



วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5387 วัด
สำนักสงฆ์
69 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5835 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8997 รูป
สามเณร
791 รูป
แม่ชี
30 รูป
ศิษย์วัด
7 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9829 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
43 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
46 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7535 รูป
ลาสิกขา
22 รูป
มรณภาพ
7 รูป

ข้อมูลทั่วไป
QR Code ศรีฐานธรรมิการาม
รหัสวัด
04490304002
ชื่อวัด
ศรีฐานธรรมิการาม
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
วันที่ 14 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2483
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 18 เดือน กรกฎาคม ปี 2515
ที่อยู่
บ้านเหล่าหมี
เลขที่
100
หมู่ที่
1
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล
เหล่าหมี
เขต / อำเภอ
ดอนตาล
จังหวัด
มุกดาหาร
ไปรษณีย์
49120
เนื้อที่
4 ไร่ 1 งาน 46 ตารางวา
คุณสมบัติวัด
เป็นวัดประชารัฐสร้างสุข
เป็นสำนักปฏิบัติธรรม
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.) ดีเด่น
จำนวนเข้าดู : 53
ปรับปรุงล่าสุด : 22 กันยายน พ.ศ. 2565 15:11:34
ข้อมูลเมื่อ : 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 07:59:00
ประวัติความเป็นมา
ท่านหลวง วุฒิภูบาล ผู้นำหมู่บ้านในสมัยนั้น ได้ก่อตั้ง (สถาปนา) วัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธุ์ 2483 ซึ่งเห็นว่าการตั้งหมู่บ้านต้องมีที่พึ่งพาจิตใจ จึงหาทำเลที่ตั้งวัด หลังจากได้อพยพย้ายบ้านเรือนจากหมู่บ้านเดิมที่เกิดโรคระบาด มาตั้งที่ดงเหล่าหมี เป็นถิ่นที่หมีชุกชุมมาดื่มน้ำที่คำผาหมี และในปีนั้นก็สร้างวัด ขึ้นมา วัดศรีฐานธรรมิการาม (ภาษาอังกฤษ WatseethanDhammikaram)เป็นวัดพระพุทธศาสนา แบบเถรวาท ชนิดคามวาสี(วัดบ้าน) เป็นวัดราษฎร์ ชั้นสามัญ สังกัดมหานิกาย ในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดมุกดาหาร เขตการปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออก ตามกฏมหาเถรสมาคม เริ่มก่อตั้งวัดเมื่อ ๒๓๘๓ ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๕ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐ หมู่ที่ ๑ บ้านเหล่าหมี ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร โดยวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนบ้านเหล่าหมี และศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านเหล่าหมีทั้งหมู่ที่๑ และหมู่ที่๒ ทั้งยังมีพระพุทธรูป เนื้อ ไม้พะยอมแกะสลัก สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๐ พระพุทธลักษณะเป็นพระพุทรูป ปางมารวิชัย ซึ่งเป็น ศิลปะไทย ผสมศิลปะ ล้านช้าง ฐานลายกลีบบัว ( สมัยรัตนโกสินทร์) มีการสลักที่ชายผ้าไม้ใต้ฐานบัวว่า "ธัมมะธีโร" ๑๐ สิงห์ ๒๕๘๐ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "หลวงพ่อพระองค์ดำ" หรือพระองค์ดำ เป็นพระคู่บ้านคู่ชุมชน เป็นที่เคารพสักการะ และเลื่อมใสศรัทธาของชุมชน และผู้ที่มาเยือนมักจะมากราบไหว้ขอพร วัดศรีฐานธรรมิการาม พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา วัดศรีฐานธรรมิการาม (สร้างบ้านแปลงเมือง) เมื่อต้นศตวรรษที่ ๒๓ มีประวัติสืบเนื่องจากการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวชุมชน จากบ้านฝั่งเฮง ในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหรือประเทศลาวในปัจจุบัน สำหรับบ้านผั่งเฮงนั้นอยู่ห่างจากลำน้ำโขงลึกเข้าไปราวๆ ๘๐ กิโลเมตร เมื่อตั้งบ้านแล้วก็อยู่กันนานหลายปี ระยะต่อมาได้เกิดภัยคุกคาม และภัยพิบัติต่างๆ มาสู่หมู่บ้านเป็นระยะๆ และมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ๑. ความอดอยาก ยากจน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประจำหมู่บ้าน ทำนาไม่ได้ เพราะขาดอุปกรณ์การทำนา ผู้ได้ทำนานั้นมีน้อย ได้ข้าวจำนวนไม่พอแก่การบริโภค ต้องอาศัยการเข้าป่าแบกเสียมไปขุดหัวกลอย มาทำเป็นอาหารบริโภคแทนข้าวเพื่อการอยู่รอด ๒.เกิดศึกฮ่อ ชาวฮ่อและโจรผู้ร้ายไอ้ขโมยชุกชุม มีการปล้นเสบียง จี้เอาของมีค่า ฆ่าชิงทรัพย์ ซึ่งชาวบ้านมีของสำคัญอยู่ ๒ อย่าง คือ ฆ้องทอง และหม้อทองสำริด ซึ่งเป็นที่น่าเกรงขาม ชาวบ้านจึงเกรงว่า โจรจะมาปล้นไป จึงนำไปฝังไว้ที่โคนต้นงิ้วใหญ่นอกหมู่บ้าน ฝังไว้ใกล้เคียง เพราะเหตุนั้นเอง จึงนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านผังเฮียง" แต่ภาษาผู้ไท(ภูไท)พูดเสียงเพี้ยนไป จากคำว่า ผัง ออกเสียงเป็น ฝัง จากคำว่า เฮียง ออกเสียงเป็น เฮง จึงได้ชื่อว่า บ้านฝังเฮงตั้งแต่นั้นมา นี่คือที่มาของชื่อหมู่บ้าน ๓.เกิดโรคระบาด คือ โรคฝีดาษ โรคท้องร่วง( อหิวาตกโรค )หรือโรคห่า ทำให้ผู้คนล้มป่วย เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านหวาดหวั่น ซึ่งคนสมัยก่อนคิดว่าเป็นผีปอบผีห่าอาละวาด ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองทำให้คนในบ้านฝั่งเฮง และบ้านใกล้เคียง เช่น บ้านเหล่าสุริยะ บ้านกีบม้า และ บ้านโนนฮัง คิดจะอพยพย้ายถิ่นฐานออกไปจากบ้าน โดยมีหัวหน้า ชื่อ ท้าวหมอก ท้าวก่ำ ท้าวหน้า และท้าวผง เป็นผู้นำสมทบร่วมเดินทางออกจากหมู่บ้าน เพื่อหนีภัยดังกล่าวรวมแล้วมีหลายชนเผ่า หรือหลายชาติพันธุ์ เช่น ผู้ไท (ภูไท) เผ่าโซ่ (กะโส้) และเผ่าข่ากะเลิง ทั้งหมดนี้ต้องหนีออกจากบ้าน เมื่อพร้อมแล้ว จึงเตรียมหอบหิ้วสัมภาระอุ้มลูกจูจูงหลานเดินดุ่งมุ่งหน้าสู่ลำน้ำโขง หวังจะข้ามฟากฝั่งลำน้ำโขงสู่ฝั่งขวากว่าจะถึงฝั่งโขง ก็ใช้เวลาแรมเดือน เมื่อมาถึงฝั่งโขง ส่วนเรือแพ นั้นยังไม่มี ต้องใช้เวลาหลายวันเพื่อสร้างแพขนาดใหญ่ด้วยลำไม้เฮี้ยพอจุคนได้หมดเสร็จแล้วก็เริ่มล่องแพจากตอนใต้ของเมืองสุวรรณเขต ค่อยๆกวัก วิดน้ำค่อยๆพายเคลื่อนเข้าหาฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่บ้านทุ่งเว้าดินแดนสยามคือไทยในปัจจุบัน ห่างจากบ้านท่าไค้นาแลเดี๋ยวนี้ลงไปไปทางใต้แม่น้ำโขง อีก๔๐๐ เมตร พักแรมที่บ้านทุ่งเว้า(ปัจจุบันคือ บ้านท่าไค้ นาแล) ๓ คืนก็เคลื่อนย้ายลงไปทางใต้แม่น้ำโขง อีก๕กิโลเมตร ตรงกับบ้านโพธิ์ไทร แต่ลึกเข้าไปในดงแล้วตั้งบ้านอยู่ใหม่ ให้ชื่อว่า "บ้านดงบัง" ห่างจากบ้านโพธิ์ไทรไปทางทิศตะวันตก ๒ กิโลเมตร อยู่บ้านนี้นาน ๖๐ปี ได้เคยไปพบเห็นพื้นที่ดินลึกเข้าไปในดงช้างป่าเสือ เห็นเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์มั่นคง จึงตกลงกันว่าจะต้องย้ายออกจากบ้านดงบัง ไปตั้งบ้านอยู่ใหม่พร้อมกันเคลื่อนย้ายออกจากบ้านดงบัง เดินมุ่งหน้าไปสู่ทิศตะวันตก ไปตั้งบ้านอยู่ใกล้ทุ่งนาทราย และ นอกนั้นลุยน้ำข้ามห้วยบังอี่เข้าไปในดง ย้ายมาอีกตั้งบ้านใหม่อีก เรียกบ้านนั้นว่า "บ้านเหล่ากลาง" (ณ บริเวณใกล้สะพานห้วยบังอี่ในปัจจุบัน เรียกว่า บ้านฮ้าง) เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย คือเกิดโรคระบาดขึ้นอีก จึงต้องหหาชัยภูมิใหม่ในการตั้งบ้าน โดยย้ายเข้าไปในที่อยู่ของ หมี มีหมีชุกชุม เรียกว่า "คำผาหมี" มาตั้งบ้าน ชื่อว่า "บ้านเหล่าหมี"(บางท่านเล่าว่ามีกวางหมี หรือกวางตัวสีดำ วิ่งมาบริเวณนั้น) การย้ายมาครั้งนั้นโดยการนำของ ๑. หลวงวุฒิภูบาล ๒. หลวงสุวรรณะ ๓. หลวงบุปผา หรือญาคูบุปผา ๔. ท้าวเพียสุขะเสน ๕ ท้าวซาภูวงค์ ๖. ขุนเทพชาดา ๗. ยายผุย ๘. ยายทุมมะดี ๙. ขุนหงษ์วงค์วรรณ จนมาถึงสถานที่ตั้งชุมชนในปัจจุบัน จึงเห็นว่าพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคำผาหมี เป็นที่เหมาะแก่การตั้งเป็นวัด คือวัดศรีฐานธรรมิการามในปัจจุบัน ได้บุกล้างถางพงหญ้า เนื่องจากการตั้งชุมชนต้องมีศูนย์รวมจิตใจ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ท่านหลวงวุฒิภูบาล (พ่อวุฒิภูบาล) เป็นผู้นำ ตั้งวัด เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๓ (ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๓ ปีเถาะ) พื้นที่ของวัดมี ๔ ไร่ และมีธรณีสงฆ์ ๒ งาน อาณาเขต ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดกับ ถนนข้างลานเอนกประสงค์ ทิศใต้ มีอาณาเขตติดกับ คุ้มขุนหงษ์วงค์วรรณ ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดกับ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลเหล่าหมี และคุ้มก้อนมีชัย ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดกับ คุ้มวุฒิภูบาล ศาสนาสถานและอื่นๆในวัด อุโบสถ ขนาด ๓ ห้อง หลังคาทรงไทย มีช่อฟ้าใบระกา มุงกระเบื้องเกล็ด หน้าบันถือปูนปั้นลาย สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารสองชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ข้างล่างเป็นปูน หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเหล่าหมี หอพระองค์ดำ สร้างคอนกรีตพื้นกระเบื้อง ลักษณะทรงไทยตรีมุข กุฏิ ( กุฏิเจ้าอาวาส ) ๑ หลัง มีป้าย มีสำนักงานเจ้าคณะตำบลเหล่าหมีอยู่ข้างๆ , กุฏิพระภิกษุ ๑ หลัง อาคารหอตักบาตร มีช้างจำลอง๑ ม้าจำลอง๑ เกวียน๑ หมีจำลอง๑ หอระฆังติดกับตัวศาลาการเปรียญ เดิมมีระฆัง ฆ้อง กลองเพล และโปง(ระฆังไม้) ปัจจุบันเหลือระฆังอยู่ แต่ฆ้อง กลองเพลและโปงย้ายมาไว้ใต้กุฏิพระ โรงครัว ๑หลัง ลำดับเจ้าอาวาส รูปที่ ๑ พระบุปผา(อาญาคูบุปผา) รูปที่๒ พระโชค(ญาคูโซค) รูปที่๓ พระเบ็ง (ญาคูเบ็ง) รูปที่๔ พระทอง (หลวงพ่อทอง) รูปที่๕ หลวงพ่อก้อน รูปที่๖ พระอาจารย์แกวน รูปที่๗ พระมหายอด รูปที่๘ พระอธิการสุเล็ง ธมฺมธีโร พ.ศ. ๒...........- พ.ศ. ๒๕๒๒ รูปที่๙ พระครูสิริธรรโมภาส (ผั่น จตฺตสลโล) พ.ศ. ๒๕๒๓-รูปปัจจุบัน พระครูสิริธรรโมภาส (ผั่น จตฺตสลโล = จัตตะสัลโล ) ตำแหน่งในทางปกครองพระสังฆาธิการ = เจ้าคณะตำบล (จต.ชอ.) , เจ้าอาวาส วัดราษฎร์ (จร.) , ตำแหน่งหน้าที่ = พระอุปัชฌาย์ เขตตำบลเหล่าหมี , พระธรรมทูต สายที่ ๖ ตำแหน่งงาน = ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.) เหล่าหมี , ประธานสนามสอบธรรมสนามหลวง (หน่วยสอบวัดศรีฐานธรรมิการาม) กิจกรรมสำคัญในวัด กิจกรรมตามโอกาสวันสำคัญ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ๑) วันปีใหม่ สวดมนต์ข้ามปี ตักบาตร ๒) วันสงกรานต์ แห่ดอกไม้ สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว ไหว้พระขอพร และก่อเจดีย์ทราย ๓) เวียนเทียนวันคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ๔) งานทำบุญตักบาตร รักษาศีล ทุกวันพระ ๘, ๑๔ และ ๑๕ ค่ำ ตลอดปี ๕) งานบุญตามฮีต๑๒ และคอง๑๔ อาทิ บุญห่อข้าวสาก คล้าย(ประเพณีสารทเดือนสิบ) บุญห่อข้าวประดับดิน บุญกองข้าว เป็นต้น ๖) งานบุญประเพณีประจำปี ๗)วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น |
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระครูสิริธรรโมภาส (ผั่น) จตฺตสลฺโล
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 30-06-2565
ปรับปรุงล่าสุด : 27-01-2566
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
เทศกาลงานบุญประเพณี
ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม
สื่อมีเดีย
ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม
ทรัพย์สินของวัด
ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด
โครงการและกิจกรรมเด่น
ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น