สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ปูชนียวัตถุสถาน

พระธาตุนคร (พระธาตุประจำวันเสาร์)

รายละเอียด
พระธาตุนคร พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ ประดิษฐานที่วัดมหาธาตุ ถ.สุนทรวิจิตร อ.เมือง บริเวณริมฝั่งโขง 
ประวัติ ในระยะแรกที่พระยามหาอำมาตย์(ป้อม) สร้างเมืองนครพนม ขึ้นนั้น มีเพียง วัดมหาธาตุ วัดเดียวเท่านั้นจึงขนามนามว่า วัดมิ่งเมือง(คือวัดมหาธาตุในปัจจุบัน) เป็นวัดใหญ่ประจำเมืองเป็นศูนย์กลางการปกครองการศึกษา มีพระมหาเถระ มีครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ปกคองดูแลและอำนวยการศึกษาอยู่เป็นประจำ และเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการใหญ่น้อย ยุคต่อมา วัดมิ่งเมือง ชาวบ้นทั่วไปเรียกกันติดปากว่า วัดธาตุ ทั้งนี้เพราะผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสู่ลูกหลานฟังเป็นทอดๆ มาว่าที่วัดมิ่งเมืองนี้ มีพระอรหันต์ สารีริกธาตุ บรรจุอยู่ในธาตุเจดีย์องค์หนึ่งในบริเวณวัดมิ่งเมือง มีเจดีย์ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง หลายสิบองค์ เจ้าบ้านผู้ปกครองบ้านเมืองแต่ก่อนนิยมสร้างเจดีย์เป็นที่บรรจุอิฐของบิดามารดาปู่ย่าตายายใว้ในวัด ยิ่งถ้าเป็นผู้ใหญ่บ้านก็นิยมสร้างใว้ในวัดใหญ่ วัดมิ่งบ้านมิ่งเมือง เห็นว่าสมเกียรติ เป็นที่เชิดหน้าชูตามีสง่าราศรี ความนิยมเช่นนี้ก็เลยลุกลามมาถึงประชาชนทั่วไปใครสามารถพอจะทำได้ก็ทำ และตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในวัดจึงเต็มไปด้วยธาตุเจดีย์ สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุอิฐ ซึ่งไม่เป๋นระเบียบเหมือนในปัจจุบัน
      ปี พ.ศ. 2462 พระครูพนมคณาจารย์เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุและเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม คือพระยาพนมครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรภ) ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่หลักบ้านหลักเมืองและนิมนต์พระสงค์ พระผู้ใหญ่ในวัดเข้าร่วมประชุม โดยได้แถลงต่อที่ประชุมว่าอยากจะรื้อถอนธาตุเจดีย์เก่าแก่ คร่ำคราอันระเกะระกะไม่เป็นระเบียบอยู่ในวัดมากมาย เฉพาะอย่างยิ่งอยู่แถวมุมโบสถ์ด้านเหนือและด้านตะวันออก แล้วสร้างพระธาตุนครขึ้นมาใหม่
     ในการสร้างพระธาตุเจดีนี้ ในส่วนที่เป็นลวดลายอันวิจิตรบรรจงตระการตาตลอดจนถึงทรวดทรงขนาดและสัดส่วนนั้น เป็นฝีมือของญาท่าวบุ บ้านหว้านใหญ่ อำเภอมุกดาหาร และญาท่าวม้าว บ้านเสาเล้า อำเภอท่าอุเทน

     หลักฐาน พระธาตุนคร มีลักษณะสี่เหลี่ยวจตุรัส กว้างด้านละ 5.85 เมตร สูง 24.00 เมตรมีรูปร่างตามพระธาตุพนมองค์เดิม รูปทรงตั้งบนฐานใหญ่ 2 ฐาน ต่อลดหลั่นกันตามลำดับ แต่ละฐานมีรูปประตูอยู่ตรงกลางบนประตูเป็นรูปคล้ายบัวบาน มีรูปและลายต่างๆ ข้างประตูทำเป็นเครื่องไม้ดอกไม้ผล รูปพระราชาทรงช้างทรงม้า ต่อจากฐานใหญ่ทั้ง 2 ขึ้นไปแล้วก็มีลักษณะแหลมเรียวขึ้นตามลำดับตอนกลางในด้านทั้ง 4 วิจิตรไปด้วยหมู่ดาวกระจาย(ดอกกระจับ) ทำเป็นมุมเล็กเรียวขึ้นไปอีก แล้วทำเป็นรูปลักษณ์คล้ายกลีบบัวอีก ที่ยอดสูงก็คล้ายดอกบัวตูม ต่อจากนี้จึงเป็นฉัตรทองแดงเหลือง 7 ชั้น ยอดฉัตรนี้มีลูกแก้วเจียรไน 1 ดวง อยู่สูงสุดยอด
     ฐานมีกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน มีซุ้มประตูอยู่ตรงกลางทุกด้าน เนือซุ้มประตูมีรูปปั้นเทพนั่งขัดสมาธิประนมมือ(เทพพนม) ซึ่งเป็นเทพมเหศักดิ์รักษาองค์พระธาตุที่มุมกำแพงมีเสาสูงขึ้นแล้ว ทำเป็นดอกบัวตูมบนยอดเสาภายในกำแพงกว้างด้านละ 13.30 เมตร นอกกำแพงมีธาตุดูกล้อมอีกชั้นหนึ่ง บนธาตุนั้นเป็นที่สำหรับวางดอกไม้ ธูปเทียนนคราวมีงานพิธีต่างๆ
      พระธาตุเจดีองค์นี้ ก่อสร้างเสร็จสิ้นลงในวันเพ็ญเดือนของปี พ.ศ. 2465 จึงได้มีการกำหนดวันที่ทำการฉลอง เพื่อบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำและเงินบรรจุผอบไม้จันทร์แดงที่ได้มาจากพระธาตุเจดีย์ องค์เดิมนั่นเอง ทั้งยังได้เปิดโอกาศให้ประชาชนผู้มีจิตเลื่อมใสได้นำเครื่องลางของขลัง ครุฑ ขอ นอ งา ตระกรุด หรือเพชรนิลจินดาเงินทองตลอดจนพระพุทธรูปเก่าแก่ และของมีค่าอื่นใดที่พระสงฆ์ ฉลองสมโภชซึ่งถือเป็นงานประจำปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกๆ ปี
 

โดย : มหาธาตุ

ที่อยู่ : ต.ในเมือง อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม

จำนวนเข้าดู : 50

ปรับปรุงล่าสุด : 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 19:22:30

ข้อมูลเมื่อ : 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 19:22:30

 
 
 
 

ปูชนียวัตถุสถาน 10 อันดับ

พระธาตุพุทธเจดีย์ใหญ่ไพรบึง

โดย : ไพรบึง

ข้อมูลเมื่อ : 14-12-2566

เปิดดู : 51

พระศรีพัฒนโคดม

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2566

เปิดดู : 140

พระพุทธสุเมธคุณ

โดย : วัดป่านานาชาติ

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

เปิดดู : 95

บริเวณวัดหนองนกเขียน

โดย : วัดหนองนกเขียน

ข้อมูลเมื่อ : 19-04-2566

เปิดดู : 96

พระประธาน

โดย : วัดหนองนกเขียน

ข้อมูลเมื่อ : 17-04-2566

เปิดดู : 123

พระแก้วมรกตจำลอง

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2566

เปิดดู : 243

พระองค์ดำ(หลวงพ่อองค์ดำ)

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 30-06-2565

เปิดดู : 90

หลวงพ่อพระพุทธชินราชจำลอง

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2566

เปิดดู : 108

พระอุโบสถ

โดย : มงคลใน

ข้อมูลเมื่อ : 30-06-2565

เปิดดู : 97

พระประธานในอุโบสถ

โดย : มงคลใน

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

เปิดดู : 80