สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
363 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5833 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ปูชนียวัตถุสถาน

พิพิธภัณฑ์เรือโบราณ

รายละเอียด
นายบุญส่ง  เนินทราย  ชาวบ้านเชียงเพ็ง  ซึ่งเป็นผู้ดูแลเครื่องสูบน้ำได้พบซากเรือโดยบังเอิญ  เมื่อวันที่  ๕  มิถุนายน  ๒๕๕๘  บริเวณริมตลิ่งของลำน้ำเซบาย  ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล  ลักษณะที่พบคือด้านข้างของเรือโผล่พ้นขึ้นมาบนพื้นทรายริมตลิ่ง  โดยมีส่วนหนึ่งทอดตัวลงไปในน้ำ  และอีกด้านหนึ่งหายเข้าไปในผนังดินริมตลิ่ง  วางตัวในลักษณะขวางกับแนวลำน้ำ  วัดขนาดส่วนที่มองเห็นได้  ๑๕  เมตร 
          วันที่  ๑๑  มิถุนายน  ๒๕๕๘  นายพรเทพ  รูปหล่อ  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑  ตำบลเชียงเพ็ง  ได้แจ้งไปยังสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร  และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร  ได้แจ้งไปยังกลุ่มโบราณคดี  สำนักศิลปากรที่  ๑๑  อุบลราชธานี  ว่ามีการพบซากเรือบริเวณริมฝั่งลำเซบายบ้านเชียงเพ็ง หมู่ที่ ๗  อำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร  และได้มีการสำรวจเบื้องต้นในวันที่  ๑๖  มิถุนายน  ๒๕๕๘ 
          วันที่  ๑๗  มิถุนายน  ๒๕๕๘  นายพรเทพ  รูปหล่อ  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑ และนายคำพูล  กอมะณี  ผู้ใหญ่บ้านหมู่  ๗  พร้อมด้วยลูกบ้านลงความเห็นร่วมกันประสงค์จะนำเรือขึ้นมาเพื่อเก็บรักษาไว้ที่วัดเชียงเพ็ง  จึงทำการขุดตรวจสอบด้วยแรงงานชาวบ้านประมาณ  ๓๐  คน  โดยมีนักโบราณคดีควบคุมอย่างใกล้ชิด  ปรากฏว่าไม่สามารถขุดซากเรือขึ้นมาได้  เนื่องจากเรือมีขนาดใหญ่  มีส่วนที่จมหายไปในตลิ่งและบางส่วนจมอยู่ในลำน้ำ  โดยไม่สามารถหาขอบเขตและขนาดของเรือได้  จึงยุติการขุดไว้ชั่วคราว 
          วันที่  ๑๘  มิถุนายน  ๒๕๕๘  ได้นำรถแบ็คโฮ  จำนวน  ๒  คัน  เข้าทำการขุด  พร้อมด้วยแรงชาวบ้านนับร้อยคน  และชาวบ้านที่มาให้กำลังใจนับหมื่นคน  ตลอดระยะเวลาในการขุด จนถึงวันที่  ๒๑  มิถุนายน  ๒๕๕๘  จึงสามารถเห็นขนาดของเรือทั้งลำ และลากขึ้นมาให้พ้นจากลำน้ำได้   
          วันที่  ๒๒  มิถุนายน  ๒๕๕๘  เป็นวันที่สามารถลากเรือขึ้นมาไว้ที่บริเวณตลิ่งด้านบนได้สำเร็จ  พอรอการเคลื่อนย้ายเข้ามาเก็บไว้ที่วัดเชียงเพ็ง
          วันที่  ๒๓  มิถุนายน  ๒๕๕๘  ได้ทำการเคลื่อนย้ายเรือโบราณ  แต่ก่อนเคลื่อนย้าย ผู้นำหมู่บ้านทั้งสองหมู่พร้อมทั้งชาวบ้านได้นิมนต์พระสงฆ์ประกอบพิธีทำบุญตามความเชื่อของชาวพุทธเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่บรรพบุรุษหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว  และทำการเคลื่อนย้ายโดยนำขึ้นรถกึ่งพ่วงบรรทุกน้ำหนัก (รถเทลเลอร์) และรถแบ๊กโฮ  ๒  คัน  มาเก็บรักษาไว้ที่วัดเชียงเพ็ง จนปัจจุบัน
ข้อมูลทั่วไป
          เรือโบราณมีขนาดยาว  ๒๗.๕๐  เมตร  กว้าง  ๓.๕๐  เมตร  สูง  ๑.๕๐  เมตร  และมีกระดูกงูจำนวน  ๖๘  ข้อ  จัดอยู่ในประเภทเรือกระแซง  หรือเรือหมากกระแซง  คล้ายกับเรือเอี้ยมจุ๊นในภาคกลาง  แต่มีขนาดยาวกว่าเรือเอี้ยมจุ๊นสามเท่า  รูปร่างของเรือเรียวแคบบริเวณหัวท้าย  และกว้างออกบริเวณกลางลำ  บริเวณท้ายเรือมีการปูกระดานกว้างประมาณ  ๒  เมตร  เทคนิคการต่อเรือเป็นแบบข้างกระดานมักพบในอีสาน  โดยจะวางกระดูกงูจากนั้นจะเอาไม้กระดานมาต่อเป็นตัวยึดเรือด้วยตะปูไม้และตะปูเหล็ก  ระหว่างรอยต่อของกระดานจะอุดด้วยฝ้ายหรือด้าย หรือเชือกชุบน้ำมันยางเพื่อไม่ให้น้ำเข้าและเอาชันยาเรือทับอีกชั้นหนึ่ง  ความสมบูรณ์ของเรือที่พบประมาณ  ๘๐ %  และยังมีสภาพแข็งแรง 
          สรุปความคาดการณ์  จากหลักฐานเรือโบราณที่พบมีลักษณะเป็นเรือสินค้าบรรทุกข้าวเมื่อประมาณ  ๑๐๐ – ๒๐๐  ปีที่ผ่านมา  โดยเทียบเคียงกับประวัติการตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ และจากการบอกเล่าของคนแก่เฒ่าที่มีอายุ ๘๐ - ๙๐  ปี ขึ้นไป  ว่าในลำเซบายในอดีตเคยมีเรือขนข้าวของ “เจ๊กซิว” ชาวจีนที่เป็นพ่อค้าขายข้าวในสมัยนั้น  แต่จากการบอกเล่าของคนสมัยโบราณ บอกว่าเรือของเจ๊กซิวที่ขายข้าวไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าลำนี้  ซึ่งลำนี้ยังไม่เคยพบเห็นมาก่อน  จึงพอคาดการได้ว่าเรือลำนี้อาจจะล่มก่อนคนยุคอายุ ๙๐ ปีมาแล้ว  และไม่มีใครเล่าต่อกันมาจึงไม่สามารถสืบประวัติที่แท้จริงได้                                                                                                                        

โดย : วัดเชียงเพ็ง

ที่อยู่ : ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

จำนวนเข้าดู : 24

ปรับปรุงล่าสุด : 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 18:45:10

ข้อมูลเมื่อ : 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 18:45:10

 
 
 
 

ปูชนียวัตถุสถาน 10 อันดับ

พระธาตุพุทธเจดีย์ใหญ่ไพรบึง

โดย : ไพรบึง

ข้อมูลเมื่อ : 14-12-2566

เปิดดู : 55

พระศรีพัฒนโคดม

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2566

เปิดดู : 143

พระพุทธสุเมธคุณ

โดย : วัดป่านานาชาติ

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

เปิดดู : 103

บริเวณวัดหนองนกเขียน

โดย : วัดหนองนกเขียน

ข้อมูลเมื่อ : 19-04-2566

เปิดดู : 98

พระประธาน

โดย : วัดหนองนกเขียน

ข้อมูลเมื่อ : 17-04-2566

เปิดดู : 125

พระแก้วมรกตจำลอง

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2566

เปิดดู : 245

พระองค์ดำ(หลวงพ่อองค์ดำ)

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 30-06-2565

เปิดดู : 94

หลวงพ่อพระพุทธชินราชจำลอง

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2566

เปิดดู : 110

พระอุโบสถ

โดย : มงคลใน

ข้อมูลเมื่อ : 30-06-2565

เปิดดู : 97

พระประธานในอุโบสถ

โดย : มงคลใน

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

เปิดดู : 80