิรมย์มาทางเหนือตามริมห้วยชะโนด ๒๓๑ วา พระบุ นันทวโรจึงกำหนดที่แห่งนี้เป็นที่สร้างวัดใหม่
         พระบุ นันทวโร ได้กลับไปอยู่บ้านเดิม ๕ ปี การซ่อมแซม ต่อเดิมและปฏิสังขรณ์ทุกอย่างเรียบร้อย โดยที่ท่านอยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดมโนภิรมย์อยู่ ท่านจึงมอบหน้าที่ให้พระแพงซึ่งเป็นพระลูกวัดที่มีอาวุโส เป็นผู้ปกครองภิกษุสามเณรในวัดมโนภิรมย์  ท่านจะไปสร้างวัดใหม่ ป่าโนนรัง ดังกล่าวแล้ว
วัดลัฏฐิกวัน สร้างขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ บีเถาะ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๕ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ (หากเป็นวันพฤหัสบดีจะตรง กับ ข้างขึ้น ๒ ค่ำ วันที่ ๑๕) โดย สร้างพัทธสีมาขึ้นแทนที่บำเพ็ญสมณะธรรมของท่านหอให้สมบูรณ์แบบ ในปีเดียวกันนั้นเองได้สร้างพระเจดีย์ขึ้น จากนั้นการก่อสร้างวัดใหม่ก็ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีกุฏิรูปจตุรมุข ศาลาการเปรียญ รอยพระพุทธบาท จำลอง สังเวชนียสถานจำลอง คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และถวายพระเพลิง สระอโนดาตจำลอง ปลูกตาลไว้ เป็นกำแพงชั้นใน จึงให้ชื่อว่า "วัดลัฏฐิกวัน"
โบราณสถานและปูชนียสถานที่มีในวัดนี้ คือ
         ๑. พัทธสีมา สร้างขึ้นแทนของเดิม ภายในเป็นพระพุทธรูป ตอนแสดงปฐมเทศนาแก่บัญจวัดคีย์ มีภาพเขียนผนังแสดงเรื่องชาดก ๑๐ ชาติ
         ๒. พระธรรมเจดีย์ เป็นเจดีย์ขนาดกลาง กว้างด้านละ ๒ วา ๒ ศอก สูง ๖ วา ๒ ศอก รูปทรง จำลองพระธาตุพนมองค์เดิมก่อนที่ กรมศิลปากรมาปฏิสังชรณ์ ภายในบรรจุพระไตรปิฎกที่เหลือจากไฟไหม้ ซึ่งใช้การไม่ได้ จึงเรียก "พระธรรมเจดีย์"  มีงานนมัสการทุกปีมาจนถึงบัดนี้  แต่พระธรรมเจดีย์ได้พังทลายตามสังขารธรรมเมื่อวันที่ ๑๑ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๐๖.๐๐ น.
         ๓. รอยพระพุทธบาทจำลอง ขนาดกว้าง ๖๐ ช.ม. ยาว ๑๒๐ ช.ม. เป็นหินคานแกะสลักตามพุทธประวัติ
         ๔. สระอโนดาตจำลอง กว้างยาว ๑๐ วาด้านเท่า จำลองรูป รามเกียรติ์แสดงกำเนิดฝน บัจจุบันชำรุดผุพังไปมากแล้วแต่ยังเหลือให้เห็นร่องรอยอยู่  
         ๕. สังเวชนียสถาน มีพุทธประวัติตอนประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และถวายพระเพลิงเป็นพระพุทธรูปและรูปปั้นด้วยอิฐถือปูน แต่ประณีตสวยงามโดยช่างพื้นถิ่น  มีมณฑปหลังคาที่เต็มไปด้วยศิลปกรรมและลวดลายควรแก่การสักการะบูชา
         นอกนั้นมีพระเจ้า ๕ พระองค์สร้างไว้ในศาลาโรงธรรมส่วนกุฏิมีได้มีการเปลี่ยนแปลงซ่อมแซมหลายครั้งแล้ว ธรรมชำรุดรื้อและสร้างใหม่ขึ้นแทนแล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมาได้มีการก่อสร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุในวัดนี้ ดังนี้ คือ
         ๑. โบสถ์วัดลัฏฐิกวัน เดิม พระพุทธรูปปางตรัสรู้และผจญมารนั้น เบ็นพระพุทธรูปกลางแจ้งไม่มีมณฑปหลังคา พระครูโอภาสธรรมกิจเจ้าอาวาสและทายกทายิกา เห็นว่าควรจะมีหลังคา จึงคิดจะสร้างมณฑปขึ้น มุงหลังคา ก็มีพระเถระหลายรูปแนะนำสร้างเป็นรูปวิหารเสีย เพราะวัดนี้ ยังไม่มีวิหาร จึงพร้อมกันสร้างเป็นวิหารขึ้นโดยภายในยึดเอาพระพุทธรูป องค์เดิมเป็นพระประธาน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐
         ๒. ศาลาการเปรียญ เนื่องจากศาลาเก่าเป็นศาลาขนาดเล็กซึ่ง เหมาะสำหรับสมัยนั้น โครงสร้างเป็นไม้ทั้งสิ้น พื้นเป็นอิฐปูน ส่วนไม้ได้ชำรุดผุพังไปตามเวลา เจ้าอาวาส ทายกทายิกา และพุทธศาสนิกชน จึงพร้อมใจกันก่อสร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ และเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ ซึ่งเป็นปีที่บ้านชะโนดมีอายุครบ ๓๐๐ ปี และวัดมีอายุ ๗๒ ปี (ปัจจุบัน บ้านชะโนด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีอายุ ๑๐๗ ปี)
         ๔. พระสมเด็จองค์ปฐม (ชำระหนี้สงฆ์ องค์ที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๖๑
         ๕. กุฏิเจ้าอาวาสทิศตะวันตก พ.ศ. ๒๕๖๓
         ๖. กุฏิสงฆ์ไม้ ๑ หลัง ทิศตะวันตก พ.ศ. ๒๕๖๓ 
         ๗. กุฎิสงฆ์อาคารปูน ๒ หลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
         ๘. พระสมเด็จองค์ปฐม ชำระหนี้สงฆ์ องค์ที่ ๒และ๓  พ.ศ. ๒๕๖๓
         ๙. ห้องน้ำ ทิศเหนือ พ.ศ. ๒๕๖๓
         ๑๐. โรงครัวส่วนต่อเติมระหว่างศาลาโรงกับห้องน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔
         ๑๑. พระประจำวันเกิด วันพุธกลางคืน (ราหู) ปางป่าเลไลย์  กำลังก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๕

         รายนามเจ้าอาวาสวัดลัฏฐิกวันอดีต-บัจจุบัน
         ๑. พระอุบัชฌาย์ บุ นันทวโร พ.ศ. ๒๔๕๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๐
         ๒. พระกร ภิสสโร พ.ศ. ๒๔๘๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๓
         ๓. พระนิตย์ นิติสาโร พ.ศ. ๒๔๘๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๘
         ๔. พระแก้ว กันทสีโล พ.ศ. ๒๔๘๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๑
         ๕. พระสุมา ธัมมธโร พ.ศ. ๒๔๙๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๔
         ๖. พระอธิการคำพุ โอภาโส  พ.ศ. ๒๔๙๔ ถึง พ.ศ.๒๕๑๐ (รักษาการ)
         ๗. พระครูโอภาสธรรมกิจ (พระอธิการคำพุ โอภาโส) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ถึง ๒๕๔๙
         ๘. พระครูกิตติปัญโญภาส พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึง ๒๕๕๙
         ๙. พระอธิการโสฬส สญฺญโม พ.ศ. ๒๕๖๐ ถึงปัจจุบัน

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : บัญชีธนาคารวัดลัฎฐิกวัน (1.44 mb)

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระอธิการโสฬส สญฺญโม

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 30-06-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 22-07-2565

พระอิสระ ผลญาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 22-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

อุโบสถ์เก่าขึ้น...

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

เปิดดู 24 ครั้ง

เรื่องราวสังเวช...

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

เปิดดู 32 ครั้ง

วิหารประดิษฐานพ...

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

เปิดดู 31 ครั้ง

สระอะโนดาต ขึ้น...

ข้อมูลเมื่อ : 10-07-2565

เปิดดู 28 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น