สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
10 วัด
วัดราษฎร์
5385 วัด
สำนักสงฆ์
70 วัด
ที่พักสงฆ์
364 วัด
วัดร้าง
4 วัด
วัดทั้งหมด
5834 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8967 รูป
สามเณร
800 รูป
แม่ชี
31 รูป
ศิษย์วัด
8 คน
บุคคลทั่วไปชาย
4 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
9810 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
42 รูป
สามเณร
3 รูป
แม่ชี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
45 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7493 รูป
ลาสิกขา
29 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ปูชนียวัตถุสถาน

หลวงพ่อเงิน

รายละเอียด
ประวัติหลวงพ่อเงิน “
....พ.ศ. 2444 – 2445 ในยุคปฏิรูปการปกครอง (ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ท้าวบุญจัน น้องชายพระยาขุขันธ์ ร่วมมือกับท้าวทัน บุตรพระยาขุขันธ์ และหลวงรัตนกรมการเมืองที่หมดอำนาจ หนีไปตั้งตัวเป็นผู้มีบุญ อยู่ที่สันเขาบรรทัดเขตเมืองขุขันธ์ (บริเวณที่เป็นอาณาเขตเมืองกันทรารักษ์หรือบ้านบักดองในปัจจุบัน) ราษฎรเข้าเป็นพรรคพวกจำนวนมากประมาณ 6,000 คน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้โปรดให้ร้อยโทหวั่น ร้อยตรีเจริญ ร้อยตรีอินไปตรวจเมืองขุขันธ์และนำกำลังไปจับท้าวบุญจัน ร้อยโทหวั่น ได้ร่วมกับกรมการเมืองขุขันธ์นำกำลังไปจับท้าวบุญจัน ปะทะกันถึงขั้นตะลุมบอนกับกองระวังหน้าของท้าวบุญจัน เมื่อวันที่ 11 และ 13 มีนาคม พ.ศ. 2444 ยังผลให้ท้าวบุญจันทร์ตายในที่รบ ณ บริเวณพนมปีกกา (ซำปีกกา) กำลังของท้าวบุญจันเป็นเพียงชาวบ้านที่ไม่ได้รับการฝึกแบบทหาร อาวุธก็ไม่มี จึงพ่ายแพ้แตกหนีไปโดยง่าย กำลังของร้อยโทหวั่น ได้ตรวจตราตลอดท้องที่เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ ก็ไม่พบว่ามีผู้มีบุญอีก เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงวิตกในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้มรสารตราพะราชสีห์ใหญ่ที่ 45/12614 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2444 ให้มีพระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลบูรพาส่งข้าหลวงไปตรวจตราเมืองขุขันธ์ และช่วยราชการทางเมืองขุขันธ์ด้วย ในเหตุการณ์ที่ปราบกบฏท้าวบุญจันในครั้งนั้น กลุ่มชนที่กระจัดกระจายเกิดความไม่พอใจ นำโดยนายสิงโต สอดแก้วนำผู้คนไปเผาเมืองพระกันทรารักษ์ และบ้านยายยู (นางทองอยู่ เจริญศรีเมือง เป็นเมียพระกันทรารักษาบาล (อ่อน) ซึ่งเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติ เช่นเงินกำไล เครื่องประดับต่าง ๆ เป็นต้น เงินที่เสียหาย จาการเผาเมืองในครั้งนั้น ยายยูจึงนำมาหล่อเป็นหลวงพ่อเงิน และสมัยต่อมาได้ยุบเมืองกันทรารักษ์ ให้ขึ้นตรงต่อเมืองขุขันธ์ ต่อมาเรียกว่า ตำบลบักดอง หลวงพ่อเงินเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยเงินแท้ ที่ได้รับความเสียหายจากการเผาเมืองในครั้งนั้น น้ำหนัก 70 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง 1 ฟุต 5 นิ้ว สูง 2 เมตร 3 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงาม เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านบักดอง สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุประมากกว่า 100 ปี ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดบักดอง ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ขอขอบคุณ นายอรรควิช คุโรปการนันท์ ส.จ.ศรีสะเกษ เขตขุนหาญ เขต 1 ผู้รวบรวมข้อมูล

โดย : วัดบักดอง

ที่อยู่ : ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ

จำนวนเข้าดู : 54

ปรับปรุงล่าสุด : 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 15:55:13

ข้อมูลเมื่อ : 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 15:55:13

 
 
 
 

ปูชนียวัตถุสถาน 10 อันดับ

พระธาตุพุทธเจดีย์ใหญ่ไพรบึง

โดย : ไพรบึง

ข้อมูลเมื่อ : 14-12-2566

เปิดดู : 50

พระศรีพัฒนโคดม

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2566

เปิดดู : 140

พระพุทธสุเมธคุณ

โดย : วัดป่านานาชาติ

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

เปิดดู : 94

บริเวณวัดหนองนกเขียน

โดย : วัดหนองนกเขียน

ข้อมูลเมื่อ : 19-04-2566

เปิดดู : 95

พระประธาน

โดย : วัดหนองนกเขียน

ข้อมูลเมื่อ : 17-04-2566

เปิดดู : 123

พระแก้วมรกตจำลอง

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2566

เปิดดู : 243

พระองค์ดำ(หลวงพ่อองค์ดำ)

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 30-06-2565

เปิดดู : 90

หลวงพ่อพระพุทธชินราชจำลอง

โดย : ศรีฐานธรรมิการาม

ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2566

เปิดดู : 107

พระอุโบสถ

โดย : มงคลใน

ข้อมูลเมื่อ : 30-06-2565

เปิดดู : 97

พระประธานในอุโบสถ

โดย : มงคลใน

ข้อมูลเมื่อ : 01-07-2565

เปิดดู : 80