สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code เมืองน้อย

รหัสวัด
04330309003

ชื่อวัด
เมืองน้อย

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2450

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2475

ที่อยู่
วัดเมืองน้อย

เลขที่
146

หมู่ที่
7

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
เมืองน้อย

เขต / อำเภอ
กันทรารมย์

จังหวัด
ศรีสะเกษ

ไปรษณีย์
33130

เนื้อที่
14 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา

เว็บไซต์
คลิกดู

มือถือ
0986865028

คุณสมบัติวัด

เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)

จำนวนเข้าดู : 53

ปรับปรุงล่าสุด : 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 09:05:18

ข้อมูลเมื่อ : 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 20:33:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวิติการตั้งวัดของบ้านเมืองน้อยนั้น ไม่มีผู้ใดจำได้แน่นอน แต่ชาวบ้านได้เล่าสืบกันมาว่า ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธโดยเคร่งครัด เข้าวัดฟังธรรม จำศีล ภาวนา มีความเกรงกลัวต่อบาป ยึดมั่นในประเพณีศาสนาสืบมาจนปัจจุบัน จึงเชื่อได้ว่าการสร้างวัดนั้นน่าจะมีพร้อมกับการตั้งหมู่บ้าน คือประมาณ ปีพ.ศ ๒๓๒๓ เพราะสัญลักษณ์ที่บ่งบอกแห่งความเก่าแก่ชองการสร้างวัดที่ประจักษ์แก่สายตาของบุตรหลานก็คือ วัดเก่า ซึ่งตั้งอยู่ท่างทิศตะวันตกของหมู่บ้านติดกับหนองวัด มีโบสถ์เก่าเป็นอนุสรณ์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 200 ปี ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งมีต้นหมาก มะพร้าว มะม่วง และอื่นๆ .โดยเฉพาะปัจจุบันเป็นที่อนุรักษ์ป่าไม้เป็นอย่างดียิ่ง
          ส่วนเจ้าอาวาสวัดนั้น ไม่ทราบแน่นอนว่าเป็นพระรูปใด เริ่มแรก เพียงทราบจากคนเฒ่าคนแก่ได้เล่าและยืนยันว่ารู้เห็นที่พอจะจำได้มีชื่อดังต่อไปนี้
          1. พระอธิการโท พระรูปนี้เป็นผู้เฉลียวฉลาด ทำให้วัดมีความเจริญก้าวหน้า เพราะเคยจำอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
          2. พระอธิการฮุย
          3. พระอธิการสีดา บุญเสนอ
          4. พระอธิการบุญ เขียวอ่อน
          5. พระอธิการแพง
          6. พระอธิการมี
          7. พระอธิการสา ( สุริยะ คำศรี )
          8. พระอธิการนวล ( ปู่คำศรี ) น้องชายสุริยะ คำศรี
          9. พระอธิการมั่น
          ๑๐. พระอธิการเพ็ง
          ๑๑. พระอธิการหัน
          ๑๒.พระอธิการจันทร์แดง
          ๑๓.พระอธิการพรมมา
          ๑๔.พระครูอนุรักษ์กันทรารมย์ (หลวงปู่เบ้า คมฺภีโร)
          ๑๕.พระอ่อน     บุญเสนอ
          ๑๖.พระบัญชา
          ๑๗.พระล้ำ
          ๑๘.พระภิกษุเนียม โสคนฺธิโก ( กำนันเนียม บุญเสนอ)
          ๑๙.เจ้าอธิการบุญเติม  ยโสธโร
          ๒๐.พระครูอนุรักษ์กันทรารมย์ (หลวงปู่เบ้า คมฺภีโร)
          ๒๑.พระครูอนุเขตมงคลการ (หลวงปู่คำพันธ์ เตชธมฺโม)
          ๒๒.พระครูอนุเขตสุนทร (หลวงพ่อประสิทธิ์  ติกฺขญาโณ)
         
          วัดเก่าเริ่มเป็นวัดร้าง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2451 สมัยพระอธิการมั่น เป็นเจ้าอาวาส สาเหตุที่วัดร้าง
นั้นมีเรื่องเล่าว่า มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ นายจันดี ได้ปีนขึ้นต้นกระดังงาในวัด แล้วพลัดตกลงมาถึงแก่ความตายทันที อีกทั้งพระภิกษุ สามเณรในวัดทุกรูปได้เกิดอาพาธพร้อมกัน และเรื้อรังอยู่ประมาณปีเศษที่มรณภาพไปก็มี ที่อยู่ก็กระจัดกระจายไปจำพรษาที่วัดอื่น ๆ ส่วนพระที่อยู่วัดก็ได้มีการประชุมปรึกษาหารือกับทายกทายิกาว่าสมควรทำอย่างไรดี ที่ประชุมลงมติให้สร้างวัดใหม่ ชาวบ้านจึงพร้อมกันเลือกที่โนนหนองกระสุนกับหนองยางสิม เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสม โดยยึดถือประเพณีว่า ต้องทำการเสี่ยงทายเสียก่อน แต่ปรากฏว่าเสี่ยงทายไม่ได้จึงย้ายมาเลือกที่ทิศตะวันตกของหนองแซว หนองบอน และหนองตาสวน ( หนองที่ติดกับกำแพงวัดด้านทิศตะวันออกปัจจุบัน ) ซึ่งเป็นบริเวณที่เสี่ยงทายได้ตามความประสงค์คือบริเวณที่ตั้งวัดในปัจจุบัน โดยมีพระอธิการมั่น เป็นผู้นำฝ่ายสงฆ์ ( ส่วน ส่วนเสมอ ) เป็นผู้นำชาวบ้านได้หาไม้มาสร้างกุฏิเมื่อ พ.ศ.2452 ตรงกับปีระกา จ.ศ. 1271 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2453
         ครั้นต่อมาพระอธิการมั่น ร่วมกับพระเพ็ง พระหัน และพระภิกษุสามเณรในวัดร่วมกับชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญ ( หัวแจก ) ด้วยไม้เสากลม ( ต้นใหญ่ ) วัดโดยรอบได้ 14 กำมือ ( กำคือการนับวัดแบบโปราณ ) มีประตูบันไดขึ้นลงทั้งสองข้าง สร้างเสร็จ พ.ศ. 2455 ตรงกับปีชวด จ.ศ.1274 ปีแปดสองหน จนถึง พ.ศ. 2493 จึงมีการรื้อถอนปลูกสร้างใหม่ มีอายุได้ 39 ปี
         เมื่อสร้างศาลาการเปรียญเสร็จแล้ว พระอธิการมั่นได้ลาสิกขาบท ต่อมาพระเพ็งได้เป็นเจ้าอาวาสแทนและได้ลาสิกขาบทเช่นกัน พระหัน พระอธิการจันทร์แดง เป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ.2467 ปีชวด พระอธิการจันทร์แดงได้มรณภาพที่วัดเมืองน้อยด้วยโรคยาเบื่อ (ยาสั่ง ) จากอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก  ต่อมาพระอธิการพรมมาได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้หนึ่งปี จึงย้ายไปอยู่ที่วัดหนองมุข
           10. พระอุปัชฌาย์เบ้า คมฺภีโร  (พระครูอนุรักษ์กันทรารมย์) เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองน้อยเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๖๙ โดยอุปสมบท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐  ที่วัดเมืองน้อยโดยพระอุปัชฌาย์เขียว  ขนฺติโก  เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุปัชฌาย์เบ้านี้ เป็นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษาเป็นผู้ที่มีความขยันขันแข็งและมีฝีมือในทางการช่างท่านได้ใช้สติปัญญาความรอบรู้ความสามารถพัฒนาวัดวาอารามอย่างเต็มความสามารถ  ท่านได้ริเริ่มวางแผนผังก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม เพื่อสร้างศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น ควบคู่กับการอบรมฝึกฝนธรรมปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตใจ ให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมสัมมาอาชีพเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  ผลงานที่ท่านได้พยายามสร้างสรรค์ตลอดมาอย่างสม่ำเสมอได้รับความร่วมมือความเลื่อมใสศรัทธาจากชาวบ้านเมืองน้อยตลอดมาและท้องที่ใกล้เคียงอย่างดียิ่ง  ดังจะเห็นได้จากผลงานของท่านพอสังเขปดังนี้
     ๑.  ด้านการศึกษา ศาสนา
           -พ.ศ. ๒๔๒๒  เรียนคัมภีร์มูลกัจจายนะเดิม ที่วัดศรีธาตุ  ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานี
           -พ.ศ. ๒๔๖๔  เรียนคัมภีร์อภิธรรมปิฎก ณ  สำนักเรียนวัดสว่าง ตำบลไผ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
           -พ.ศ. ๒๔๖๕  สอบได้นักธรรมชั้นตรีในสนามหลวง
           -พ.ศ. ๒๔๖๙  ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดเมืองน้อย
           -พ.ศ. ๒๔๗๕   ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะหมวดตำบลเมืองน้อย ละทาย ทาม ๓  ตำบล
           -พ.ศ. ๒๔๗๗   ได้เป็นอุปัชฌาย์ในแขวงกันทรารมย์
           -พ.ศ. ๒๔๙๑   ได้ดำรงตำแหน่งเป็นองค์การสาธารณูปการ  อำเภอกันทรารมย์
           -พ.ศ. ๒๔๙๖   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรประเภทสามัญในนาม 
                              “พระครูอนุรักษ์กันทรารมย์”
       ๒. ผลงานด้านก่อสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุได้แก่
          -พ.ศ. ๒๔๗๐  สร้างกุฎิ ๑ หลัง ด้วยไม้มุงกระดานเกร็ด เป็นกุฎิทรงไทยแฝด  ๓ หลังชาวบ้านรุ่นก่อนเรียก
                            ชื่อว่า   กุฎิทุ่ง เพราตั้งอยู่ทางริมทุ่งนาทางทิศใต้ของวัด
          -พ.ศ. ๒๔๗๑  สร้างอุโบสถ ๑ หลัง โดยใช้อิฐเผาเอง  ซึ่งเป็นโบสถ์ที่รื้อก่อนหลังที่สร้างปัจจุบัน  รื้อเพื่อปลูก
สร้างก่อนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐
          -พ.ศ. ๒๔๗๕  สร้างกุฎิ ๑หลัง ชาวบ้านเรียกว่า “กุฎิมุข” โดยสร้างทรงไทยมุงสังกะสี และสร้างแบบมีมุข ๒ หน้า
          -พ.ศ. ๒๔๗๖  สร้างโรงเรียนปริยัติธรรม  ๑ หลัง
          -พ.ศ. ๒๔๗๘  ขุดสระน้ำเพื่อสาธารณะประโยชน์ที่หนองวัดและ หนองบอน
          -พ.ศ. ๒๔๘๐  สร้างโรงเรียนประชาบาลเมืองน้อย (แบบป. ๑  ปัจจุบัน)
          -พ.ศ. ๒๔๘๕  สร้างกำแพงวัดด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก โดยเผาอิฐเองที่หนองยาง
          -พ.ศ. ๒๔๙๖  สร้างศาลาการเปรียญ (หัวแจก) ๑ หลัง คือหลังที่กำลังรื้อถอน ใน ปีพ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อทำการสร้างใหม่จนแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ พอในปี ๒๕๖๓ ได้ทำการเปลี่ยนหลังคาและทาสีใหม่
          -พ.ศ. ๒๕๑๑  สร้างโบสถ์  ๑ หลัง โดยใช้เวลา  ๑๑ เดือนและได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ จนแล้วเสร็จ ปี ๒๕๕๔
           ในขณะที่พระครูอนุรักษ์กันทรารมย์เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองน้อย ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่หลายวัด ตามความเชื่อของบรรพบุรุษว่า หากสร้างเสนาสนะเสร็จแล้วต้องย้ายที่ชั่วคราว จึงต้องมีพระภิกษุในวัดรักษาการชั่วคราว ทั้งนี้เพราะท่านมีความคิดที่จะฝึกพระลูกวัดให้มีความรับผิดชอบ คือ ในขณะที่จำพรรษาที่วัดสระสิม บ้านผึ้ง ตำบลทาม ได้มอบให้พระอ่อน บุญเสนอ เป็นเจ้าอาวาสแทนชั่วคราวเป็นเวลา 3 พรรษา และในขณะที่จำพรรษาที่วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบให้พระบัญชา และพระล้ำเป็นเจ้าอาวาส ทั้งตำแหน่งเจ้าคณะตำบลล เมื่อพระภิกษุเนียม โสคนฺธิโก ( กำนันเนียม ) สอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านได้เสนอตำแหน่งเจ้าคณะตำบลแทนท่าน และเสนอตำแหน่งดังกล่าวให้แก่พระภิกษุคำหล้า คณธโม เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองมุข หลังจากที่พระภิกษุเนียมลาสิกขาบทแล้ว เจ้าอธิการบุญเติม ยโสธโร ได้รับมอบหมายเสนอชื่อได้รับตำแหน่งดังกล่าวต่อมา
          หลังจากที่พระครูอนุรักษ์กันทรารมย์ และพระอธิการบุญเติม ยโสธโร มรณภาพ ชาวบ้านเมืองน้อยพร้อมใจกันอาราธนา เจ้าอธิการคำพันธ์ เตชธมฺโม เจ้าอาวาสวัดหนองเทา มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองน้อย เมื่อ ปี พ.ศ. 25๒๔ และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น”พระครูอนุเขตมงคลการ” เมื่อ พ.ศ.253๐  พระครูอนุเขตมงคลการได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลและพระอุปัชฌาย์จนถึงปี พ.ศ.๒๕๔๑ ท่านก็ได้มรณภาพลง
          เจ้าอธิการคำพันธ์  เตชธมฺโม (พระครูอนุเขตมงคลการ) ท่านได้อุปสมบทที่วัดหนองเทา โดยมีพระอุปัชฌาย์เบ้า คมฺภีโร เป็นผู้พระอุปัชฌาย์ ให้ช่วงที่ดำงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่นั้น ได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดเมืองน้อย ดังนี้
          พ.ศ. ๒๕๓๖      ได้ร่วมกับชาวบ้านได้รื้อถอนศาลาการเปรียญ
          พ.ศ.๒๕๓๘       ได้ฉลองสมโภชศาลาการเปรียญหลังใหม่
          พ.ศ.๒๕๓๙       สร้างเมรุ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
หลังจากพระครูอนุเขตมงคลการได้มรณภาพลงชาวบ้านเมืองน้อยจึงได้ปรึกษาหารือกันว่าจะไปอาราธนาพระภิกษุรูปใดดีที่มีความรู้ความสามารถมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเมืองน้อยรูปต่อไป สุดท้ายจึงมีความเห็นพร้อมใจกันไปขออาราธนา พระประสิทธิ์  ติกฺขญาโณ รองเจ้าอาวาสวัดบ้านสว่าง ตำบลสว่าง กิ่งอำเภอสว่างวีรวงศ์ (ในขณะนั้น) จากวัดบูรพา (บ้านผึ้ง) ตำบลทาม ท่านได้มาจำพรรษากับพระครูสถิตธรรมวิมล (หลวงปู่คำดี ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดบูรพา ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ และเคยมาช่วยเหลือจัดงานภายในวัดเมืองน้อยหลายงาน อาทิเช่น งานฉลองสมโภชน์ศาลาการเปรียญ เป็นต้น ซึ่งชาวบ้านเมืองน้อยได้ปรึกษากับพระครูสถิตธรรมวิมลเพื่อขออนุญาตท่าน และขออาราธนาท่านพระประสิทธิ์ ติกฺขญาโณ มาเป็นเจ้าอาวาส พระประสิทธิ์ ติกฺขญาโณ ได้รับขันธ์อาราธนาแล้วมาเป็นเจ้าอาวาสเมืองน้อย ในปี พ.ศ.๒๕๔๑
พระอธิการประสิทธิ์  ติกฺขญาโณ (พระครูอนุเขตสุนทร) ท่านได้อุปสมบทที่วัดเจริญศรี อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๔ โดยมีพระครูวิมลคุณากร เจ้าคณะอำเภอบ้านม่วงเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเป็นพระที่มีฝีมือในการก่อสร้างเสนาสนะ อ่านอักษรธรรมได้ ในช่วงที่ท่านมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเมืองน้อยได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดเมืองน้อย ดังนี้
พ.ศ.๒๕๔๑ - ๒๕๔๔      ได้มาสร้างเมรุต่อจากพระครูอนุเขตมงคลการ
พ.ศ.๒๕๔๖ - ๒๕๔๘      ได้สร้างศาลาบำเพ็ญ ขนาดความกว้าง  ๑๑ เมตร ยาว ๒๓ เมตร
พ.ศ.๒๕๔๘                 ได้ขยายอาณาเขตวัดให้กว้างขึ้นกว่าเดิม   
พ.ศ.๒๕๔๙                 ได้รื้อถอนกุฏิหลังเก่าที่ทรุดโทรมและได้สร้างกุฏิหลังใหม่
พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๕๕      ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถจนแล้วเสร็จ
พ.ศ.๒๕๕๗                 ได้ทำการฉลองสมโภชน์อุโบสถ
พ.ศ.๒๕๖๓                 ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญและสร้างห้องน้ำ ขนาด ๒๔ ห้อง
                                 ได้สร้างกุฎีสงฆ์ทรงไทยขึ้นอีก ๔ หลัง
 

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูอนุเขตสุนทร ติกฺขญาโณ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 25-06-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 27-06-2565

พระเทิดศักดิ์ อรุโณ

ข้อมูลเมื่อ : 26-06-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 12-07-2565

พระประทีป อาภากโร

ข้อมูลเมื่อ : 27-06-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 27-06-2565

พระอุดม ปภสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 11-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 11-07-2565

พระเลิศฤทธิ์ กนฺตวีโร

ข้อมูลเมื่อ : 11-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 11-07-2565

พระคำหล้า ยโสธโร

ข้อมูลเมื่อ : 11-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 11-07-2565

พระธนารักษ์ ปสาโท

ข้อมูลเมื่อ : 11-07-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 11-07-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

อุโบสถวัดเมืองน...

ข้อมูลเมื่อ : 26-06-2565

เปิดดู 50 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น